วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกNEWSส่งออกมี.ค.ติดลบ 4.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ส่งออกมี.ค.ติดลบ 4.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

พาณิชย์เผยส่งออกไทยมี.ค. ติดลบ 4.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ขณะที่มูลค่าส่งออกสูงสุดในรอบ 12 เดือน ชี้สินค้าเกษตร-อุตสาหกรรมหลายรายการปรับตัวดีขึ้น เกาะติดเศรษฐกิจโลกจากปัญหาเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย-วิกฤตสถาบันการเงินเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค-ธุรกิจ

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เปิดเผยถึงการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2566ว่า มีมูลค่า 27,654.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ942,939 ล้านบาท ติดลบ 4.2%  หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 0.01%  โดยการส่งออกเดือนนี้หดตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ ทำมูลค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี (23,904.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 12 เดือน เนื่องจากมีการส่งออกผลไม้ไปจีนเพิ่มขึ้น สินค้าอุตสาหกรรมบางรายการเริ่มฟื้นตัว ขณะที่ไตรมาส 1/66 ส่งออกติดลบ 4.5% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ติดลบ 0.9%

“ การส่งออกของไทยในเดือนนี้ หากเทียบกับหลายประเทศก็ถือว่าการส่งออกไทยยังดี โดยญี่ปุ่น ส่งออก หดตัว 8.0% เกาหลีใต้ หดตัว 12.6% สิงคโปร์ หดตัว 5.1% ไต้หวัน หดตัว 19.2% เวียดนาม หดตัว 11.7% เป็นตัน ซึ่งถือว่าการส่งออกไทยเดือนนี้ดีกว่าหลายประเทศ แต่ก็ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงอย่าง เศรษฐกิจคู่ค้า  วิกฤตสถาบันการเงินในต่างประเทศ ขณะที่ ค่าเงินถือว่าอยู่ในปัจจัยที่เอกชนรับได้ 34-35 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ทั้งปี 2566 ยังคาดว่าส่งออกโต 1-2%”

 อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนจากภาวะเงินเฟ้อ ที่แม้จะผ่อนคลายลงแต่ยังคงทรงตัวในระดับสูง นอกจากนี้การเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมายังคงส่งผลกระทบต่อภาคธนาคาร ภาคธุรกิจ และกำลังซื้อของประชาชน ขณะที่การย่อตัวลงของราคาน้ำมันตามอุปสงค์ตลาดโลกที่ชะลอตัว ได้ส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันหดตัวลงต่อเนื่อง

ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 24,935.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 7.1%  ดุลการค้า เกินดุล 2,718.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพรวม ไตรมาสแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 70,280.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐติดลบ 4.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 73,324.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 0.5%  ดุลการค้า ไตรมาสแรกของปี 2566 ขาดดุล 3,044.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าขยายตัว 4.2%  (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน โดยเป็นการขยายตัวทั้งหมวดสินค้าเกษตร 1.2% และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 7.1% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ไขมันและน้ำมันจากพืชและเป็นต้น ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 1.9%

สำหรับแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป จากภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ ทั้งจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในแต่ละภูมิภาคของโลกยังอยู่ในระดับสูง ภาวะวิกฤตของสถาบันการเงินยังเป็นปัจจัยบั่นทอนต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ รวมไปถึงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อผันผวนของราคาพลังงาน

อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในไตรมาสแรกของปี 2566 แม้จะหดตัว ทั้งการรื้อฟื้นความสัมพันธ์และการเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และการทำความตกลงทางการค้าในระดับท้องถิ่นกับตลาดศักยภาพในจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ช่วยสนับสนุนการนำรายได้เข้าสู่ประเทศ และคาดว่าจะช่วยประคับประคองการส่งออกของไทยให้ผ่านพ้นภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้  ขณะที่ การส่งออกไตรมาส 2 จะหดตัวหรือไม่ยังไม่สามารถคาดการณ์ในตอนนี้

ส่วนแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ ทั้งจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในแต่ละภูมิภาคของโลกยังอยู่ในระดับสูง ภาวะวิกฤตของสถาบันการเงินยังเป็นปัจจัยบั่นทอนต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ 

รวมถึงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อผันผวนของราคาพลังงาน อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในไตรมาสแรกของปี 2566 ทั้งการรื้อฟื้นความสัมพันธ์และการเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และการทำความตกลงทางการค้าในระดับท้องถิ่นกับตลาดศักยภาพในจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ช่วยสนับสนุนการนำรายได้เข้าสู่ประเทศ และคาดว่าจะช่วยประคับประคองการส่งออกของไทยให้ผ่านพ้นภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img