วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlightห่วง“หนี้ครัวเรือน”พุ่ง รายได้โตไม่ทันรายจ่าย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ห่วง“หนี้ครัวเรือน”พุ่ง รายได้โตไม่ทันรายจ่าย

“อาคม”เผยเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวหลังเปิดประเทศ ปลดล็อกมาตการโควิด การท่องเที่ยวเริ่มฟื้นคาดปีนี้ทะลุ 10 ล้านคน ส่งออกขยายตัว 10%  แต่ต้องระวังหนี้ครัวเรือนจากราคาพลังงาน-อาหารที่สูงทำให้รายได้ไม่ทันรายจ่าย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยดีขึ้น ล่าสุด สำนักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) ประกาศว่าในไตรมาส 2 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 2.5% จากไตรมาส 1 ขยายตัว 2.1%หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังโตที่ 0.7% โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจน มาจากการปลดล็อกมาตรการโควิด การท่องเที่ยวเริ่มกลับมา ซึ่งขณะนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาไทย 1 ล้านคนต่อเดือน ทั้งปีคาดว่าอาจจะถึง 10 ล้านคน

ส่วนภาคการส่งออกปีนี้คาดว่าจะขยายตัว 10% โดยในช่วง 6-7 เดือนแรกยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่การบริโภคภายในประเทศ ในไตรมาส 2 ขยายตัวได้กว่า 4% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง เพราะรายได้ของตลาดแรงงานเริ่มกลับมา และส่วนหนึ่งก็เป็นรายได้ภาคเกษตร ที่ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้นเกือบทุกตัว ทำให้กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังต้องระมัดระวังเรื่องหนี้ครัวเรือน เนื่องจากรายได้โตไม่ทันรายจ่าย โดยรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงาน และค่าอาหารที่ค่อนข้างสูง ก็ต้องแก้ปัญหากันต่อไป  

สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นนั้น เห็นชัดเจนว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมา 2 ครั้งแล้ว ส่วนไทยเองเพิ่งปรับดอกเบี้ยนโยบาย เมื่อวันที่ 10 ส.ค. โดยปรับขึ้น 0.25% ถือว่าไม่มาก แต่ก็มีสัญญาณว่าอาจปรับเพิ่มเป็น 0.50% แสดงให้เห็นว่า เป็นช่วงที่ดอกเบี้ยขาขึ้น เป็นการใช้นโยบายการเงินในช่วงที่เศรษฐกิจ อยู่ในภาวะปกติ โดยหากมองย้อนกลับไปในปี 2562 ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.25% และในปี 2563 ก็ปรับลดลง เพื่อผ่อนคลายให้กระทรวงการคลังใช้จ่ายเงินช่วงโควิด ที่ต้องมีการออกกฎหมายกู้เงิน รวม 1.5 ล้านล้านบาท


“ช่วงวิกฤตโควิด ต้องใช้นโยบายทางการคลัง การใช้จ่ายเงินของรัฐบาลในการแก้ปัญหา ซึ่งไม่ใช่เฉพาะประเทศเรา ทุกประเทศก็ทำ เมื่อต้องมีการใช้จ่ายของรัฐ ก็ต้องกู้เงิน แน่นอนว่าในอนาคตจะต้องสร้างอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ฉะนั้น การเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในช่วงที่มีปัญหา เป็นสิ่งยอมรับได้ โดยนโยบายการเงินก็ผ่อนคลายให้ แต่เมื่อเหตุการณ์คลี่คลาย ทุกอย่างต้องกลับมาสู่การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจ นโยบาย ให้มีประสิทธิภาพต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินไม่ได้ดูเฉพาะเรื่องการไหลออกของเงินทุน แต่ต้องชั่งน้ำหนักถึงการฟ้นตัวทางเศรษฐกิจด้วย”
  
ทั้งนี้ ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยการเตรียมพร้อมรับมือ ต้องมอง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

1.ภาคประชาชน หากมีการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ทันที ภาระหนี้ก็จะเพิ่มขึ้น เพราะรายได้โตไม่ทันรายจ่าย และเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นฟื้น ดังนั้นสถาบัน การเงิน ยังช่วยดูแล ลูกค้าและประชาชนอยู่ด้วยการชะลอปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ช้าลง ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากก็จะปรับเร็วขึ้น ซึ่งสถาบันการเงินของรัฐก็จะดูแลลูกค้าอย่างน้อยที่สุดถึงปลายปีนี้

2.ภาคธุรกิจ ก็ทำนองเดียวกัน แบงก์ก็มีการปรับโครงสร้างหนี้ต่อเนื่อง และ 3.ภาครัฐ ยอมรับว่าเมื่อดอกเบี้ยในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในส่วนเงินกู้ต่างประเทศ ภาระดอกเบี้ยก็คงจะเพิ่มขึ้น แต่ก็คงจะไม่เพิ่มขึ้นเร็ว เพราะกระทรวงการคลังมีการปรับโครงสร้างหนี้ตลอด เพื่อลดความเสี่ยง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img