วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlightเบื้องหลัง‘BPP’ขยายธุรกิจไฟฟ้าต่างแดน ‘กุญแจสำคัญ’สร้างการเติบโตที่แข็งแกร่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เบื้องหลัง‘BPP’ขยายธุรกิจไฟฟ้าต่างแดน ‘กุญแจสำคัญ’สร้างการเติบโตที่แข็งแกร่ง

การมีความมั่นคงด้านพลังงานคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับ บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ หรือ BPP ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าคุณภาพระดับสากล มีความมุ่งมั่นในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านการขยายเมกะวัตต์คุณภาพด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจทั้งจากพลังงานความร้อนและพลังงานหมุนเวียน ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจในพื้นที่ยุทธศาสตร์ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งการขยายธุรกิจในต่างแดนนี้เอง คือจุดสำคัญที่ทำให้ BPP เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งตามกลยุทธ์ Greener & Smarter พร้อมสู่การขยายกำลังผลิตให้ได้ 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568

“ความพร้อมของ BPP ทั้งในด้านการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ และการมีระบบนิเวศของ BPP (BPP Ecosystem) ที่แข็งแกร่ง เป็นแต้มต่อที่ช่วยให้การขยายตลาดในต่างประเทศเป็นไปได้อย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ปัจจัยในด้านแนวโน้มด้านพลังงาน ความพร้อมของตลาด นโยบาย และกฎเกณฑ์ของประเทศนั้น ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ BPP นำมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจในการลงทุนในพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน” กิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ BPP เล่าแนวคิดการขยายธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศที่เป็นกำลังการผลิตส่วนใหญ่ของ BPP ในปัจจุบัน

กว่า 30 ปีที่ BPP ขยายการลงทุนในประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิกที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูง อย่างในประเทศเวียดนาม ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา คนสำคัญที่ทำให้การจับคู่กันระหว่างเป้าหมายของ BPP ในการเติบโตด้านกำลังผลิตไฟฟ้าคุณภาพ และความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้าในแต่ละประเทศนั้น ๆ สามารถมาบรรจบกันได้อย่างลงตัว ก็คือเหล่าคีย์แมนผู้เป็นนักพัฒนาธุรกิจของ BPP ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจไฟฟ้าและพลังงาน จนสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ BPP เติบโตได้อย่างสม่ำเสมอและมั่นคง

สหรัฐอเมริกา…ดินแดนศักยภาพของธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนเป็นธุรกิจสำคัญที่ทำให้ BPP เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และมีกระแสเงินสดที่มั่นคง ทั้งยังสามารถส่งมอบพลังงานไฟฟ้าให้ผู้ใช้ได้อย่างมีเสถียรภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในภาวการณ์ใด พัฒนาศักดิ์ นักสอน ผู้เสาะแสวงหาโอกาสการพัฒนาธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและสหรัฐอเมริกา มองว่า ประเทศสหรัฐอเมริกามีศักยภาพสูงมากสำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ HELE (High-Efficiency, Low-Emissions) ทั้งด้วยความใหญ่ของตลาดและขนาดพื้นที่ ภูมิประเทศที่เหมาะสม และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างแหล่งก๊าซธรรมชาติ

พัฒนาศักดิ์ นักสอน ผู้เสาะแสวงหาโอกาสการพัฒนาธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและสหรัฐอเมริกา

และที่สำคัญ สหรัฐฯ เน้นการพัฒนาเทคโนโลยี HELE ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับกลยุทธ์ Greener & Smarter ของ BPP ยกตัวอย่างเช่นการค้นพบเทคโนโลยี horizontal drilling หรือการเจาะในแนวนอน ที่ทำให้การเจาะผิวดินสามารถผลิตก๊าซได้ในปริมาณที่เยอะขึ้น ส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติเข้ามามีบทบาทเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศและเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตพลังงานที่มีความยั่งยืน เพราะการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติมีเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีประสิทธิภาพและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกด้วย สำหรับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ในรัฐเท็กซัส หนึ่งในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่สำคัญของ BPP ก็ใช้เทคโนโลยี Combined Cycle Gas Turbines (CCGT) โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ผสมผสานกระบวนการทำงานของ Gas Turbine (กังหันก๊าซ) กับ Steam Turbine (กังหันไอน้ำ) ทำให้การผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

