วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกNEWSองค์การเภสัชฯคาดวัคซีนโควิดเฟส 3 สรุปกลางปี 66 ก่อนขึ้นทะเบียน อย.ใช้ในไทย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

องค์การเภสัชฯคาดวัคซีนโควิดเฟส 3 สรุปกลางปี 66 ก่อนขึ้นทะเบียน อย.ใช้ในไทย

องค์การเภสัชฯ เดินหน้าวิจัยวัคซีนโควิด เฟส 3 ในอาสาสมัคร 4,000 คน คาดสรุปกลางปีหน้าก่อนขึ้นทะเบียนอยใช้ในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.65 ที่จังหวัดนครพนม นพ.เกรียงไกร ประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยวัคซีน HXP-GPOVac  ป้องกันโรคโรควิด-19 โครงการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3 กล่าวว่า การวิจัย ฉีดวัคซีนซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค เฟส 3 เพื่อประเมินความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีน ในอาสาสมัครอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสุขภาพดีหรือหากมีโรคประจำตัวก็ ต้องสามารถควบคุมโรคได้แล้ว และต้องเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 มาแล้ว 2 เข็มที่เป็นสูตรเดียวกัน ไม่มีการติดเชื้อโควิดในรอบ 3 เดือน รวมทั้งหมด 4,000 คน โดย ในการวิจัยเฟส 3 นี้จะมีการฉีดวัคซีนปริมาณ 10 ไมโครกรัมเข้ากล้ามเนื้อแขน จากนั้นจะมีการติดตามอาการหลังการฉีด 30 นาที ติดตามรอบ 14 วัน 3 เดือน  6 เดือน จนถึง 1 ปี จากนั้นจะทำการประเมินผลและสรุปเพื่อขอขึ้นทะเบียน กับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นในประเทศไทย ขณะนี้มีอาสาสมัครลงทะเบียนเข้าโครงการวิจัยแล้ว ประมาณ 1,500 คน คาดว่าจะ มีอาสาสมัครเข้าโครงการได้ตามเป้าหมาย

นพ.เกรียงไกร กล่าวว่า ส่วนอาสาสมัครระยะที่ 2 จำนวน 300 คน ที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน เริ่มฉีดเมื่อช่วงเดือน ส.ค.2565 เพื่อดูความปลอดภัยและประสิทธิภาพ พบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 ไม่แตกต่างจากวัคซีนโควิด-19 ชนิดอื่นที่มีฉีดในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นราว 20% ส่วนใหญ่มีอาการน้อย เช่น ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด แต่อาการไข้พบได้น้อย

วัคซีนโควิด HXP-GPOVac / องค์การเภสัชกรรม

ด้าน ดร.พรทิพย์ วิรัชวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายชีววัตถุรักษาการผู้จัดการโรงงานผลิต (วัคซีน) ชีววัตถุ ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าว ที่ถามว่าเนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยมีการรณรงค์ให้คนไทยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างแพร่หลาย จะเป็นอุปสรรค ในการหาอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยเฟส 3 หรือไม่ หากได้จำนวนอาสาสมัครไม่ครบตามเป้าหมายจะมีผลกระทบต่อการวิเคราะห์และประเมินผลของวัคซีนหรือไม่ ว่า ขณะนี้ทางจังหวัดนครพนมได้มีการรณรงค์ในเรื่องของการฉีดวัคซีน ขณะเดียวกันก็มีการรณรงค์ หาอาสาสมัครเข้าโครงการศึกษาวิจัยวัคซีนด้วยเช่นกัน ซึ่งคาดว่าน่าจะได้จำนวนอาสาสมัครครบตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตามหากได้อาสาสมัครไม่ครบตามเป้าหมายก็อาจจะเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์ประเมินผลวัคซีนได้ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดนี้มีการคำนวณตามหลักความน่าเชื่อถือตามมาตรฐานสากลไว้แล้วซึ่งหากสุดท้ายได้ไม่ครบตามจำนวนก็จะต้องมีการปรึกษาหารือกับอย. ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร อย่างไรก็ตามทางจังหวัดก็แจ้งมาว่าผลการสำรวจเบื้องต้นคาดว่าจะทำได้ตามแผนที่วางไว้

เมื่อถามว่าวัคซีนดังกล่าวจะสามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้หรือไม่ ดร.พรทิพย์ กล่าวว่า ขณะนี้วัคซีนทุกตัวที่มีการใช้อยู่นั้น เมื่อเจอกับเชื้อตัวใหม่ๆหรือเชื้อกลายพันธุ์ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคก็ลดลงไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามวัคซีนขององค์การเภสัชกรรมนี้ยังต้องรอผล ผลสรุปจากการศึกษาในเฟซที่ 2 เพิ่มเติมรวมถึง ผลสรุปที่กำลังจะดำเนินการวิจัยในเฟสที่ 3 นี้ เพื่อดูว่าสามารถจัดการกับเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ไปได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งคาดว่าภายในกลางปีหน้าก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img