วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2024
หน้าแรกHighlightสธ.ห่วง“กทม.-ปริมณฑล”อัตราครองเตียงสูง จับตาหลังวันหยุดยาว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สธ.ห่วง“กทม.-ปริมณฑล”อัตราครองเตียงสูง จับตาหลังวันหยุดยาว

จับตาโควิด หลังหยุดยาว เผย “กทม. ปริมณฑล” เตียงตึง ห่วงสุดกทม.คนนอนตายคาบ้าน แต่ระบบส่งต่อมีปัญหาเหตุมีรพ.หลายสังกัด ต้องเรียกหารือ วางระบบส่งต่อ ระบุ คนเสียชีวิตที่บ้าน ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากโรคอื่น ผู้ป่วยระยะท้าย ขออยู่กับครอบครัว

เมื่อวันที่ 18 ก.ค.65 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคโควิด-19 ว่า ขณะนี้การระบาดโควิด 19 เข้าสู่ปีที่ 3 หลายประเทศไม่ได้มีการรายงานข้อมูลเป็นรายวันแล้ว บางประเทศก็รายงานบ้างไม่รายงานบ้าง บางประเทศรายงานเป็นศูนย์ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อต่อวันยังสูง 482,377 ราย แต่อัตราการเสียชีวิตไม่ได้สูง การติดเชื้อมากอยู่ที่ยุโรป แต่ค่อนข้างทรงตัว และที่จับตาคือแถบเอเชีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รอบๆ เพื่อนบ้านเราแนวโน้มมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแต่ผู้เสียชีวิตไม่ได้เพิ่มมากขึ้น

สำหรับสถานการณ์ประเทศไทยรายงานข้อมูลวันนี้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 17 ราย มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 794 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 369 รายส่วนติดเชื้อรายใหม่เข้ารพ. 1,814 ราย ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเข้าระบบผู้ป่วยนอกสัปดาห์ที่ผ่านมา 143,827 ราย ส่วนข้อมูลที่ประชาชนรายงาน ATK เข้ามาและการสอบสวนโรคเพิ่ม เหมือนจะมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การป่วยหนักเสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกทม. และจังหวัดใหญ่ๆ แต่สิ่งที่ต้องจับตาคือหลังหยุดยาวเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรทั้งในต่างจังหวัด เพราะช่วงหยุดยาวมีการเดินทางกลับต่างจังหวัดเยอะ รวมถึงจับตาในโรงเรียนด้วย แต่ดูเหมือนแนวโน้มการป่วยหนักสถานการณ์จะไม่รุนแรงขึ้น

ดังนั้น ผู้ที่เราให้ความสำคัญคือผู้ที่อาการหนักและเสียชีวิต ซึ่งในรอบโอมิคอนเกือบทั้งหมดเป็นกล่ม 608 คิดเป็น 98% บางคนไม่ได้รับวัคซีนเลย บางคนฉีดไม่ครบ และซึ่งระยะหลังพบว่ากลุ่ม 608 แม้ฉีด 3 เข็ม แล้วยังเสียชีวิต โดยเฉพาะหลังฉีดเข็ม 3 แล้ว 3-4 เดือน ดังนั้นอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแนะนำว่าการฉีดเข็มกระตุ้นเข็มต่อไปควรห่างจากเข็มล่าสุดประมาณ 3-4 เดือน อีกกลุ่มหนึ่งสำคัญคือผู้ป่วยโรคไตซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่พบการเสียชีวิตมากสุด ถึง 36 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิต 152 ราย

“ขณะนี้การลดการเสียชีวิตในกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ สำคัญมากเพราะที่เสียชีวิตขณะนี้พบว่าเกือบ 100% เป็นกลุ่มนี้ จึงต้องมีการฉีดเข็มกระตุ้น ตามที่สธ. ส่วนกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไปแล้วภูมิต้านทานขึ้นไม่ดี ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ ทางศบค. และสธ.ได้จัดหาภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) มาให้ในกลุ่มป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องฟอกไต ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ซึ่งจะเข้ามาล็อตแรกสัปดาห์หน้า 7 พันชุด 1ชุดมายา 2 ตัว ฉีดสะโพก 2 ข้าง อยู่ได้นาน 6 เดือน กลุ่มเป้าหมายคือผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยรายนั้นด้วยไม่ว่าจะเป็นอายุรแพทย์กุมารแพทย์แพทย์เจ้าของไข้โดยคำนึงถึงความเสมอภาคและความเป็นไปได้ ส่วนยาที่เหลือจะทยอยเข้ามาจนครบ 2.5 แสนชุด” นพ.โอภาส กล่าว

