วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlightผลวิเคราะห์แบงก์กรุงศรีตรงที่สุด ‘ต.ค.ค่อยๆลด-ลุ้นปลดล็อคดาวน์’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ผลวิเคราะห์แบงก์กรุงศรีตรงที่สุด ‘ต.ค.ค่อยๆลด-ลุ้นปลดล็อคดาวน์’

“หมอมนูญ” ชูการคาดการณ์สถานการณ์แย่ที่สุดของแบงก์กรุงศรี ตรงกับความเป็นจริง ผู้ติดเชื้อพุ่ง 2 หมื่นราย ช่วงปลายส.ค.ถึงต้นก.ย. จากนั้นจะค่อยๆ ลงในเดือนต.ค. คาด “มาตรการล็อคดาวน์” ที่ไม่จำเป็น รัฐควรผ่อนคลายในไม่ช้า

เมื่อวันที่ 24 ส.ค.64 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ (หมอมนูญ) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC) เรื่อง “ตัวเลขผู้ติดเชื้อยืนยันโรคโควิด-19 จะเริ่มลงเมื่อไหร่” มีเนื้อหาว่า…ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงปัจจุบันเพียง 4 เดือนกว่าๆ เริ่มจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ตามมาด้วยการระบาดของสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ซึ่งพบครั้งแรกวันที่ 21 พ.ค. 2564 ในคนงานก่อสร้างหลักสี่ 15 รายติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา

จากวันนั้นแค่ 3 เดือนกว่า สายพันธุ์เดลตาแพร่กระจายไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทำให้มีผู้ป่วยยืนยันสะสมมากถึง 1,037,923 ราย เสียชีวิตสะสม 9,468 ราย ผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 ต่อวัน เริ่มลดลงต่ำกว่า 20,000 คน แต่ตายยังเกิน 200 รายต่อเนื่องไม่ลด

ดูย้อนหลังการคาดการณ์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยาเมื่อเดือนที่แล้ว การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและกระจายไปทุกจังหวัด โดยวิเคราะห์ข้อมูลสถิติของการระบาดในประเทศอินเดีย สหราชอาณาจักรและไทยก่อนหน้านี้ รายงานของธนาคารกรุงศรีฯ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกนำไปอ้างอิง (ดูกราฟ) ระบุ 3 สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นหลังวันที่ 14 ก.ค.2564

1.สถานการณ์ดีที่สุดของประเทศไทย คาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่เกิน 10,000 รายต่อวัน

2.สถานการณ์ดีปานกลาง คาดการณ์ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มสูงประมาณ 15,000 รายในช่วงส.ค.ต่อ ก.ย. ก่อนจะลดลงเหลือ 1,000 คนในเดือนพ.ย.

3.สถานการณ์แย่ที่สุด คาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะพุ่งสูงถึง 22,000 ราย ในช่วงปลายเดือน ส.ค.และต้นก.ย. แล้วจะค่อย ๆ ลงมาในเดือนตุลาคม เนื่องจากมีวัคซีนป้องกันโรคโควิดไม่เพียงพอ วัคซีนที่ได้มาประสิทธิภาพไม่สูงพอ ประกอบกับการล็อคดาวน์ได้ผลไม่มากนัก

ปรากฏว่าการคาดการณ์สถานการณ์ที่แย่ที่สุดของธนาคารกรุงศรีเมื่อวันที่ 14 ก.ค. ตรงกับสถานการณ์จริงปัจจุบัน ปัจจุบันมีผู้รับวัคซีนสะสมทั้งหมดจำนวน 27 ล้านโดส เป็นเข็มแรก 20 ล้านกว่าโดส เข็มสอง 6 ล้านโดส ถ้าเราเร่งหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ฉีดให้คนไทยโดยเฉพาะคนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งยังล็อกดาวน์ต่อเนื่อง ตัวเลขผู้ติดเชื้อยืนยันอาจจะถึงจุดสูงสุดเดือนนี้ แล้วค่อยๆ ลงช้าๆ ตามกราฟของธนาคารกรุงศรีที่คาดการณ์ไว้น่าจะเป็นไปได้สูง ดังนั้นมาตรการการล็อคดาวน์ที่ไม่จำเป็นหรือให้ประโยชน์น้อย รัฐควรผ่อนคลายได้ในไม่ช้า

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img