วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlightคนเคยปลูก“ฝีดาษ” ป้องกัน“ฝีดาษวานร” ไม่ได้  
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คนเคยปลูก“ฝีดาษ” ป้องกัน“ฝีดาษวานร” ไม่ได้  

“สธ.” เผยผลทดสอบคนเคยปลูกฝีดาษ ไม่สามารถป้องกันฝีดาษวานรได้ ขณะที่กรมควบคุมโรคนำเข้าวัคซีน 1 พันโดสฉีด 500 คน ยันยังไม่ต้องฉีดเป็นการทั่วไป

เมื่อวันที่ 5 ก.ย.65 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวความคืบหน้าการ ตรวจภูมิคุ้มกันโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) ในคนไทยที่เคยได้รับการปลูกฝีดาษในประเทศไทย ว่า ขณะนี้มีรายงานการติดเชื้อฝีดาษวานรในประเทศไทย 7 ราย เป็นสายพันธุ์ เป็น A.2 จำนวน 6 ราย B.1  มี 1 ราย ดังนั้น กรมวิทย์ ฯ ได้เก็บตัวอย่างเชื้อจากผู้ติดเชื้อมาเพาะเพิ่มจำนวน และนำไปทดสอบภูมิคุ้มกันกับคนที่เคยปลูกฝีในประเทศไทย โดยใช้การตรวจที่เป็นมาตรฐานสากล แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คืออายุ 45-54 ปี 10 คน อายุ 55-64 ปี 10 ปี และอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 10 ราย โดยทอดสอบกับทั้ง 2 สายพันธุ์

ผลการทดสอบกลุ่มอายุ 45-54 ปี พบว่าส่วนใหญ่ภูมิคุ้มกันไม่มีใครขึ้นมาถึง 32 ไตเติล ซึ่งเป็นระดับภูมิคุ้มกันที่ถือว่าจัดการกับโรคได้ ส่วนกลุ่มอายุ 55-64 ปี พบว่าภูมิคุ้มกันไม่แตกต่างจากกลุ่มแรก มีเพียง 2 รายเท่านั้น ที่มีภูมิต่อ A.2 อยู่ที่ 35 ไตเติล และ 39 ไตเติล ถือว่าป้องกันได้แบบปริ่มๆ ไม่ได้ชัวร์อะไรมาก ขณะที่กลุ่ม อายุ 65 ปีขึ้นไป ก็ไม่มีค่าภูมิคุ้มกันถึงเลย เลยที่สุดคือ ต่อเชื้อ A.2 อยู่ที่ 32 ไตเติล

นอกจากนี้ยังนำคนที่ติดเชื้อมาตรวจหาภูมิคุ้มกัน ซึ่งเปรียบเหมือนได้วัคซีนตามธรรมชาติ พบว่าในกลุ่มคนที่ติดเชื้อ A.2 มาทดสอบกับเชื้อ B.1 พบว่าป้องกันได้จำนวนหนึ่ง ดังนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นตนละสายพันธุ์กัน ก็ใกล้เคียงกัน แต่กัน A.2 ได้มาก ส่วนคนที่ไม่ได้วัคซีนอะไรเลย เป็นเด็กที่เกิดรุ่นหลังไม่มีการติดเชื้อ ไม่ได้รับการปลูกฝีมาก่อน มีการตรวจ 3 รายพบว่าไม่มีภูมิอะไรทั้งสิ้น ป้องกันไม่ได้

