วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlightจุฬาภรณ์ฯเปิดตัว“ฟาวิพิราเวียร์สูตรน้ำเชื่อม” รักษาเด็กป่วยโควิด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

จุฬาภรณ์ฯเปิดตัว“ฟาวิพิราเวียร์สูตรน้ำเชื่อม” รักษาเด็กป่วยโควิด

จุฬาภรณ์ฯ จับมือพันธมิตร ผลิตฟาวิพิราเวียร์สูตรน้ำเชื่อม รักษาเด็กป่วยโควิด – ผู้มีปัญหาการกลืนยา พบว่า ตอบสนองต่อการรักษาด้วยดี ไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรง กินยาได้ง่าย

เมื่อวันที่ 5 ส.ค.64 ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงข่าวผ่านระบบออนไลน์กรณีการชี้แจงข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์การพัฒนาและคิดค้นสูตร“ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (Hospital preparation) ว่า ตอนนี้มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนหนึ่งที่ค่อนข้างชัดเจน และเห็นชัดผู้ติดเชื้อเป็นเด็กเพิ่มสูงขึ้น สามารถแพร่เชื้อสู่คนในครอบครัวต่อได้ ขณะที่การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในเด็กยังไม่ได้มีการใช้อย่างกว้างขวาง

ทั้งนี้การฉีดวัคซีนจะช่วยยับยั้งการระบาดของโรคได้ แต่ต้องอาศัยเวลา ดังนั้นการได้รับยารักษาเร็วจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก เข้ารพ. และน่าจะลดการเสียชีวิตได้  ดังนั้นนี่คือสิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลโรคโควิด -19 การยับยั้งการแพร่ระบาดให้ลดลงต้องอาศัยเวลาในการฉีดวัคซีน ดังนั้นในภาวะที่เตียงในรพ.ต่างๆ ตึงมาก ดังนั้นจะทำอย่างไรผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องป่วยหนักเข้ารพ. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเป็นห่วงประชาชนมาตลอด โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ใช้ยาลำบาก

ดังนั้นทางราชวิชัยจุฬาภรณ์ จึงหารือร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทเมดิกา อินโนวา จำกัด เพื่อพัฒนายาในรพ. โดยทำยาฟาวิพิราเวียร์ชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็กที่กลืนยาเม็ดได้ หรือเพื่อให้ผู้ใหญ่ที่กลืนยาไม่ได้เร็ว และได้รับขนาดที่เหมาะกว่าการบดยาเม็ดป้อน ขณะเดียวกันก็ยินดีให้สถานพยาบาลอื่นๆ ผลิตยาดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ยาดังกล่าวต้องใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น และมีการคิดตามอาการอย่างใกล้ชิด อายุการใช้งาน 30 วัน ไม่ให้โดยแสงแดด และไม่ควรเก็บในตู้เย็นเพราะจะทำให้ยาตกตะกอน     

พญ.ศรัยอร ธงอินเนตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ ที่ญี่ปุ่นมีการใช้ในโรคไข้หวัดใหญ่ ส่วนการนำมารักษาโรคโควิดจะใช้ในขนาดที่มากพอสมควร โดยวันแรก 70 มก./กก./วัน  วันต่อมาใช้ 35 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง  ดังนั้น หากเด็ก 10 กก.จะต้องทานถึง 1 เม็ดกับอีก 3 ส่วน 4 เม็ด แต่หากใช้เป็นยาน้ำจะป้อนเด็กได้ง่ายขึ้น โดยวันแรกจะใช้ 27 cc ต่อครั้ง วันละ 2 ครั้ง และวันต่อมาจะใช้ 12 cc หรือ 3 ส่วน 4 เม็ด

พญ.ครองขวัญ เนียมสอน กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินหายใจในเด็ก กล่าวว่า ในเดือน.ก.ค.พบเด็กติดโควิดเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า และด้วยสายพันธุ์กลายพันธุ์ ทำให้เชื้อลงปอดมากขึ้น โดยพบเด็กมีเชื้อลงปอดเพิ่มจาก 50% เป็น 80-90% แต่อาการเบากว่าผู้ใหญ่ เด็กที่ปอดติดเชื้อยังมีสุขภาวะที่ดี ไม่ต้องการออกซิเจน ยังคงออกซิเจนสูง 95-96 % เป็นส่วนใหญ่

