วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกNEWS"กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์" จัดกิจกรรมหน้าสภาฯ "นักวิชาการ" ตอก "ส.ว." เป็นสิ่งแปลกปลอม-ภัยคุกคามระบอบปชต.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์” จัดกิจกรรมหน้าสภาฯ “นักวิชาการ” ตอก “ส.ว.” เป็นสิ่งแปลกปลอม-ภัยคุกคามระบอบปชต.

“ม็อบกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์” เริ่มแล้ว! ยัน ทำตามกรอบกฎหมาย ด้าน “มายด์” แนะส.ว. ควรเคารพมติของประชาชน มั่นใจ 4 ปีได้เป็นรัฐบาล “ก้าวไกล” เอาแน่แก้ม.112  ขณะที่ “นักวิชาการ” ตอก “สภาสูง” เป็นสิ่งแปลกปลอม-ภัยคุกคามระบอบปชต. ขัดหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

วันที่ 23 พ.ค.2566 เวลา 17:00 น. ที่บริเวณด้านหน้ารัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศ การนัดชุมนุมของกลุ่ม แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในพื้นที่เริ่มมีมวลชนทยอยเดินทางเข้าในพื้นที่ ถึงก่อนหน้านี้ ก่อนจะนำผู้ชุมนุมพร้อมเจ้าที่รัฐสภาและเจ้าที่ตำรวจได้พูดคุยหารือทำความเข้าใจในการในการมาชุมนุมโดยยืนยันว่า กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ จะดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยได้มีการแจ้งการชุมนุม และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน  และกิจกรรมจะถูกจัดขึ้นโดยยึดหลักความสงบเรียบร้อย ภายใต้หลักสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่เกรงจะกีดขวางการจราจร จึงได้อนุญาตให้ขึ้นไปอยู่บริเวณลานด้านหน้ารัฐสภา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นบนเวที จะมีนักวิชาการมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันบนเวที อาทิ นายอนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอุเชนทร์ เชียงแสน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  และมีนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ (เป่า iLAW) เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

โดยน.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ สมาชิกแคมเปญโหวตเพื่อเปลี่ยน  กล่าวว่า วันนี้กิจกรรมที่ได้ออกมาคือการส่งเสียงไปถึงส.ว. ถึงบทบาทที่จะยกมือเลือกนายกฯมีความชอบธรรมอย่างไรหรือไม่ และอีกส่วนหนึ่งที่ส.ว. หลายคนออกมาพูดในเงื่อนไขต่างๆมากมาย จะยกมือหรือไม่ยกมือเลือกนายกฯ ตนคิดว่าวันนี้จะเป็นการย้ำเตือนว่าจริงๆแล้วเขาไม่มีอำนาจและวิเคราะห์เสียงจากประชาชนอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้ดุลย์พินิจของตนเอง  ซึ่งที่มาก็ยังเป็นข้อครหาของพี่น้องประชาชนว่า การมาของส.ว.นั้นมาอย่างไร ซึ่งทำให้ประชาชนไม่ไว้วางใจส.ว.ทั้ง 250 คนอยู่แล้ว

เมื่อถามว่า มีส.ว.บางกุล่มเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีการนัดรวมตัวกัน ต่างมองว่าไม่น่าจะมาทำแบบนี้ น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ตนขอแยกออกเป็น 2 ส่วน จริงๆแล้วส.ว.ไม่ควรมีความเห็นอะไรเลยกับประชาชน ซึ่งส.ว.อาจจะหลงลืมไปในส่วนนี้ ตนยังยืนยันการใช้สิทธิของพี่น้องประชาชน ทางวุฒิสภาจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็เป็นเหตุผลของส่วนบุคคลกันไป แต่ไม่ควรที่จะมีผลต่อการตัดสินใจโหวตเลือกนายกฯ

เมื่อถามว่า การชุมนุมในครั้งนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจของส.ว. ต่อการโหวตเลือกนายกฯอย่างไร น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ถ้ามองในมุมที่ดี การสื่อสารในวันนี้จะเป็นไปในทางที่ดี อย่างมีเหตุมีผล และไม่ใช่จังหวะที่ดุดันที่หลายคนคิดเอาไว้ เพราะถ้าหากเราพูดด้วยเหตุผลแล้ว แล้วส.ว.รับฟังกับเหตุผลที่ประชาชนได้นำเสนอไป ทางส.ว. จะใช้ดุลยพินิจของตัวเองในการตัดสินใจ อย่างไรในการยกมือเลือกนายกฯ ตนขอยืนยันว่า ส.ว.ทั้ง 250 คน ไม่สามารถใช้ดุลยพินิจของตัวเอง แต่ควรเป็นมติของประชาชน

เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าการออกมาครั้งนี้ไวไปหรือไม่ เพราะอีก 2 เดือน กว่าจะโหวตเลือกนายกฯ น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า หลายคนอาจจะจำภาพการชุมนมที่รุนแรง ซึ่งเป็นเพราะภาครัฐที่มีการตอบโต้ผู้ชุมนุม ตนอยากชี้แจงว่าการเคลื่อนไหวทาวการเมือง ที่ค่อนข้างหลากหลายไม่ใช่มีเพียงการชุมนุมเพื่อกดดันเพียงอย่างเดียว  การเสนอในแง่มุมอื่นๆเช่นการพูดคุยไปด้วยดี ซึ่งก็ยังมีอีกหลายวิธีมาก ตนอยากให้ลองดูสถานการณ์ในวันนี้ก่อน ที่เตรียมงานกันในวันนี้ไม่ต้องมีการให้ดุดัน แต่ต้องการส่งข้อมูลข่าวสารจากพี่น้องประชาชนไปยังส.ว.ทั้ง 250 คน

