วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกNEWS“ธรรมนัส”โวนำไทยเป็นเจ้าแรกทำยางโดยไม่ทำลายระบบนิเวศ-ป่าไม้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ธรรมนัส”โวนำไทยเป็นเจ้าแรกทำยางโดยไม่ทำลายระบบนิเวศ-ป่าไม้

“ธรรมนัส” โวลั่นรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ระบุสหภาพยุโรปขอไทยอย่าบิดเบือนราคาตลาด พร้อมนำร่องไทยเจ้าแรกทำยางโดยไม่ทำลายระบบนิเวศ-ป่าไม้

วันที่ 4 เม.ย.2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ต่อมาเวลา 16.00 น.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงกรณีที่นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ตั้งคำถามด้วยความเป็นห่วงชาวสวนยางว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้ราคายางมีเสถียรภาพ คำถามนี้ตนได้ถามผู้บริหารการยาง และบอร์ดการยางว่าเมื่อเราทำมาตรฐานสูงแล้วเราจะรักษาอย่างไร ซึ่งนโยบายแต่ละรัฐบาลก็มีจุดเด่น จุดขายเป็นของตัวเอง แต่ละรัฐบาล เพราะฉะนั้นอุปสงค์และอุปทานมีผลต่อราคายาง บอร์ดการยาง ทางตลาดยุโรป ส่งออก 88 เปอร์เซ็นต์ 4.8 ล้านตัน และใช้ในประเทศ 12 เปอร์เซ็น อย่าใช้งบประมาณบิดเบือนตลาด เช่น การประกันราคา และเขาขอให้ประเทศไทยเป็นประเทศนำร่องในการที่จะพลิกล็อคมาตรการอียูดีอาร์ ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ย้ำเสมอว่า เราต้องใช้ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ดังนั้นดีมานด์ ซัพพลาย อุปสงค์ อุปทานเป็นเรื่องสำคัญที่จะรักษาเสถียรภาพราคายาง เราจะปลูกอะไรก็ต้องดูว่าผู้ใช้ต้องการสินค้าประเภทอะไร มีมาตรฐานอย่างไร เข้ากับความต้องการของตลาดโลกอย่างไร ส่วนโบบายที่จะทำให้ราคายางมีเสถียรภาพ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้าใจว่าวันนี้บริบทของตลาดโลกเปลี่ยนไปอย่างไร ผู้ที่ใช้อุตสาหกรรมการยางเขาต้องการมาตรฐานอะไร เวลานี้ทั้งตลาดยุโรป และเพื่อนบ้านเรา ต่างก็ตื่นตัวในนโยบายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า ( European Union’s Deforestation Regulation: EUDR) สินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเทศเพื่อนบ้านกระทบแน่นอนทำให้ปริมาณยางประเทศเพื่อนบ้านลดลง

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า จากการศึกษาตลาดภายในประเทศมี 12 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตลาดส่งออกยาง 88 เปอร์เซ็นถือว่าใหญ่ที่สุด ปริมาณยางในแต่ละปี มีอยู่ 4.8 ล้านตัน ตนและผู้บริหารการยางก็พยายามรณรงค์ให้มีการใช้ยางภายในประเทศให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังใส่ใจตลาดนอกเขาไม่ต้องการให้รัฐบาลไทย โดยตนได้ไปเจรจากับสหภาพยุโรป ในการประชุมกรีนวีค ที่กรุงเบอลิน ประเทศเยอรมัน ต้นเดือนม.ค.เขาขอร้องว่าอย่าใช้นโยบายบิดเบือนกลไกตลาดเสียหาย คือการประกันราคา ต้องใช้งบประมาณมหาศาล เขาขอร้องอย่าทำเด็ดขาด และขอร้องเด็ดขาดในเดือนธ.ค.2567 ทั่วโลกต้องทำคือมาตรการเข้มข้นอียูดีอาร์ สมัยรัฐบาลที่แล้วตนเป็นรมช.เกษตรฯทราบว่ามีการคุยแต่ไม่ได้ทำ เพราะสวนยางในประเทศมีมหาศาล เมื่อกลับมาเป็นก็มาได้มารณรงค์คิกออฟเรื่องอียูดีอาร์ ซึ่งได้สำรวจไปแล้วกว่า 2 ล้านไร่ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทูตได้มาพบตน และเมื่อวานนี้องค์การไม่แสวงหากำไรก็มาพบ และขอให้ประเทศไทยเป็นประเทศนำร่อง ในเรื่องมาตรการดียูดีอาร์ เมื่อเขาเชื่อมั่นว่าเราทำได้ เรามีผู้แทนการค้าไทยเดินไปสภาพยุโรป เรามีฝ่ายต่างประเทศไปเจรจาเรื่องเหล่านี้ เพราะฉะนั้นที่เกิดขึ้นในขณะนี้ประเทศไทยได้เปรียบที่จะเป็นประเทศแรกเจ้าใหญ่ที่จะนำร่องในเรื่องของการปลูกยาง การผลิตภัณฑ์ยาง การทำยางโดยไม่ทำให้ป่าไม้ทำลายระบบนิเวศน์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รมว.เกษตรฯ กล่าวต่อว่า ดังนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ เขาต้องการให้เราทำเป็นต้นแบบ และเขาเชื่อมั่นในผู้บริหารการยางแห่ง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img