วันศุกร์, พฤษภาคม 24, 2024
หน้าแรกNEWSนาทีแรกที่เจอ“สายพันธุ์ใหม่”ที่ชุมชน “หมอธีระวัฒน์”รับ“ไปแล้ว-คุมไม่ได้”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นาทีแรกที่เจอ“สายพันธุ์ใหม่”ที่ชุมชน “หมอธีระวัฒน์”รับ“ไปแล้ว-คุมไม่ได้”

“หมอธีระวัฒน์” ยอมรับ นาทีแรกที่เจอไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “เดลต้า” ในที่ชุมชน ไม่ได้อยู่ในที่กักตัว แสดงว่า “ไปแล้ว” ไม่มีทางคุมได้ ทั้งแพร่เร็วกว่าธรรมดา จึงจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนให้เร็ว คลุมให้ได้มากที่สุด ให้เกิน 70% ภายใน 2 เดือน เพื่อ “กด” สายพันธุ์ธรรมดา-สายอังกฤษ จะได้ไม่มีคนป่วยหนักล้น รพ.

กรณีนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวตอนหนึ่งในการแถลงข่าวเรื่อง “การเฝ้าระวังการกลายพันธุ์เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด 19 ในประเทศไทย” เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า พบสายพันธุ์อินเดียหรือสายพันธุ์เดลต้า มีผู้ติดเชื้อแล้ว 235 ราย มีความเชื่อมโยงกับแคมป์คนงานหลักสี่ เฉพาะในกทม.ติดแล้ว 206 ราย ขณะที่ ศ.กียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ทั่วโลกมีการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั่วโลกพบกว่า 3หมื่นตัว ส่วนในไทยที่กังวลคือสายพันธุ์เดลต้า ที่เริ่มเข้ามาแทนสายพันธุ์อังกฤษ เพราะแพร่เร็วกว่าเดิมถึง 40%

ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.64 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย แสดงความเห็นทางเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า…นาทีแรกที่เจอสายพันธุ์ใหม่ในชุมชน ที่ไม่ใช่ที่อยู่ใน กักตัวจาก ตปท. จะเรียกว่าเป็น ชนิดสืบสาวราวเรื่องไม่ได้ หรือ untraceable และแสดงว่า “ไปแล้ว” ไม่มีทางคุมได้ ดังที่เกิดครั้งแรกที่ หลักสี่

และเราตรวจคร่าวๆ เท่านั้น จากคัดกรองก็เจอเช่นกันตั้งแต่ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ตรงตามลักษณะที่ว่าแต่แรก ด้วยความที่แพร่เร็วกว่าธรรมดา สายแอฟริกา ที่ตากใบ เป็นลักษณะเดียวกัน และแสดงว่าต้องแพร่หลายแล้วในบริเวณนั้น

ทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ ต้องเร่งฉีดให้เร็วที่สุด คลุมให้ได้ มากที่สุดเกิน 70% ใน 2 เดือน อย่างน้อยก็ยัง กด สายธรรมดาและสายอังกฤษ ไว้ได้ และจะได้ไม่มีคนป่วย อาการหนักล้นโรงพยาบาล ที่ขณะนี้ ที่นี่ เต็มแล้ว

และจากนั้น สายอินเดีย แอฟริกา และอังกฤษเดิมที่จะมีรหัสผิดเพี้ยนไปอีก จะเข้ามาครองสัดส่วนเป็นสายหลัก แเละอาจทำให้ แม้คนที่ได้วัคซีนไปแล้ว อาจมีเล็ดรอด ติดเชื้อได้ เข้า โรงพยาบาลได้ และถ้าเกิดเหตุเช่นนั้น ก็ต้องถึงเวลาฉีดใหม่อีก คราวนี้ อาจต้องเป็นวัคซีนรุ่นใหม่ (ซึ่งขณะนี้ยังไม่มี)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img