“สรุปคนที่เคยปลูกฝีในประเทศไทย อายุ 40 ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่ป้องกันโรคฝีดาษวานรไม่ได้ ภูมิคุ้มกันขึ้นมาเล็กๆ น้อยๆ ส่วน 2 รายที่ขึ้นมา ก็เป็นแบบปริ่มๆ” นพ.ศุภกิจ กล่าว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า วันนี้บนหลักการให้วัคซีน ซึ่งหลายๆ ตัวไม่ได้อยู่ยาว บางตัวหายไปก่อน อย่างไรก็ตาม กรณีฝีดาษวัคซีนป้องกันได้แน่ๆ  3-5 ปี จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง ดังนั้นหากอยากให้ภูมิสูงป้องกันได้ ต้องกระตุ้น แต่คนที่เคยได้รับการปลูกฝีในไทยไม่ได้มีการกระตุ้น ประเด็นคือการเอาวัคซีนมาฉีดนอกจากเพื่อป้องกันโรคแล้วยังมีอีกกรณีคือ การที่เพิ่งติดเชื้อ จะช่วยลดการเพิ่มจำนวน ทำให้อาการไม่รุนแรง ดังนั้นหากไทยซื้อมาใช้ จะใช้ 2 กรณีคือ คนมีความเสี่ยงคือบุคลากรการแพทย์ ผู้สัมผัสผู้คนบางอาชีพ กับอีกกลุ่มคือคนทั่วไปที่ไปสัมผัสความเสี่ยงมา มีไข้ ก็ฉีดให้เพื่อลดความรุนแรงลง แต่ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องนำมาฉีดเป็นการทั่วไป เพราะการติดเชื้อไม่ได้รวดเร็ว และไม่ได้รุนแรง เพราะผ่านมาหลายเดือนแล้ว ยังพบการติดเชื้อ 7 ราย แต่ละรายมีเหตุที่มาที่ไปทั้งสิ้น คือสัมผัสใกล้ชิด นัวเนีย ทั้งสิ้น ไม่ได้ติดกันแบบโควิด 19 ที่กินข้าวร้านเดียวกันก็ติดได้

ดังนั้นโอกาสแพร่ระบาดวงกว้างก็ไม่ค่อยมี และส่วนมากสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดาคือ A.2 สายพันธุ์ตะวันตก ขณะที่ ทั่วโลกพบว่ามีติดเชื้อสรุปถึง 2 ก.ย. พบ 5 หมื่นรายๆ พบใน 100 กว่าประเทศ เสียชีวิต 15 ราย จะเห็นว่าติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นแต่อัตราเสียชีวิตไม่สูง เพราะเป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก ซึ่งไม่รุนแรง ยกเว้นคนที่มีภูมิคุก้มกันไม่ค่อยดี หรือเด็กเล็กที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันอะไรเลย ทั้งนี้มาตรการป้องกันตัวเองครอบจักรวาลที่ใช้กับโควิดยังสามารถใช้ได้     

“วันนี้วัคซีนฝีดาษวานรโดยตรงนั้นยังไม่มี วัคซีนที่ใช้คือวัคซีนฝีดาษคน ซึ่งฉีดแล้วสามารถข้ามไปป้องกันดาษวานรด้วย ได้ผลประมาณ 85% ตอนนี้มีวัคซีนรุ่น 3 ซึ่งอเมริกา และยุโรปอนุมัติให้ใช้แล้ว วิธีใช้ คือฉีดเข้าชั้นผิวหนังเลย 0.1 มิลลิลิตร และอีกวิธีคือฉีดเช้าชั้นใต้ผิวหนัง ครึ่งซีซี  ซึ่งประเทศไทยก็จัดซื้อประมาณ 1 พันโดส ฉีด 2 โดส จึงจะฉีดประมาณ 500 คน กรรมการวิชาการจะมีการตั้งกติกาฉีดอีกครั้ง เพราะราคาแพงพอสมควรและยังไม่ใช่วัคซีนที่ใช้ฉีดเป็นการทั่วไป” นพ.ศุภกิจ กล่าว และว่ามีหลายมหาวิทยาลัยขอตัวอย่างเชื้อ เพื่อนำไปพัฒนาวัคซีนในประเทศไทย อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งปลอดภัยที่สุดคือวัคซีนเชื้อตาย.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img