วันจันทร์, พฤษภาคม 27, 2024
หน้าแรกHighlightโพชชี้ผู้คนหดหู่-เห็นใจ“ปชช.3จว.ใต้” ขอรัฐจับกุม“คนร้าย”มาลงโทษให้ได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โพชชี้ผู้คนหดหู่-เห็นใจ“ปชช.3จว.ใต้” ขอรัฐจับกุม“คนร้าย”มาลงโทษให้ได้

“ซูเปอร์โพล” ชี้ชัด ปชช.ส่วนใหญ่รู้สึกหดหู่-เสียใจ-สงสาร-เห็นใจ “พี่น้องปชช. 3 จว.ชายแดนใต้” ที่ต้องมาบาดเจ็บ-สูญเสียจากการใช้ความรุนแรง ขอภาครัฐจับกุมคนร้ายผู้ก่ออาชญากรรมนำตัวมาลงโทษ

เมื่อวันที่ 21 ส.ค.65 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจเรื่อง “ความสงบสุขจังหวัดชายแดนใต้” กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และนอกพื้นที่ทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,200ตัวอย่าง แบ่งเป็นประชาชนสามจังหวัดชายแดนใต้ 600 ตัวอย่างและประชาชนทั่วไปนอกพื้นที่ 600 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18-20 ส.ค.65 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ทั้งประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 90.9 และประชาชนทั่วไปนอกพื้นที่ร้อยละ 91.8 รู้สึกสลดหดหู่ เสียใจ สงสารและเห็นใจ พี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ด้วยกัน ที่บาดเจ็บและสูญเสียจากการใช้ความรุนแรง

นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.7 ของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้และประชาชนทั่วไป ร้อยละ 90.6 ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง สร้างความแตกแยก จากกลุ่มผลประโยชน์ในพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.4 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 89.2 ตำหนิประณาม ขบวนการก่อการร้าย ที่ใช้ความรุนแรง สร้างความกลัว จำกัดเสรีภาพในการใช้ชีวิต ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 85.6 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 87.8 ห่วงผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซ้ำเติมปัญหาปากท้อง ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 81.7 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 82.3 ระบุเป็นขบวนการสมประโยชน์การเมืองท้องถิ่นและการเมืองระหว่างประเทศ ที่ได้ประโยชน์ต่ออำนาจและผลประโยชน์ ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 72.0 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 91.4 สงสาร เห็นใจ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง ในขณะที่ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 64.9 มีสัดส่วนน้อยกว่าประชาชนทั่วไปร้อยละ 86.1 รู้สึกกลัว ไม่ปลอดภัยและถูกจำกัดเสรีภาพในการใช้ชีวิต ทั้งการเดินทาง การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาพื้นที่

อย่างไรก็ตาม 5 อันดับสาเหตุความไม่สงบสุขใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบมุมมองที่แตกต่างกันระหว่าง ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 84.7 กับประชาชนทั่วไปร้อยละ 80.2 ระบุเป็นขบวนการอาชญากรรมค้ายาเสพติด ค้ามนุษย์ ค้าอาวุธ เรียกค่าคุ้มครอง เทียบกับสาเหตุความแตกต่างทางความคิด ขบวนการแบ่งแยกดินแดน พบว่าประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 47.5 เทียบกับประชาชนทั่วไปร้อยละ 85.1 นอกจากนี้ ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.5 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 74.6 ระบุสาเหตุ เป็นเพราะความหละหลวม ล่าช้าในการรับมือเหตุความไม่สงบ ไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ อันดับถัดมาคือ ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 71.2 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 75.9 ระบุช่องว่าง ความเหินห่าง ไม่วางใจกันระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่ ในขณะที่ ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 50.4 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 63.8 ระบุสาเหตุมาจากปัญหาขัดแย้งทางการเมืองและผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่จำกัดความเจริญในพื้นที่เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง

