วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกNEWSรองปลัดยธ.เผยยังไม่ได้รับข้อมูลอาการป่วย “ทักษิณ” หลังครบ120วันที่รักษาตัวรพ.ตำรวจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รองปลัดยธ.เผยยังไม่ได้รับข้อมูลอาการป่วย “ทักษิณ” หลังครบ120วันที่รักษาตัวรพ.ตำรวจ

รองปลัดยธ.เผยยังไม่ได้รับข้อมูลอาการป่วย “ทักษิณ” หลังครบ 120 วันที่รักษาตัว ชี้หากอดีตนายกฯจะนอนรพ.ตำรวจเกิน 120 วัน กฎกระทรวงกำหนดชัดเจนเรื่องนี้อยู่แล้ว

เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และในฐานะรักษาราชการแทนอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand กรณีที่อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะต้องนอนพักรักษาตัวเกินกว่า 120 วันอยู่ที่ รพ.ตำรวจ หรือไม่นั้น  ว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้รับรายงานดังกล่าวจากนายนัสที ทองปลาด ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทราบว่านายนัสที ยังอยู่ระหว่างดำเนินการประสานงานกับแพทย์ผู้ทำการรักษาของโรงพยาบาลตำรวจ และตนก็ยังไม่ได้สอบถามรายละเอียดใดๆ เนื่องจากการปฏิบัติงานของ ผบ.เรือนจำฯ จะมองในภาพรวมของผู้ต้องขังทั่วประเทศ และเรือนจำเองก็จะต้องเป็นฝ่ายที่ติดตามและรับทราบถึงผลการวินิจฉัยของแพทย์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของนายทักษิณ ตนไม่ได้ติดตามอย่างต่อเนื่องเพราะทางเรือนจำฯ มีการทำตามกฎหมายและระเบียบอยู่แล้ว

นายสหการณ์ กล่าวอีกว่า ส่วนถ้านายทักษิณจะต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจเกินกว่า 120 วัน ซึ่งมีการกำหนดรายละเอียดไว้ในกฎกระทรวงชัดเจนถึงเรื่องการนำผู้ต้องขังป่วยไปรักษานอกเรือนจำ ว่า หากจะต้องรักษาตัวเกินกว่า 120 วัน ทางผู้บัญชาการเรือนจำจะต้องมีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และจะต้องมีรายงานความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษา เพื่อจัดทำรายงานเสนอไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งถ้าหากจะต้องมีการพิจารณาเห็นชอบ เราก็จะพิจารณาจากสภาพการเจ็บป่วย และการรักษาว่าเป็นอย่างไร ซึ่งถ้าแพทย์ผู้ทำการรักษามีการระบุว่าผู้ต้องขังยังมีอาการหรือลักษณะทางสภาพที่ยังต้องรักษาต่อเนื่องหรือเข้ารับการรักษาเร่งด่วน กรมราชทัณฑ์ก็จะต้องยึดความเห็นแพทย์เป็นหลัก  แต่ถ้าแพทย์ผู้ทำการรักษา ระบุว่า อาการปัจจุบันของผู้ต้องขังได้มีความคลี่คลายลง หรือมีลักษณะที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาต่อ เราก็จะนำตัวผู้ต้องขังกลับมาคุมขังยังเรือนจำดังเดิม

นายสหการณ์ ยังเผยถึงหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณาการนอนพักรักษาตัวภายนอกเรือนจำของผู้ต้องขังป่วย ว่า จะมีรายงานความเห็นของผู้บัญชาการเรือนจำประกอบกับความเห็นแพทย์ผู้ทำการรักษาซึ่งจะเป็นนายแพทย์ใหญ่ของโรงพยาบาลตำรวจและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมาจะมีการแนบเอกสาร อาทิ เอกสารความเห็นแพทย์ เอกสารเกี่ยวกับการรักษาหัตถการที่ผ่านมา ผลตรวจการวัดความดัน ผลตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงประวัติการรักษาโรคและอาการล่าสุด ซึ่ง ผบ.เรือนจำฯ จะต้องดูในสิ่งที่แพทย์วินิจฉัย

ส่วนที่มีการตั้งข้อสงสัยว่าแพทย์ผู้ทำการรักษาจะทำความเห็นชี้แจงเพียงแค่อาการของโรคและการให้การรักษาแต่จะไม่มีการระบุว่าเห็นควรให้ผู้ต้องขังนอนพักรักษาตัวต่อหรือไม่นั้น นายสหการณ์ ชี้แจงว่า ในประเด็นนี้ทางกรมราชทัณฑ์จะมีเจ้าหน้าที่ในส่วนของเราเอง โดยจะเป็นแพทย์จากกองบริการทางการแพทย์ ซึ่งจะต้องพิจารณาด้วย ไม่เพียงแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจเท่านั้น อีกทั้งที่ผ่านมาไม่ว่าโรงพยาบาลนั้นจะเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายหรือโรงพยาบาลที่อยู่ภายในประเทศ อาจจะมีแนวทางปฏิบัติแตกต่างกันไปบ้าง เพราะบางกรณีอาจมีการส่งผลวินิจฉัยมาล่วงหน้า แต่บางกรณีหากเป็นเรื่องกระชั้นชิดก็จะมีการส่งเอกสารทันที ซึ่งก็มีทั้ง 2 ลักษณะ ส่วนที่มีการตั้งข้อสงสัยว่าหากมีการส่งเอกสารรายงานทั้งหมดมาให้ตนพิจารณาในวันพรุ่งนี้จะทันหรือไม่ ตนขอเรียนว่าระยะเวลาสามารถเหลื่อมได้ เราเน้นเอาผลการรักษาเป็นปัจจัยหลัก

ส่วนระเบียบคุมขังนอกเรือนจำนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนที่จะต้องออกระเบียบประกาศเกี่ยวกับคุณสมบัติและแนวทางการปฏิบัติ ต่อผู้ต้องขังที่จะไปคุมขังยังสถานที่อื่นที่มิใช่เรือนจำ รวมถึงแนวทางการปฎิบัติของเจ้าของสถานที่คุมขัง ซึ่งจะมีรายละเอียดหลายอย่างที่จะต้องดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคุณสมบัติว่าผู้ต้องขังคดีใดที่จะได้รับการพิจารณาหรือผู้ต้องขังในคดีใดที่จะได้รับการยกเว้น ซึ่งจะต้องใช้เวลาพอสมควร เนื่องด้วยสี่วัตถุประสงค์ ที่กรมราชทัณฑ์จะต้องไปเจาะในรายละเอียดเพื่อให้ครอบคลุมกับผู้ต้องขังที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งหมด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img