วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlight‘วิชา’กระซวกคำวินิจฉัยคดี‘มันคือแป้ง’ กระทบรธน.60-รัฐต่างปท.ประหลาดใจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘วิชา’กระซวกคำวินิจฉัยคดี‘มันคือแป้ง’ กระทบรธน.60-รัฐต่างปท.ประหลาดใจ

“วิชา มหาคุณ” วิพากษ์ถึงแก่น การตีความตามตัวอักษรของ “ศาลรธน.” ในคดี “มันคือแป้ง” ของ “ธรรมนัส” ทำลายเจตนารมณ์ “รธน.60” ที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบ-ขจัดผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองที่มีปัญหาจริยธรรม-คุณธรรม ทั้งยังสร้างความประหลาดให้รัฐต่างปท.ว่า “คนทำผิดติดคุก” กลับมาบริหารราชการไทยได้

เมื่อวันที่ 11 พ.ค.64 นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุ “ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า” รมช.เกษตรและสหกรณ์ ไม่ต้องพ้นสถานะรัฐมนตรี กรณีต้องคำพิพากษาจำคุกคดียาเสพติดที่ประเทศออสเตรเลียว่า แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกร้องเคยต้องคำพิพากษาศาลออสเตรเลียถึงที่สุดว่า ได้กระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ก่อนสมัครรับเลือกตั้งส.ส. แต่มิใช่คำพิพากษาของศาลไทย ผู้ถูกร้องจึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98(10) จึงเกิดข้อถกเถียงทางวิชาการว่า แนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถูกต้องตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญปี 2560 หรือไม่

หากศึกษารายละเอียดในคำปรารภรัฐธรรมนูญปี 2560 จะปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า “เพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล เข้ามามีอำนาจปกครองบ้านเมือง หรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ” เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญจึงเป็นที่แน่ชัดว่า ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบและขจัดผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล มิให้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง อันเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดตลอดมาในการปกครองบ้านเมือง ปัญหาด้านจริยธรรมของผู้บริหารที่ขาดความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชน แต่ไม่ยอมออกจากตำแหน่ง โดยอ้างประชาชนเป็นผู้เลือกให้ทำหน้าที่ ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธา ล้มเหลวการบริหารราชการแผ่นดิน

การตีความโดยเคร่งครัดตามลายลักษณ์อักษรของศาลรัฐธรรมนูญ จึงกระทบกระเทือนต่อภารกิจอันสำคัญยิ่งของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องเป็นผู้คุ้มครองป้องกันและรักษาไว้ซึ่งเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ตามหลักรัฐธรรมนูญนิยม และก่อให้เกิดผลในทางที่ไม่น่าจะเป็น หรือผลประหลาด หรือผลอันไม่คาดคิด ดังเช่นคดีนี้ ย่อมสร้างความประหลาดใจแก่รัฐต่างประเทศว่า “บุคคลซึ่งกระทำผิดและถูกตัดสินโดยศาลต่างประเทศ ย่อมเดินทางกลับมาเป็นผู้ปกครองประเทศ หรือบริหารราชการแผ่นดินไทยได้ทั้งสิ้น” ก่อให้เกิดมาตรฐานจริยธรรมที่แตกต่างกับลักษณะสากลอย่างสิ้นเชิง ทั้งที่คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 11 และคณะที่ 13 เคยประชุมร่วมกัน และมีความเห็นตามบันทึกกฤษฎีกาที่ 127/2563 ว่า กรณีที่ใช้ผลของคำพิพากษาของศาลต่างประเทศมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในฐานะข้อเท็จจริง มิใช่มาบังคับโทษในประเทศไทย ย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img