วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlight“สนพ.”เร่งถกพาณิชย์ปรับลด“ค่าการกลั่น”แก้น้ำมันแพง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สนพ.”เร่งถกพาณิชย์ปรับลด“ค่าการกลั่น”แก้น้ำมันแพง

สนพ.เตรียมถกพาณิชย์ลดค่าการกลั่นแก้ปัญหาน้ำมันแพง พร้อมหารือโรงกลั่นถึงต้นทุนแท้จริง คาดการใช้พลังงานปีนี้โต 2.1% จากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจากเปิดประเทศ

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้นด้วย ล่าสุดอยู่ระดับ 5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. จากค่าเฉลี่ยอ้างอิงระดับกว่า 2 บาทต่อลิตร ดังนั้นสนพ.จะประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง อยู่ในคณะอนุกรรมการที่ดูราคาการกลั่น ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ พร้อมเรียกกลุ่มโรงกลั่นมา หารือถึงต้นทุนแท้จริง คาดว่าจะมีความชัดเจน ในเร็วๆ นี้

“ค่าการกลั่นระดับ 5 เหรียญฯ ถือว่าสูง แต่ต้องดูว่าต้นทุนแท้จริงในการซื้อน้ำมันดิบ แหล่งซื้อ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เมื่อคำนวณแล้วออกมาเท่าไหร่ เหมาะสมหรือไม่ เพราะกลุ่มโรงกลั่นอาจมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเช่นกันในภาวะปัจจุบัน ต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย ทั้งนี้หากค่าการกลั่นลดลงราคาน้ำมันก็จะลดลงเช่นกัน”

สำหรับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกหลังจากนี้ คาดว่าอาจไม่พุ่งแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา ช่วง ที่เหลือของปีคาดอยู่ระดับ 110 เหรียญฯ เพราะ ขณะนี้กลุ่มประเทศยุโรป(อียู)ผู้ใช้พลังงานจากรัสเซียเริ่มปรับตัว โดยหันไปใช้แหล่งพลังงานอื่นมากขึ้น ขณะเดียวกัน คาดว่าสหรัฐอเมริกาจะปล่อยเชลก๊าซ(ก๊าซในชั้นหินดินดาน) ป้อนตลาด เพราะราคาจูงใจ แม้จะมีปัญหาเรื่องคาร์บอนอยู่บ้าง แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันคงมีการอนุโลม

ส่วนความต้องการใช้พลังงานไทยปีนี้ คาดว่าจะโตระดับ 2.1% ภายใต้ สมมุติฐานผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) โต 2.5-3.5% อัตราแลกเปลี่ยน 33.3-34.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ราคาน้ำมันดิบดูไบ 105-110 เหรียญ และจีดีพีโลก 3.5%

ขณะที่การใช้พลังงานขั้นต้นรายชนิดพบว่าเติบโตเกือบทุกประเภท ยกเว้น ก๊าซธรรมชาติ คาดว่าจะลดลง 9.5% จากราคาที่ปรับสูงมากจากผลกระทบของสงครามรัสเซียยูเครน จนผู้ใช้หันไปพึ่งน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาแทน ่ส่วนน้ำมันคาดเพิ่มขึ้น 12.9% ถ่านหิน/ลิกไนต์ เพิ่มขึ้น 6.8% และไฟฟ้าพลังน้ำ/ไฟฟ้านำเข้า 8.2%

“ภาพรวมยอดใช้พลังงานเติบโตจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจโลกและการเปิดประเทศ แต่การระบาดของโควิด-19 และผลจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ เป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะอาจส่งผลต่อการใช้พลังงานของไทยได้”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img