วันอาทิตย์, พฤษภาคม 12, 2024
หน้าแรกNEWS“กมธ.ก.ม.ลูก”เคาะแก้ไพรมารี่เสร็จแล้ว ถูกใจ ส.ว.อยากให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กมธ.ก.ม.ลูก”เคาะแก้ไพรมารี่เสร็จแล้ว ถูกใจ ส.ว.อยากให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วม

“สมคิด” เผยกมธ.กม.ลูก เคาะแก้ไพรมารี่เสร็จแล้ว ลดระดับจากเลือกตั้ง เป็นเห็นชอบ เชื่อ เอื้อพรรคเล็กแจ้งเกิด ตอบโจทย์ ส.ว.อยากให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วม ไม่ปิดกั้นยื่นศาลรธน.

วันที่ 6 พ.ค.65 นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ฐานะโฆษกกมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง (ส.ส.) ฉบับที่… พ.ศ… รัฐสภา เปิดเผยว่า การประชุมกมธ. เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ได้พิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ในประเด็นการแก้ไขกระบวนการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ขั้นต้น หรือ ไพรมารี่ ในสารสำคัญ คือ ได้ปรับวิธีการทำไพรมารี่ จากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้ทำทั้ง 400 เขตเลือกตั้ง ไปเป็นทำเพียง 77 จังหวัด โดยใช้ที่ประชุมสาขาพรรคประจังหวัด หรือตัวแทนพรรคประจำจังหวัด จากนั้นให้สมาชิกมาประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบ แทนการลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งประเด็นดังกล่าวในกมธ.ซีกส.ว. ได้ท้วงติงเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่กว้างขวางและไม่ต้องการให้พรรคเป็นผู้กำหนดหรือแต่งตั้งเอง แต่หากจะทำไพรมารี่โหวตเหมือนที่กฎหมายเดิมกำหนดพรรคการเมืองมองว่าทำไม่ได้จริง ดังนั้นจึงเป็นการหาทางออกร่วมกันและได้ข้อสรุปในรายละเอียดดังกล่าว

“ในการทำไพรมารี่ตามที่กมธ.หารือ ตัวแทนของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วย เนื่องจากกังวลว่าจะถูกมองว่าเป็นพรรคใหญ่ได้เปรียบและยังเอาเปรียบ จึงเป็นการแสดงความเห็นของส.ว. และพรรคเล็ก ซึ่งส.ว.พยายามช่วยพรรคเล็กที่มีปัญหา ส่วนตัวผมเห็นด้วเพื่อให้พรรคเล็กมีโอกาสทำงาน ภายใต้กติกาบัตรเลือกตั้ง2ใบทั้งนี้ผมมองว่าหากพรรคเล็กไปต่อไม่ไหวขอให้ไปรวมกับพรรคใหญ่พรรคไหนก็ได้ เพราะการเขียนกติกาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อคน65 ล้านคนไม่ใช่พรรคใดพรรคหนึ่ง ดังนั้นต้องปรับตัว” นายสมคิด กล่าว

นายสมคิด กล่าวว่า มติของกมธ.ที่แก้ไข พรรคใหญ่ยอมรับได้ไม่มีปัญหา และไม่ต่อต้าน อย่างไรก็ดีในส่วนของพรรคเพื่อไทย ได้ทำเหนือกว่าไพรมารี่แล้ว เพราะในบางเขตเลือกตั้งมีผู้เตรียมลงส.ส. 4 คน พรรคได้ทำโพล ซึ่งละเอียดกว่าไพรมารี่ ซึ่งในกระบวนการและขั้นตอนรับฟังความเห็นของที่ประชุมสาขา หรือตัวแทนพรรคนั้น จะมีขั้นตอนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.​) ต้องออกหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับกฎหมายหลัก และเปิดกว้าง เบื้องต้นมีหลักการว่า หากในบางจังหวัดที่พรรคไม่ส่งผู้สมัครส.ส.แบบเขต แต่ในพรรคส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ การออกความเห็นนั้นไม่ปิดกั้นที่จะให้เข้าร่วมประชุมข้ามจังหวัด

นายสมคิด กล่าวด้วยว่าสำหรับร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. เบื้องต้นคาดว่าจะเร่ิมประชุมในส่วนของสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อได้ในวันที่ 12 พ.ค. และสามารถแล้วเสร็จได้ตามกำหนดเวลา ส่วนที่มีข่าวว่ายังมีปัญหาเรื่องตัวเลขที่ใช้คำนวณ จะยึดจำนวน 100 คนหรือ 500 คนหาร ตนมองว่าต้องยึดตามหลักการ ของร่างพ.ร.ป.ที่รัฐสภารับหลักการ คือ ใช้จำนวน 100 คนหาร หลักการของกฎหมายทำอย่างอื่นไม่ได้ แปรญัตติให้เป็นอื่นไม่ได้ ผิดหลักการ ซึ่งเรื่องนี้ นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ เข้าใจแล้ว ส่วนจะใช้สิทธิไปยื่นต่อศาลรัฐธรมนูญก็เป็นสิทธิ แต่กมธ.ต้องทำงานตามมติของสภา นอกนั้นจะทำไม่ได้ แปรญัตติไม่ได้ แม้จะมีคนเสนอกมธ. ไม่สามารถรับได้ เพราะผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img