วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlight''ดีอีเอส''ซัด''เฟคนิวส์''รัฐใช้พรก.ฉุกเฉินฯ แอบส่องข้อมูลปชช.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”ดีอีเอส”ซัด”เฟคนิวส์”รัฐใช้พรก.ฉุกเฉินฯ แอบส่องข้อมูลปชช.

โฆษกดีอีเอสยันรัฐบาลไม่ก้าวก่าย คุกคาม ปิดกั้น แอบส่ง หรือเก็บข้อมูลการโทร. การส่งข้อความ หรือการโพสต์ ของประชาชนไปโดยไม่ทำตามขั้นตอน และหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่มีอยู่

เมื่อวันที่ 31 ก.ค.64 น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า  ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ทำให้ประเทศไทยมีข้อบังคับการสื่อสารใหม่ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการแชร์ข้อความว่าในประเทศไทย ตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไปจะมีข้อบังคับการสื่อสารใหม่ บันทึกการโทรทั้งหมด ตรวจสอบโซเชียลมีเดียทั้งหมด อุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อกับระบบกระทรวงนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ชี้แจงว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง การใช้งานโทรศัพท์และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ยังคงทำได้เหมือนเดิม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อกำหนด ไม่ได้ให้สิทธิ์ผู้ใดในการที่จะเข้าไปแอบดู แอบดัก แอบเก็บ เอาข้อมูลการโทร. การส่งข้อความ หรือการโพสต์ ของประชาชนไปโดยไม่ทำตามขั้นตอน และหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่มีอยู่ก่อนหน้านี้

ทั้งนี้จากข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) ที่ประกาศใช้เมื่อ 29 ก.ค. 2564 ที่ห้ามการเผยแพร่ข่าวสารที่บิดเบือน โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ประสานผู้รับใบอนุญาตทุกรายให้ทำการตรวจสอบ IP Address ที่มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ต โดยมีลักษณะที่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อให้มีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งวันที่ 30 ก.ค. 2564 สำนักงาน กสทช. จึงได้เชิญผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ก.ดีอีเอส)

ผู้แทนจากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศ (ISP) ทุกราย มาประชุมเพื่อทำความเข้าใจและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยขอบเขตของการทำงานในกรณีนี้จะดำเนินการตรวจสอบเนื้อหาที่มีการบิดเบือน สร้างความสับสนทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งในกรณีที่มีความผิดชัดเจน สำนักงาน กสทช. จะดำเนินการตามข้อกำหนดดังกล่าวทันที

โดยประชาชนอย่าได้กังวลว่าสำนักงาน กสทช. จะเข้าไปก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารของทุกคนสำนักงานฯ ไม่ได้ปิดกั้น หรือคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน ไม่ได้ปิดกั้นการเข้าถึงโซเชียลมีเดีย แต่จะดูแลในส่วนของข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับโควิดที่มีการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงเท่านั้น เพื่อไม่ให้ประชาชนหมู่มากเกิดความสับสน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img