ทั้งนี้ ยามีทั้งข้อดี ข้อเสีย ยาเม็ดบดละลายน้ำผู้ปกครองคงเคยใช้มาก่อนกับยาตัวอื่น ข้อดีคือเจอจางในปริมาณน้ำ หรือนมที่ต้องการ แต่ข้อเสียคือไม่ทราบปริมาณยาที่ตกตะกอนตกค้างทำให้ได้ปริมาณยาไม่คงที่ และการที่บดไม่ละเอียดจะทำให้มีรสขม จะทำให้เกิดการอาเจียนหรือปฏิเสธการกินยาในครั้งต่อไป

ส่วนยาน้ำเชื่อมข้อดีคือพร้อมใช้ มีปริมาณยาคงที่ เด็กได้รับการดูดซึมดี แต่มีปริมาณยามากว่ายาเม็ดทั่วไป เช่นเด็ก 10 กก. ปกติป้อน 5 ซีซี แต่วันแรกต้องได้ยาเยอะ ส่วนวันถัดไปก็กินยาในปริมาณที่ไม่ต่างยาน้ำเด็กตำรับทั่วไปนัก  

“จากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์น้ำเชื่อมจริงในคนไข้เด็กอายุ 8 เดือน ถึง 5 ปี จำนวน 12 ในรพ.จุฬาภรณ์ พบว่า ตอบสนองต่อการรักษาด้วยดี ไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรง กินยาได้ดี มีเพียง 8 เดือน ที่แหวะยาในช่วงแรกปริมาณ 1 ซีซี   ทั้งนี้ที่รพ.จุฬาภรณ์ มีผู้ป่วยเด็กราวๆ 8-9 % อายุตั้งแต่แรกเกิด – 15 ปี อัตราส่วนที่ต้องใช้ยาน้ำจริงๆ คือ 1 ใน 3 ในเด็กที่วิกฤติ ต้องมีการรวบรวมตัวเลขอีกครั้ง”

สำหรับอาการโรคโควิดในเด็กจะมีไข้ หรือออกผื่น ซึ่งอาจขึ้นใบหน้า หรือลำตัว อาจมีอาการนอกเหนือจากนี้ เช่น ทางเดินอาหาร เบื่ออาหารคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ ถ่ายเหลวได้ อาการนี้อาจนำมาร่วมกับการสัมผัสผู้ป่วย อาการเหล่านี้ได้ภายใน 1-3 วัน จึงอาจต้องมีการตรวจ ส่วนอาการอาจอยู่นานประมาณ 1-2 สัปดาห์ในเด็กไม่มีโรคประจำตัว  

พล.อ.ต.นพ.สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  กล่าวว่า การให้ยาผู้ป่วยในรพ.จุฬาภรณ์ จะใช้ตามขอบ่งชี้คือในเด็ก และผู้ป่วยสูงอายุ กินอาหารทางสาย ที่มีการตรวจแอนติเจนเทสต์ แล้วผลเป็นบวก ก็ให้ยาเลย แล้วค่อยมาคอนเฟิร์มการติดเชื้อด้วย RT-PCR ในภายหลัง ส่วนคนไข้รพ.อื่นก็จะให้ และให้รพ.นั้นๆ ให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์  https://favipiravir.cra.ac.th ไม่เสียค่าใช้จ่าย เริ่ม 6 ส.ค.นี้ ระยะแรกให้บริการได้ 100 รายต่อสัปดาห์ เฉลี่ย 20 รายต่อวัน อนาคตจะเพิ่มขึ้น หลังโดยจะได้รับยาหลังลงทะเบียนแล้ว 1 วัน จัดยาไม่เกินเวลา 20.00 น. ส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดส่งอาจจะต้องรับผิดชอบเอง หรืออนาคตจะพยายามหาผู้ช่วยในการจัดส่งยาอีกครั้งหนึ่ง.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img