วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2024
หน้าแรกHighlight255 อจ.เรียกร้องคืนสิทธิประกันตัว 4 แกนนำราษฎร
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

255 อจ.เรียกร้องคืนสิทธิประกันตัว 4 แกนนำราษฎร

คณาจารย์ 255 รายชื่อออกแถลงการณ์ขอให้ศาลคืนสิทธิในการได้รับการประกันตัว รับเป็นห่วง’’เพนกวิน”กว่าคดีจะเสร็จสิ้นจะขาดจากการเป็นนศ. -หมดอนาคต

เมื่อวันที่  15 ก.พ. กลุ่มนักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ ผศ.ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ,รศ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร ผศ.ดร. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์คณาจารย์ 255 รายชื่อ 31 สถาบันขอให้ศาลคืนสิทธิในการได้รับการประกันตัวระหว่างถูกดำเนินคดีแก่ผู้ถูกสั่งฟ้องจากการชุมนุม

โดยระบุว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวแกนนำของการชุมนุมวันที่ 19-20 กันยายน 2563 รวม 4 คน ได้แก่ นายอานนท์ นำภา, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน), นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, และนายปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม (หมอลำแบงค์) โดยให้เหตุผลว่า ”หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับความผิดที่ถูกกล่าวหาอีก” คณาจารย์ผู้มีรายชื่อแนบท้ายจำนวน 255 รายชื่อ 31 สถาบัน ขอให้ศาลได้พึงพิจารณาทบทวนคำสั่งไม่ให้ประกันตัว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. ขอให้ศาลพึงยึดหลัก “การสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาถึงที่สุด” (the principle of presumption of innocence) อันเป็นหลักการทางกฎหมายพื้นฐานที่สําคัญในการดําเนินคดี อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ก็ยังบัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรค 2 ว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้”

นอกจากนี้ คำสั่งไม่ให้ประกันตัวที่วางอยู่บนการวินิจฉัยว่าจำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหา จึงเป็นเสมือนการตัดสินล่วงหน้าว่าการกระทำของผู้ถูกสั่งฟ้องเป็นการกระทำผิด ทั้งๆ ที่ กระบวนการไต่สวนยังไมได้เริ่มต้นและยังไม่มีคำพิพากษา เป็นการขัดกับหลักการและบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญข้างต้น (รายละเอียดในประเด็นนี้ ปรากฏอยู่ในแถลงการณ์ของคณาจารย์สาขานิติศาสตร์ และนักกฎหมายลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564)

2. การไม่ให้ประกันตัวในระหว่างถูกดำเนินคดี หากภายหลังศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ถูกสั่งฟ้องไม่ได้กระทำความผิด สิทธิและเสรีภาพที่ถูกพรากไปจากการถูกจองจำระหว่างดำเนินคดีก็ไม่อาจเรียกคืนกลับมาได้ โดยเฉพาะนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ซึ่งเป็นนักศึกษาอยู่ การถูกจองจำจึงหมายถึงศาลได้ลิดรอนสิทธิในการศึกษาของนายพริษฐ์ไปด้วย

3. การฟ้องร้องดำเนินคดีที่เกิดขึ้นจำนวนมากต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองในขณะนี้ รวมถึงที่มีนัดหมายสั่งฟ้องอีก 24 คนในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ มีรัฐบาลเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรง จึงเป็นธรรมดาที่เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมอย่างเกินกว่าเหตุ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่สถาบันตุลาการ จักต้องรักษาความเป็นอิสระและสมดุลของการปกป้องหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชน

4. การให้ประกันตัวผู้ชุมนุมในคดีทางการเมืองอย่างที่ผ่านมา ช่วยประคับประคองไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายได้ค่อนข้างดี ตรงกันข้าม การไม่ให้ประกันตัว มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งที่ขยายตัวรุนแรงยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ผศ.ดร.ประจักษ์  ยังได้แสดงความเห็นด้วยว่า  เรามีความกังวล การจองจำในช่วงที่มีการพิจารณาคดี มีความแตกต่างกับการฝากขังของตำรวจ ถ้าอยู่ในขั้นตอนของตำรวจ ทำได้เป็นผลัดๆ จะได้รับการปล่อยตัวเมื่อตำรวจเสร็จสิ้น แต่ในกรณีนี้ อัยการส่งฟ้องไปที่ศาลแล้ว กำลังจะเริ่มพิจารณาคดี การไม่ให้ประกันตัว หมายความว่า ผู้ต้องหาจะถูกจองจำในคุก จนกว่าการพิจารณาจะเสร็จสิ้น ซึ่งในอดีต คดีในลักษณะนี้ ใช้เวลาการพิจารณา 5- 6 ปี หากไม่ได้ประกัน อาจจะต้องติดคุกยาวถึง 5-6 ปี จนกว่าคดีจะเสร็จสิ้น กรณีพริษฐ์ ถือว่าจะขาดจากการเป็นนักศึกษา และหมดอนาคตทางการศึกษา

นอกจากนั้นองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สภานักศึกษา มหาวิทยาลัย ธรมมศาสตร์ ยังได้ร่วมอ่านแถลงการณ์ ต่อการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ ในเหตุที่บริเวณสนามหลวง เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img