เมื่อถามว่าในฐานะเป็นแกนนำมาก่อน มองอย่างไรกับรัฐบาลของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ถ้าเป็นเสียงโหวตที่ได้มาจากประชาชนถือว่าเป็นฉันทามติว่าประชาชนอยากจะออกจากระบอบเผด็จการ ต้องการรัฐบาลใหม่ที่พลิกขั้วพลิกข้างเลย ถ้ารัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นเป็นไปตามประชาธิปไตย หวังว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว จะได้ตอบกลับสัญญากับพี่น้องประชาชนไว้จากการเลือกตั้ง

เมื่อถามว่า หวังอะไรในการทำงานของรัฐบาลนายพิธา น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ตนก็หวังทุกรัฐบาล เพราะรัฐบาลชุดนนี้มีการแก้ไขเชิงโครงสร้าง และเป็นการวางรากฐานไม่ให้เกิดการรัฐประหาร เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลชุดนี้จะสร้างกลไกไม่ให้เกิดการรัฐประหารขึ้น เป็นประชาธิปไตยไม่สามารถที่จะต่อรัฐประหารได้

เมื่อถามว่า เมื่อวาน(22 พ.ค.) ที่มีการเซ็น MOU ร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 8 พรรค ไม่มีเรื่อง มาตรา 112 ผิดหวังหรือไม่ น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ตนคิดว่าหลายคนอาจจะคิดไม่ตรงกัน ส่วนตัวแล้วมองว่ามาตรา112 ของพรรคร่วมรัฐบาล บางพรรคอาจจะไม่พูดอย่างชัดเจน แต่ถ้าทางพรรคก้าวไกลยืนยันว่าอย่างไรก็ต้องแก้ไข ตนเห็นว่า อย่างไรก็ต้องเกิดขึ้น

เมื่อถามย้ำว่า หากทางพรรคก้าวไกล ยังไม่เสนอเรื่อง มาตรา112 แล้วไปพลักดันเรื่องอื่นก่อน มองเรื่องนี้อย่างไร น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ตนมองว่าภายใน4ปีนี้ หากพรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล ต้องมีเรื่องนี้อย่างแน่นอน  แต่ถ้ารัฐบาลไม่พลักดัน ประชาชนจะผลักดันเรื่องนี้อย่างแน่นอน

เมื่อถามว่า หากพรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ มีมุมมองในประเด็นนี้อย่างไรบ้าง น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ประชาชนมีสิทธิอย่างเต็มเปี่ยมในการเป็นประชาธิปไตย และเสียงโหวตของตัวเองที่ได้โหวตออกไปแล้ว ที่อยากได้รัฐบาลชุดใหม่ หากมีใครมาขัดขวางเสียงของประชาชน ประชาขนก็พร้อมที่จะออกมาปกป้องเสียงของตังเองเหมือนกัน

“ที่ผ่านมาส.ว.ยังไม่เคยแสดงอะไรออกมาว่าทำเพื่อประชาชน ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่จะแสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองกลับมาเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง”น.ส.ภัสราวลี กล่าว

ต่อมาเวลาประมาณ18.00น. ได้เริ่มจัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยนักวิชาการในเครือข่าย อาทิ นายอนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอุเชนทร์ เชียงแสน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  และมีนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการไอ-ลอว์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

โดยนายอนุสรณ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ตนอยากเรียกว่าวุฒิสภา เป็นสิ่งแปลกปลอมทางการเมือง และเป็นภัยคุกคามในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้ง ซึ่งแตกต่างกับประเทศอื่นฯ เราควรจะภาคภูมิใจหรือไม่ที่ส.ว.ไทยมีวาระ5ปี และมีอำนาจในการโหวตเลือกนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญปี2560 บทเฉพาะกาล นอกจากนี้ยังขัดหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ซึ่งในการรวมเสียงให้ถึง376เสียงโดยอาศัยเสียงส.ว.ด้วยนั้น ตนอยากถามว่า ส.ว.อ้างความชอบธรรมมาจากอะไร ในการเข้ามามีส่วนว่าจะเลือกใครเป็นตัวแทนประชาชน

นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันยังเป็นอันตรายต่อการเมืองระบบรัฐสภา เพราะทันทีที่เราเปิดให้บุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแทรกตัวเข้ามาตรงกลาง เพราะจะทำให้เกิดการอนุญาตให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงรองลงมาสามารถรวมกันเสนอชื่อนายกฯได้ จะทำให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างน้อยทำให้บริหารประเทศไม่ได้ ขณะนี้แม้เรายังไม่เห็นแนวโน้มรัฐบาลเสียงข้างน้อย แต่การเมืองพลิกผันได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังเป็นภัยคุกคามพรรคการเมืองที่เป็นเครื่องสะท้อนเจตจำนงค์ประชาชน แต่ส.ว.เข้ามาแทรกตัวตรงกลาง ดังนั้นจะมีพรรคการเมืองไปทำไม

“ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งควรมีอำนาจไม่มาก ตรงกันข้ามส.ว.ไทยมีอำนาจมากเหลือเกินไม่เหมือนกับใครในโลกนี้ แล้วมีอำนาจเลือกนายกฯ มันขัดกับหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน” นายอนุสรณ์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img