ที่น่าพิจารณาคือ แนวทางเสริมสร้างความสงบสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า ทั้งประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 82.9 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 84.6 ระบุภาครัฐจับกุมคนร้ายผู้ก่ออาชญากรรมนำตัวมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม และประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 81.8 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 82.5 ระบุรวดเร็วฉับไวระงับเหตุ นอกจากนี้ ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ร้อยละ 81.4 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 85.7 ระบุทำงานเชิงรุก ทุกฝ่ายร่วมมือป้องกันเหตุ

ที่น่าสนใจคือ ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.0 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 84.4 ระบุทุกภาคส่วนควรใช้กิจกรรมสัมพันธ์ เน้นความหลากหลาย เข้าถึงทุกกลุ่มวัย ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ลดช่องว่างกระชับความสัมพันธ์ รัฐ ประชาชน และประชาชนกับประชาชน ผ่านกิจกรรมเศรษฐกิจท่องเที่ยว การศึกษา กีฬา เทคโนโลยีโซเชียลมีเดีย ศาสนา และความมั่นคง เป็นต้น ส่วนเรื่องการเจรจาต่อรองกับขบวนการ มีประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 47.8 แต่ประชาชนทั่วไปร้อยละ 62.9 ระบุควรเจรจาต่อรองกับขบวนการ

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้เกิดขึ้นหลังมีเหตุวางเพลิงตามจุดร้านสะดวกซื้อในหลายพื้นที่ที่เป็นย่านเศรษฐกิจของจังหวัดต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นโจมตีเชิงสัญลักษณ์ทางเศรษฐกิจและธุรกิจที่ทุกฝ่ายน่าพิจารณาแนวทางเสริมสร้างความสงบสุขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรูปแบบใหม่ ๆ เพราะผลสำรวจชี้ชัดความแตกต่างระหว่างประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้กับประชาชนทั่วไป โดยประชาชนทั่วไปอาจจะสวมแว่นตามองด้วยข้อมูลตามกระแสข่าว แต่ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสัดส่วนของประชาชนที่มองปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ปัญหาแตกต่างไปจากประชาชนทั่วไป

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า ข้อเสนอแนะอาจจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภารกิจเชิงเกาะติดและป้องกัน ประเมินความเสี่ยงและป้องกัน กลุ่มตอบโต้ต่อเหตุการณ์ และกลุ่มฟื้นฟูเยียวยา เชื่อมต่อไปยังกลุ่มภารกิจแรกที่มีการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมิติข้อเท็จจริงและมิติอารมณ์ความรู้สึกของประชากรเป้าหมาย ตามผลสำรวจครั้งนี้ ชี้ชัดว่าประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่รู้สึกหดหู่ เสียใจ สงสารเห็นใจพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ด้วยกัน แต่สัดส่วนของประชาชนในพื้นที่ ที่รู้สึกหวาดกลัวมีน้อยกว่าประชาชนนอกพื้นที่

“ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนในพื้นที่ที่มองว่าเป็นความขัดแย้งทางความคิดแบ่งแยกดินแดน มีสัดส่วนน้อยกว่าประชาชนนอกพื้นที่ ที่มักจะมองไปตามกระแสข้อมูลข่าวสาร แต่ที่น่าสนใจ คือแนวทางแก้ไขที่ประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ ต้องการให้จับกุมคนร้ายมาถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และให้เน้นทำกิจกรรมสัมพันธ์หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ลดช่องว่างกระชับความสัมพันธ์ รัฐประชาชน และประชาชนกับประชาชน ผ่านกิจกรรมเศรษฐกิจท่องเที่ยว การศึกษา กีฬา เทคโนโลยีโซเชียลมีเดีย ศาสนา และความมั่นคง เป็นต้น โดยมีส่วนน้อยที่สุดที่มองไปที่การเจรจาต่อรองกับขบวนการเป็นแนวทางแก้ไข แม้ว่าจำเป็นต้องเจรจาต่อรองกันต่อไปกับขบวนการก็ตาม” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img