วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlightประสานเสียง‘ม.112แก้ได้-มิใช่แก้ไม่ได้’ ‘เทพไท’เชื่อ‘44ก้าวไกล’ไม่ผิดจริยธรรม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ประสานเสียง‘ม.112แก้ได้-มิใช่แก้ไม่ได้’ ‘เทพไท’เชื่อ‘44ก้าวไกล’ไม่ผิดจริยธรรม

ประสานเสียง “ม.112 แก้ได้ มิใช่แก้ไม่ได้” “นิพิฎฐ์” ชี้ต้องไม่จ้องล้มล้างการปกครอง หิวแสง-หิวคะแนน ทำปชช.สับสน “เทพไท” ย้ำต้องไม่บั่นทอน เซาะกร่อน บ่อนทำลายสถาบัน ยังเชื่อ “44 สส.ก้าวไกล” รอดไม่ผิดจริยธรรมร้ายแรง เพราะทำตามหน้าที่สส.ตามบทบัญญัติรธน.

เมื่อวันที่ 3 ก.พ.67 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า “ม.112 แก้ได้ มิใช่แก้ไม่ได้ แต่เพราะแก้หลายมาตรา จนเป็นการล้มล้างการปกครอง เราปล่อยให้นักวิชาการหิวแสง นักการเมืองหิวคะแนน พูดโดยไม่รับผิดชอบ จนทำให้ประชาชนสับสน”

ด้าน นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช แสดงความเห็นทางเฟซบุ๊กเช่นกัน ในหัวข้อ “ส.ส.ยื่นแก้ไข ม.112 ได้ ไม่ผิดจริยธรรม” ระบุว่า…“ตอนแรกตั้งใจว่าจะไม่แสดงความคิดเห็น เรื่องการแก้ไขมาตรา 112 แล้วแต่ เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่า มาตรา 112 จะแก้ไขได้หรือไม่ ไปต่างๆ นานา มีการแสดงความเห็นออกเป็น 2 ฝ่าย ทั้งแก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้

ผมจึงขออนุญาตมีส่วนร่วม ในการแสดงความเห็นเรื่องนี้ ในฐานะที่เคยเป็นสส.มาร่วม 20 ปี ส่วนตัวผมเห็นว่า การแก้ไขมาตรา 112 สามารถกระทำได้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ

1.จะต้องไม่มีการรณรงค์สร้างความขัดแย้ง และความแตกแยกในหมู่ประชาชน ซึ่งอาจจะบั่นทอน เซาะกร่อน บ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์

2.พรรคการเมืองจะต้องไม่ระบุ เป็นนโยบายเพื่อใช้ในการหาเสียง ซึ่งเป็นการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

3.การแก้ไขมาตรา 112 เนื้อหารายละเอียดของการแก้ไข จะต้องไม่บั่นทอน ลดด้อยไปกว่าเนื้อหาของกฎหมายเดิม

4.การแก้ไขจะต้องทำภายใต้กระบวนการนิติบัญญัติ คือการเสนอการแก้ไขกฎหมายตามขั้นตอน ของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ดังนั้นกรณีที่ สส.พรรคก้าวไกล 44 คน ได้ยื่นแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ สส.ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และได้ใช้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาแก้ไขกฎหมาย ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่โดยตรงของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่สามารถออกกฏหมาย ยกเลิก หรือแก้ไขกฎหมายได้

ส่วนรายละเอียดเนื้อหาของกฎหมาย จะออกมาในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และถ้าหากเห็นว่าเนื้อหาของกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ ก็สามารถยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตีความ ก่อนออกประกาศใช้เป็นกฎหมายได้อีกขั้นตอนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นการที่มีการร้องต่อ ป.ป.ช.เพื่อให้พิจารณาว่า สส.พรรคก้าวไกล 44 คน ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงนั้น ส่วนตัวเชื่อว่าไม่สามารถเอาผิดเรื่องการฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงได้”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img