วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlight"สว."ถกงบฯ 67“ภูมิธรรม”ยันใช้เงินให้คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดกับปชช.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สว.”ถกงบฯ 67“ภูมิธรรม”ยันใช้เงินให้คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดกับปชช.

เริ่มแล้ว! “สว.” ถกงบฯ 67 “ภูมิธรรม” แจง 4 เหตุผล พร้อมรับคำแนะนำ ข้อห่วงใย ยันรบ.จะใช้งบประมาณให้คุ้มค่า เกิดปย.สูงสุดกับปชช.

วันที่ 26 มี.ค.2567 เวลา 09.30 น.ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาฯ ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2567 ที่สภาฯมีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา และรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2567 ของวุฒิสภา โดยมีนายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ และนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมข.คลัง เข้าร่วมประชุมด้วย

โดยนายภูมิธรรม เวชชนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจง ว่า สภาฯได้ผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 67 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท เป็นรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังจำนวน 118,361,135,000 ล้านบาท รายจ่ายหน่วยรับงบประมาณจำนวน 3,361,638,869,500 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณมีกรอบวงเงินใช้งบประมาณสำหรับใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2567

โดยการจัดทำงบประมาณปี 2567 มีหลักการและแนวทางที่สำคัญคือ 1.ดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาลโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศมีความมั่นคง ประชาชนมีความสุข สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ในทุกมิติ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ รวมทั้งจัดสวัสดิการที่จำเป็นสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางทางสังคม

นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า 2. ให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจ การจัดให้บริการสาธารณะ ลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งการพัฒนา ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ และประสิทธิผลการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณ ให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน โดยให้หน่วยรับงบประมาณ พิจารณานำเงินนอกงบประมาณ หรือเงินสะสมคงเหลือ มาใช้ดำเนินภารกิจของหน่วยรับงบประมาณเป็นอันดับแรก ควบคู่กับการพิจารณาทบทวน เพื่อชะลอ ปรับลด หรือยกเลิกการดำเนินโครงการที่มีความสำคัญในระดับต่ำ หรือหมดความจำเป็น พิจารณาถึงความพร้อมและขีดความสามารถ ใช้จ่ายงบประมาณจากการนำความสำเร็จ ในการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปี 65 และในปี 66 มาประกอบการพิจารณา จัดสรรงบประมาณ ให้สอดคล้องกับศักยภาพ ในการดำเนินงานของหน่วยรับงบประมาณ และ4. ดำเนินการให้เป็นไปตามพ.ร.บ. ตามรัฐธรรมนูญ ปี 60 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ ปี 61 พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ปี 61 รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ และมติครม.ที่เกี่ยวข้อง

“ขอโอกาสนี้ขอบคุณสมาชิกวุฒิสภาทุกท่านที่จะพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 67 และรัฐบาลจะขอรับฟัง ข้อคิดเห็น คำแนะนำ ข้อเสนอ รวมทั้งความห่วงใยที่วุฒิสภา เสนอแนะไว้ตลอดระยะเวลาในการประชุม เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาปรับปรุง ของหน่วยรับงบประมาณ เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป”นายภูมิธรรม กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img