วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกNEWSวัคซีนเด็ก 3 แสนโดสถึงไทยแล้ว ย้ำไม่บังคับฉีด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

วัคซีนเด็ก 3 แสนโดสถึงไทยแล้ว ย้ำไม่บังคับฉีด

วัคซีนเด็ก 3 แสนโดสถึงไทยแล้ว อธิบดีคร. แจงแผนการฉีดที่โรงพยาบาลและโรงเรียน 2 เด็กเสี่ยงให้กุมารแพทย์พิจารณา ย้ำไม่บังคับ 

เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวในการแถลงข่าว สำหรับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีน covid19 สำหรับเด็กอายุ 5 – 11 ปีซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้ฉีดได้และตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยวัคซีนก็เป็นสูตรสำหรับเด็กโดยเฉพาะฝาสีส้มซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากอย.แล้ว ซึ่งขณะนี้วัคซีนล็อตแรก 300,000 โดส ส่งมาถึงประเทศไทยแล้ว ที่เหลือ จะทยอยส่งเข้ามาโดยไตรมาสแรกจะส่งมาทั้งหมด 3.5 ล้านโดส จากยอดทั้งหมด 10 ล้านโด๊ส จะเริ่มฉีดวันที่ 31 ม.ค.นี้

ทั้งนี้การฉีดแบ่งเป็น 2 อย่างคือ 1. ฉีดที่โรงพยาบาล และ 2. ฉีดที่โรงเรียน โดยใช้ระบบเดิม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและมีคำแนะนำว่าเด็กที่เสี่ยงอาการรุนแรงคือเด็กอ้วน เด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เด็กที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง เด็กที่เป็นมะเร็ง และเด็กที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กที่เป็นเบาหวาน เด็กที่เป็นโรคทางพันธุกรรม กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม การบกพร่องทางประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า  เป็นต้น

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค

โดยเด็กกลุ่มนี้จะมีกุมารแพทย์เป็นผู้พิจารณาดำเนินการฉีดวัคซีน เน้นการฉีดที่โรงพยาบาลเป็นหลัก สำหรับกำหนดการจะมีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 ครั้งห่างกัน 3 -12 สัปดาห์ ส่วนการฉีดที่โรงเรียนห่างกัน 8 สัปดาห์ เพื่อให้กุมารแพทย์เป็นผู้ตัดสินใจในช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ย้ำการฉีดเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองไม่มีการบังคับเด็ดขาด

ขณะที่อาการข้างเคียงจากการฉีดวีคซีนที่สามารถพบได้คือ ไข้ หนาวสั่น ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด ซึ่งเมื่อเทียบกับการฉีดในเด็กโต จากข้อมูลสหรัฐอเมริกาเกิดผลข้างเคียงในเด็กเล็กค่อนข้างน้อยเพราะปริมาณที่ฉีดมีปริมาณน้อยกว่า ดังนั้นผู้ปกครองจะได้ไม่ต้องกังวลใจมากนัก

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า สถานการณ์ covid 19 ประเทศไทยเป็นเส้นตรงค่อนข้างคงตัว ปอดอักเสบใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นไปในทางเดียวกันเพราะฉะนั้นเรามีคนที่เรากังวลใจกันมาในช่วงที่ผ่านมาว่าอาจจะมีการระบาดรุนแรงเหมือนในหลายประเทศ เช่นแอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักรยุโรปสหรัฐอเมริกา แนวโน้มของประเทศไทยก็มีน่าจะไม่ระบาดรุนแรงอย่างที่กังวล

นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า การฉีดเด็กอายุ 5-11 ปี มีประมาณ 5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยง 9 แสนคนกระจายตามภูมิภาคต่างๆ  กรณีผู้ปกครองยินยอมให้บุตรหลานเข้าฉีดแล้ว ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะมีการบริหารตามความเหมาะสมของผู้ป่วย ซึ่งมีตัวเลขอยู่แล้ว ที่สำคัญคือความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์และกุมารแพทย์เป็นผู้คัดสรรว่าเด็กแต่ละคนใครพร้อมจะฉีดวัคซีน สำหรับการเตรียมตัวฉีดวัคซีน หากเด็กที่มีโรคประจำตัวก็ให้ทานยารักษาโรคปกติ ทานอาหารและน้ำตามปกติ มาถึงโรงพยาบาลกุมารแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ก็จะทะเลาะเรื่องการฉีด แล้วโรคประจำตัวนั้นมีอาการรุนแรงและอันตรายหรือไม่หากมีสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะชะลอการฉีดไปก่อนเพื่อรักษาโรคเหล่านี้ ส่วนกรณีที่สามารถฉีดได้ก็จะมีการทบทวนการยินยอมอีกครั้ง ทั้งนี้ ในขั้นตอนการฉีดจะต้องเป็นสถานที่มิดชิด เพื่อลดความกังวลของเด็กและผู้ปกครอง หลังฉีดให้รอดูอาการ 30 นาที หลังกลับบ้านไปแล้วต้องเน้นว่า เหมือนกับทุกกลุ่มอายุคือใน 1 สัปดาห์ไม่ควรให้เด็กออกกำลังกาย รวมถึงการปีนป่ายการว่ายน้ำ กันสุขสันต์ต่างๆขอให้ผู้ปกครองช่วยดูแลตรงนี้ด้วย

สิ่งที่กังวล คือมีอาการเฉพาะพี่กับอาการทั่วไป และการเกิดอาการข้างเคียงทางด้านโรคหัวใจ ซึ่งมีจริงแต่สามารถรักษาได้ โดยจากการฉีดแล้วกว่า 7 ล้านโดสนั้นพบ 7 ราย  ดังนั้นอาการข้างเคียงมีน้อยแต่เพื่อไม่ประมาท เพื่อให้ผู้ปกครองเบาใจได้มีการสร้างเครือข่ายส่งต่อดูแล ให้ผู้ปกครองสามารถรู้ว่า มีอะไรที่ต้อง “เอ๊ะ” หรือสงสัยซึ่งสถิติที่เราเจอมาส่วนใหญ่มักเกิดในเข็ม 2 แต่เพื่อไม่ประมาทขอให้สังเกตตั้งแต่เข็มแรก คือเจ็บหน้าอก หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ใจสั่น โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัว หากมีไข้สูง ทานอาหารไม่ได้ ขอให้รีบไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img