วันเสาร์, พฤษภาคม 11, 2024
หน้าแรกHighlightกกร.ชงรัฐพยุง''เอสเอ็มอี''ให้รอด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กกร.ชงรัฐพยุง”เอสเอ็มอี”ให้รอด

กกร.ประเมินเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวในกรอบ -9.0% ถึง -7.0%  เสนอรัฐออกมามาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เร่งฟื้นฟูภาคธุรกิจท่องเที่ยว

 เมื่อวันพุธที่ 7 ตุลาคม ภายหลังการคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ( กกร.)  โดยมีนายกลินท์ สารสิน ประธาน กกร. และประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุม นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันแถลงว่า ที่ประชุม กกร. มองว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ฟื้นตัวไปพร้อมกับความสำเร็จในการควบคุมโควิด-19 ในประเทศ โดยมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศที่ได้รับการส่งเสริมจากมาตรการของรัฐ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ

ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ภายหลังการคลาย lockdown ทั่วโลก ซึ่งสินค้ากลุ่มอาหารและสุขอนามัยที่เป็นที่ต้องการมีการขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังต่ำกว่าปกติอยู่มาก เห็นได้จากจำนวนผู้ว่างงานที่ยังไม่ลดลง

เงินบาทอ่อนค่าจากผลของดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้นในภาวะที่ตลาดกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง โดยกังวลการระบาดของโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงแรงกดดันจากปัจจัยการเมืองทั้งฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ ความผันผวนเพิ่มขึ้นจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนการเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ สำหรับในช่วงที่เหลือของปีค่าเงินบาทยังมีแรงหนุนแข็งค่าจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล

หากไม่เกิดการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย หรือสามารถควบคุมโรคให้อยู่ในวงจำกัดได้ ที่ประชุม กกร. มองว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 จะฟื้นตัวได้ต่อไป แต่ยังคงต้องการการสนับสนุนจากมาตรการของรัฐที่ต่อเนื่องและตรงจุด สำหรับทั้งปี 2563 กกร. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยอาจหดตัวในกรอบ -9.0% ถึง -7.0% ขณะที่ กกร. ปรับประมาณการการส่งออกในปี 2563 หดตัวในกรอบ -10.0% ถึง -8.0% ดีขึ้นจากเดิมที่ -12.0% ถึง -10.0% เนื่องจากการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 หดตัวน้อยกว่าที่คาดไว้เดิม ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าอยู่ในกรอบ -1.5% ถึง -1.0%

นอกจากนี้ กกร.ยังได้เสนอให้มีการต่ออายุมาตรการต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ อาทิ มาตรการชะลอการคืนเงินกู้ โดยขอให้ครอบคลุมตามความเหมาะสมของผู้ประกอบการแต่ละประเภท, การขอยืดมาตรการค่าน้ำ ค่าไฟ (รวมถึง minimum change), การลดเก็บภาษีน้ำมันเครื่องบิน และเร่งรัด soft loan ของสายการบิน

มาตรการช่วยสนับสนุนภาครัฐในการ Reskill – Upskill ให้แรงงาน เพื่อตอบโจทย์อนาคตของประเทศไทย โดยเอกชนยินดีให้ความร่วมมือ เช่น Smart Farming, Wellness & Healthcare, Coding Program, Data Analytic, การค้า Online เป็นต้น โดยเป็นหลักสูตรระยะสั้น

มาตรการทางเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน สำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยว อาทิ รักษาการจ้างงานเดิมของสถานประกอบกิจการโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยวทั่วประเทศ , ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและแนวทางการดำเนินการของโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน  , ปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการสำหรับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย ตามมาตรการที่รัฐบาลได้อนุมัติออกมาแล้วให้สะดวกขึ้น โดยยังคงเงื่อนไขด้านความปลอดภัย

ข้อเสนอของภาคเอกชนต่อ กรอ. โดย กกร. และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ ร่วมกันจัดทำข้อเสนอด้านเศรษฐกิจ โดยนำประเด็นดังกล่าวหารือกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในประเด็นที่สำคัญต่างๆ อาทิ ด้านการค้า การลงทุน, การจ้างงาน, SME, โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เป็นต้น ก่อนจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ซึ่งจะเป็นข้อเสนอที่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

การค้ำประกันเงินกู้ของ บสย. เพื่อช่วยเหลือ SME โดยทาง กกร. หารือร่วมกับ บสย. ในแนวทางการจัดทำโปรแกรม Add on coverage for Soft Loan Plus โดยขยายระยะเวลากู้เพิ่มจากโครงการ Soft Loan ของ ธปท. ที่มีระยะเวลา 2 ปี ให้ขยายได้เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 10 ปี เพื่อช่วยค้ำประกันให้ผู้กู้ ซึ่งทาง บสย.จะมีการหารือร่วมกับธนาคารต่างๆ ในรายละเอียดการดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีโครงการค้ำประกันสินเชื่อที่ดำเนินการในปัจจุบัน ได้แก่ บสย. SMEs ไทยชนะ, บสย. SMEs พลิกฟื้นการท่องเที่ยว, บสย. Soft Loan พลัส, Start up & Innobiz และ SMEs เพิ่มพูน ซึ่งจะช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img