วันเสาร์, พฤษภาคม 11, 2024
หน้าแรกHighlightเปิดหลักเกณฑ์ใช้สิทธิ’’ยูเซ็ปต์พลัส’’ฟรีทุกรพ.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดหลักเกณฑ์ใช้สิทธิ’’ยูเซ็ปต์พลัส’’ฟรีทุกรพ.

เปิด 3 เกณฑ์ประเมินติดเชิ้ออาการเหลือง-แดงโควิด ใช้สิทธิยูเซ็ปต์พลัส ฟรีทุกรพ. ประกันสังคมแจงคนติดโควิดเข้ารพ.คู่สัญญาได้ทุกแห่ง ยันไม่มีค้างจ่ายเงินคลินิก

เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 65 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แถลง UCEP COVID Plus และการเข้ารับบริการตามสิทธิ์ ว่า ยูเซ็ปต์โควิด พลัส ซึ่งจะเริ่มวันที่ 16 มี.ค. 2565 นั้นกรณีสีเหลือง สีแดง สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกรพ. จนหาย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ป่วยสีเขียวที่อาการเปลี่ยนต้องได้รับการส่งต่อก็เข้าข่ายยูเซ็ปต์โควิดเช่นกัน โดยสถานพยาบาลจะเป็นผู้ประเมินและคัดแยกผู้ป่วยและนำเข้ารพ. ทั้งนี้ หากผู้ป่วย หรือญาติ ปฏิเสธไปรักษาในรพ.ที่กำหนด แต่ต้องการไปรักษายังรพ.อื่นนั้น ญาติและผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง หากมีการทำประกันชีวิตก็สามารถใช้สิทธิ์ดังล่าวได้ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยจัดเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ให้รักษาในรพ.ตามสิทธิ เน้นการดูแลตัวเองที่บ้าน หรือโฮเทล ไอโซเลชั่น หรือฮอทพิเทล ซึ่งยังคงมีอยู่

นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า  หลักเกณฑ์การประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตกรณีโรคโควิด-19 หากมีอาการรุนแรงกลุ่มสีเหลือง สีแดง โดยนิยาม คือ ผู้ป่วยตรวจ ATK ผลเป็นบวก หรือ RT-PCR ผลติดเชื้อ ร่วมกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1.หัวใจหยุดเต้น มีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า มีอาการซึมลง เมื่อเทียบกับระดับความรู้สึกตัวเดิมหรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก 2.มีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชั่วโมง หรือ หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง ต่อนาทีในผู้ใหญ่ หรือ Oxygen Saturation แรกรับ Room Air น้อยกว่า 94% หรือ 39 องศา โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์ หรือ ในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง หรือ Exercise-induced hypoxia in COVID-19 patients : มีการลดลง Oxygen Saturation Room Air มากกว่าหรือเท่ากับ 3 % หรือ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงตามดุลยพินิจของผู้คัดแยก

3.มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอด 3 เลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม หญิงตั้งครรภ์ ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000 เซลล์ต่อไมโครลิตร อื่นๆ หรือ ตามดุลยพินิจของผู้คัดแยก

ขั้นตอนการรับบริการอาจจะโทรแจ้ง 1669 และนำส่งรพ.เอกชน ก็จะประเมินอาการเจ็บปวดและรักษาเบื้องต้น รพ.ก็จะแจ้งมา สพฉ.ผ่านโปรแกรม PA เพื่อกรอกอาการ หากเข้าตามเกณฑ์ดังกล่าวก็สามารถใช้สิทธิได้เลย กรณีไม่เข้าเกณฑ์เช่นเป็นอาการระดับสีเขียวก็จะใช้ไม่ได้ เว้นแต่รักษาแล้วมีอาการแย่ลงเป็นเหลืองหรือแดงก็จะเข้าสู่เงื่อนไขได้ หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการรักษา ทั้งนี้ สพฉ.ได้เตรียมศูนย์ประสานคุ้มครองสทธิ ผู้ป่วยวิกฤติ หากมีข้อติดขัดสงสัยการใช้สิทธิ หรือไปเข้าสู่สถทนพยาบาลแล้วไม่ได้รับสิทธิ์ทั้งที่ประเมินตัวเองแล้วควรได้รับสิทธิ ก็สามารถแจ้งมาที่ศูนย์ได้เพื่อให้คำแนะนำชี้แนะ สามารถโทร.0-2872-1669 รวมถึงสถานพยาบาลเอกชนที่ให้บริการกว่า 300 กว่าแห่งสามารถใช้หมายเลขดังกล่าวประสานงานกับสพฉ.ในการกรอกข้อมูลหรือสอบถามข้อติดขัดต่างๆ ได้

ด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า กรณีผู้ประกันตนติดเชื้อมีอาการสีเหลือง สีแดง สามารถได้ทุกรพ.ทั้งรัฐและเอกชนฟรี ส่วนกรณีมีอาการสีเขียวสามารถเข้ารับการรักษาในรพ.คู่สัญญาของ สปส.ได้ทุกแห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดการรักษา หรือจะรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกก็ได้ ซึ่งสปส.จะมีการหารือในกรรมการการแพทย์เร็วๆ นี้ ทั้งนี้กรณีผู้ประกันตนติดเชื้อไปรพ.นั้น รพ.ไม่สามารถปฏิเสธได้ ซึ่งที่ผ่านมาการปฏิเสธน่าจะเกิดจากความเข้าใจคาดเคลื่อน อย่างไรก็ตามมีกรณีหนึ่งที่ตรวจ ATK เป็นบสก ไปรพ.เอกชนเพื่อขอแค่ใบรับรองแพทย์เพื่อเบิกประกันชีวิต แต่ไม่ต้องการเข้ารับการรักษา กรณีนี้ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขประกันสังคม ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสายด่วน 1506 กด 1 หากมีข้อขัดข้องให้กด 6 หรือกด 7 จะดูแลภายใน 6 ชั่วโมง

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า สปส.ยังค้างเงินค่าให้บริการโควิดของทางคลินิกเอกชน เลขาธิการ สปส. กล่าวว่า  สปส. ไม่ได้จ่ายตรงไปยังคลินิก ส่วนใหญ่อาจเป็นลักษณะคลินิกที่เป็นพาร์ทเนอร์ของรพ.เอกชน ซึ่งจริงๆ เรื่องเงินค่าบริการโควิด ทางสปส. จ่ายเร็วที่สุด จ่ายหมดไม่มีค้างจ่าย ถามทุกรพ.ได้ ไม่มีค้างจ่าย.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img