Temple I CCGT Power Plant, US

“จุดเด่นในด้านการลงทุนของ BPP คือ เราเน้นการลงทุนในระยะยาว โดยใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เริ่มตั้งแต่การต่อยอดการมีแหล่งพลังงานในสหรัฐฯ ของบ้านปู จนมาเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ในรัฐเท็กซัส และตอนนี้ ด้วยการที่สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดไฟฟ้าเสรี (Merchant Market) เราจึงได้ขยายไปยังธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์มระบบกลางและธุรกิจค้าปลีกไฟฟ้า (Energy Trading and Retail Electricity) เพื่อเสริมแกร่งทั้งความเชี่ยวชาญของ BPP และสร้างมูลค่าสูงสุดจากการลงทุนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของการดำเนินธุรกิจ” พัฒนาศักดิ์กล่าวเสริม

เวียดนาม-สหรัฐอเมริกา…ดาวรุ่งแห่งพลังงานหมุนเวียน

ธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นเทรนด์แห่งอนาคตที่จะช่วยเสริมให้พอร์ตของ BPP มีความ Greener & Smarter มากขึ้น ธีรกุล ดักขุนทด ผู้ดูแลการพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งปันข้อมูลจากประสบการณ์การพัฒนาธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในตลาดเวียดนามและสหรัฐฯ

ธีรกุล ดักขุนทด ผู้ดูแลการพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา

“BPP เริ่มเข้าลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2562 โดยเป็นโรงไฟฟ้าจากทั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ความน่าสนใจในการเข้าไปลงทุนใน เวียดนาม คือ เป็นประเทศที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวเรื่อย ๆ ความต้องการใช้ไฟฟ้าจึงมากขึ้นตาม ประกอบกับสภาพทางภูมิศาสตร์ในแทบทุกภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงทั้งด้านพลังงานลมและแสงอาทิตย์” ธีรกุลเผย

นอกจากนี้ เวียดนามยังประกาศว่าจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emissions) ภายในปี 2593 ทำให้ต้องปรับโครงสร้างแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้สอดรับกับแผนการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ Green Growth Strategy จึงเป็นทิศทางพลังงานที่เปิดโอกาสให้ BPP ซึ่งหมายรวมถึงทีมงานนักพัฒนาธุรกิจอย่างธีรกุล ยังคงเสาะแสวงหาการลงทุนที่เหมาะสมต่อไปในเวียดนาม เพื่อการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าคุณภาพจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ตามเป้าหมายของบริษัทฯ ภายในปี 2568

โรงไฟฟ้าในเวียดนาม

สำหรับ ตลาดสหรัฐฯ ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นในการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของ BPP  ซึ่งด้วยศักยภาพของสหรัฐฯ นับว่ามีอย่างมากมายจากความเหมาะสมของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และความพร้อมของผู้ใช้ไฟ ธีรกุลเล่าต่อว่า การลงทุนของ BPP จะไม่ได้พิจารณาแค่ตัวสินทรัพย์ในการผลิตไฟฟ้า แต่ยังพิจารณาถึงการผสานพลังภายในระบบนิเวศของ BPP (Synergy in BPP Ecosystem) ด้วย เช่น การมองไกลถึงธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ว่าเป็นไปได้ไหมที่จะนำเอาแบตเตอรี่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้า เพื่อบริหารจัดการไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือไปจากการต่อยอด Value Chain ไปยังธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าและธุรกิจค้าปลีกไฟฟ้า