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า นอกจากนี้การลดการเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยง ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการเข้าถึงระบบการรักษา ขณะนี้ ในกทม. นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สัดส่วนการครองเตียงผู้ป่วยหนักเริ่มตึงตัว เนื่องจากมีคนไข้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะทางรพ.ที่เคย กันไว้สำหรับโควิดก็เอาไปใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยทั่วไป อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์ในการเพิ่มผู้ป่วยมากขึ้นก็จะขยับขยายเตียงเพิ่มได้ โดยในส่วนของต่างจังหวัดนั้นปลัดสธ.ได้มีการสั่งการไปแล้ว และบ่ายวันนี้ (18 ก.ค) ปลัดสธ.ในฐานะผอ.ศปก.สธ. ได้เชิญกทมมาหารือในประเด็นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยต่างๆ แล้ว

“การเข้าถึงการรักษาของกลุ่มเสี่ยงเป็นประเด็นสำคัญที่จะช่วยลดการเสียชีวิตได้มากที่สุดในระยะต่อไป ซึ่งขณะนี้กราฟผู้ป่วยอาการหนักที่เข้ารพ.ยังอยู่ในเส้นสีเขียว สำหรับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจแนวโน้มยังสูงอยู่แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและเบาลง สำหรับผู้เสียชีวิตก็ไต่ระดับยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ดังนั้นมามาตรการที่จะดำเนินการต่อไปนั้นความร่วมมือของประชาชนสำคัญมากจึงขอความร่วมมือทำ 2U คือ Universal prevention สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ และ Universal Vaccinations คือฉีดวัคซีน ซึ่งขณะนี้เปิดทุกที่ไม่เว้นวันหยุด รวมถึง เทศบาล ตำบลได้จัดชุดฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุตามบ้านด้วย”อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว

นพ.โอภาส กล่าวว่า สายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.5อาการเด่นคือเจ็บคอ ระคายคอ มีน้ำมูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามตัว อาการเหมือนไข้หวัดเพราะฉะนั้นคนหนุ่มคนสาวแข็งแรง ฉีดวัคซีนมาแล้วอาการก็จะอยู่ประมาณนี้ อย่านิ่งนองใจโดยคิดว่าเป็นหวัดแต่หากมีอาการแล้วควรตรวจ ATK สำหรับบริษัทห้างร้านหากมีคนติดโควิด ถ้าอาการน้อยให้แยกกักตัวที่บ้านตามคำแนะนำแพทย์ 7 วันเป็นอย่างน้อย หลังจากนั้นหากสบายดีก็สามารถกลับมาทำงานได้ อย่างไรก็ตามช่วง 3 วันแรกขอให้งดเว้นการพบกับผู้อื่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

เมื่อถามถึงกรณีมีรายงานผู้เสียชีวิตตามบ้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กทม. จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องหารือกับเขา เพราะจะเป็นจุดที่มีปัญหา และต้องเห็นใจ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีรพ.เยอะ ทั้งเอกชน รพ.สังกัดมหาวิทยาลัย รพซสังกัดกทม. และรพ.ภาครัฐอื่นๆ ทั้งสังกัดตำรวจ ทหาร การบูรณาการจัดการหากไม่คุยกันให้จะมีปัญหาเรื่องการจัดการ ซึ่งต้องยอมรับว่ากทม. ไม่มีระบบการส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งแตกต่างจากรพ.ในสังกัดสธ.ซึ่งสามารถสั่งการเรื่องการส่งต่อได้ ดังนั้นกทม.จึงต้องหารือ โดยสธ.ก็ต้องเป็นผู้ประสานให้มีการหารือกันเพื่อจัดระบบ ทั้งนี้เท่าที่ตามดูนั้นคนไข้ไปรพ.เอกชน ซึ่งแต่ละโรงไม่สามารถไปบอกว่าห้ามรับคนไข้ได้ แม้มีกฎหมายควบคุมอยู่ แต่กฎหมายไปตามทีหลัง ก็ไม่สะดวก เพราะฉะนั้นต้องมาคุยกันให้ชัดเจนว่าสมมติไปรพ.แห่งหนึ่งแล้วไม่พร้อมรับ จะส่งต่อไปยังรพ.ไหนต่อ

ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรณีมีรายงานคนเสียชีวิตตามบ้านนั้น มีรายงานเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เสียชีวิตที่มีโรคโควิดร่วมด้วย (died with covid 19) มีทั้งที่ตรวจเจอโควิดอยู่ก่อน หรือมาตรวจเจอว่ามีโควิดร่วมด้วยในภายหลัง แต่สาเหตุที่เสียชีวิตเป็นโรคนั้นจากโรคที่เป็นอยู่ก่อน ไม่ใช่เสียชีวิตจากโควิด เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้าย หรือผู้ป่วยที่อยู่ป่วยต้องรับการรักษาแบบประคับประคอง ให้ใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายกับครอบครัวมากกว่า ทั้งนี้กรรีครอบครัวที่ต้องดูแลก็ให้สวมหน้ากากอนามัย และฉีดวัคซีนซึ่งจะสามารถป้องกันได้ หลังจากนั้นก็เฝ้าระวังตัวเอง 7 วัน ส่วนกรณีที่เสียชีวิตจากโควิดจริงๆ (died from covid 19) นั้นมีเล็กน้อย.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img