ญี่ปุ่น…ดินแดนแห่งโอกาสของพลังงานสะอาด

“ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความชัดเจนในเรื่องนโยบายการส่งเสริมพลังงานสะอาด โดยตั้งเป้าบรรลุ Net Zero และมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ให้ได้ภายในปี 2593 รัฐบาลจึงกำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนจากราว 20% ในปัจจุบัน เป็น 36-38% ภายในปี 2573 หมายความว่า BPP จะมีโอกาสอีกมากในการขยายการเติบโตของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมาก” นิติ พิทักษ์ธีระธรรม ผู้ดูแลการขยายธุรกิจในญี่ปุ่นที่เน้นพลังงานหมุนเวียน และเป็นคีย์แมนที่คลุกคลีในตลาดญี่ปุ่นตั้งแต่แรกเริ่ม แสดงความมั่นใจถึงเส้นทางในอนาคตที่สดใสของธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของ BPP ในประเทศนี้

นิติ พิทักษ์ธีระธรรม ผู้ดูแลการขยายธุรกิจในญี่ปุ่นที่เน้นพลังงาน

ปัจจุบัน  BPP มีโรงไฟฟ้าและโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 20 โครงการในญี่ปุ่น โดยมีกำลังผลิตรวม 244 เมกะวัตต์ คิดเป็นเกือบร้อยละ 80 ของกำลังผลิตไฟฟ้าของ BPP ในญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้มาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าแบบระยะยาว (feed-in tariff :FiT) ทำให้สามารถได้รับผลตอบแทนที่ดีเป็นระยะเวลานานจนกว่าจะหมดสัญญา

การขยายตัวของไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในญี่ปุ่นเกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่มีมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้า การกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ทั้งส่วนลดภาษีนิติบุคคล การกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าคงที่ตลอดอายุสัญญา และการอนุญาตให้ซื้อขายที่ดินทางการเกษตรเพื่อมาแปลงเป็นโซลาร์ฟาร์ม กอปรกับความต้องการของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ต้องการพลังงานที่สะอาดขึ้น

สำหรับจุดเด่นของ BPP ในญี่ปุ่น นิติมองว่า BPP เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร ตั้งแต่เสาะหาโครงการ เริ่มต้นการก่อสร้าง รวมถึงขายไฟฟ้า (Energy trading) และมีพอร์ตพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่ BPP จึงมีความสามารถในการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจได้มากมาย โดยทีมงานของ BPP จะคำนึงถึงการวางแผนและควบคุมปัจจัยความสำเร็จของการทำโครงการ (Time, Cost, Quality) อยู่ตลอดเวลา เพื่อยับยั้งอุปสรรคให้เกิดน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ สร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรทางธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ  นอกจากนี้ BPP ยังมีโอกาสจากตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากการที่เป็นผู้ผลิตพลังงานสะอาดที่ได้รับหนังสือรับรอง (green certificate) และได้รับการยอมรับในระดับสากลอีกด้วย

Shirakawa Power Plant, Japan

“BPP ยังคงเน้นการสร้างความเติบโตในพื้นที่ยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะในประเทศไทย เวียดนาม สปป.ลาว ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย รวมถึงสหรัฐอเมริกา ที่เรามีธุรกิจอยู่  ผมมั่นใจว่า ด้วยทีมงานที่มากประสบการณ์และมีทัศนคติแบบสากล (Global Mindset) พร้อมรับมือกับความท้าทายรอบด้าน จะช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจและเสริมพอร์ตของ BPP ให้แข็งแกร่ง และในที่สุด จะทำให้ BPP สามารถสร้างคุณค่าและผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม พร้อมขยายเมกะวัตต์คุณภาพอย่างต่อเนื่องสู่เป้าหมายที่วางไว้” กิรณ หัวเรือใหญ่แห่ง BPP กล่าวสรุป

กิรณ ลิมปพยอม
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img