วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกNEWS'หญิงหน่อย'เดินหน้า"โครงการรวมพลังสู้ภัยโควิด"
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘หญิงหน่อย’เดินหน้า”โครงการรวมพลังสู้ภัยโควิด”

‘คุณหญิงสุดารัตน์’ ลุยพ่นยา-แจกหน้ากาก​ เคหะบางเขน-หลักสี่​ แนะรัฐ ล็อคดาวน์บุคคล เร่งตรวจหาผู้ติดเชื้อแทนล็อกดาวน์พื้นที่สั่งปิดการทำมาหากิน เร่งพักหนี้​ เร่งจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และผ่อนปรนการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ​ ให้ประชาชน

คุณหญิงสุดารัตน์  เกยุราพันธุ์​ เดินหน้าต่อเนื่องโครงการรวมพลังสู้ภัยโควิด ฉีดพ่นน้ำยาป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมแจกหน้ากากอนามัย แก่ชาวประชาชนในหลายพื้นที่​กรุงเทพมหานคร เริ่มจาก หมู่บ้านสหกรณ์เขตบึงกุ่ม ร่วมกับนายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กรุงเทพมหานคร  จากนั้นเดินทางต่อมายัง หมู่บ้าน​เอื้อ​อาทร​ ถนนคู้บอน​ เขต​บางเขน​ ซึ่งเป็นอาคาร​ 5​ ชั้น​ มี​ 83​ ตึกๆ​ 45​ ห้อง​ รวมประชากรประมาณ​ 4,000​ คน​ โดยมีนายอนุสรณ์​ ปั้นทอง​ ส.ส. กทม. พร้อมคณะทำงาน คอยประสานงานและดำเนินการ

จากนั้นทั้งคณะได้ฉีดพ่นน้ำยาป้องกันการแพร่เชื้อโควิด​-19 และแจกหน้ากากอนามัย​ ที่เคหะชุมชนหลักสี่ เขตหลักสี่​ กทม. โดยมีนายสุรชาติ เทียนทอง อดีตส.ส.กทม. พร้อมคณะทำงาน คอยประสานงานและลงพื้นที่ แจกอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง พร้อมพูดคุยกับประชาชนพ่อค้าแม่ขาย ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิค-19 ซึ่งพบว่าการค้าขายเป็นไปด้วยความยากลำบาก รายรับตกลงกว่าครึ่ง และต้องพบกับปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบ

หลังลงพื้นที่ คุณหญิงสุดารัตน์​ แสดงความห่วงใยประชาชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-​19 ซึ่งรัฐบาล ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดรอบใหม่ และยังใช้การทำงานด้วยระบบราชการ ซึ่งพบว่ามีการตั้งหน่วยงานคณะกรรมการที่ซ้ำซ้อน และยังมีปัญหาด้านการสื่อสาร ที่ไม่มีความชัดเจนทำให้ประชาชนสับสน ส่วนมาตรการที่จะล็อกดาวน์พื้นที่นั้น​ คุณหญิงสุดารัตน์เห็นว่า​ ไม่จำเป็นเท่ากับการล็อคดาวบุคคล โดยเฉพาะการเร่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 เชิงรุกให้ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้วยความรวดเร็วและครอบคลุม

คุณหญิงสุดารัตน์​ ขอเป็นตัวแทนของคนตัวเล็ก ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ขาย และคนหาเช้ากินค่ำ สะท้อนปัญหาพร้อมนำเสนอแนวทางการดูแลประชาชน โดยเฉพาะในมิติทางเศรษฐกิจ ที่ต้องเร่งทำควบคู่ไปพร้อมกับการดูแลสุขภาพ คือ

1.)​ พักชำระหนี้ให้ประชาชน​ ที่มีหนี้สินครัวเรือนสูงขึ้น​ รายได้ลดลง โดยเฉพาะเกษตรกร​ และผู้ประกอบการรายย่อย

2.) เงินช่วยเหลือ ชดเชยรายได้ ที่รัฐควรจัดสรรให้ พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการรายย่อย ต่างๆโดยเฉพาะกับ SMEs และ 3)​ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ​ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจ​ ประคับประประคองตัวเองได้​ ซึ่งรัฐบาลมีเงินอยู่แล้ว​ จากการกู้รอบแรก รวมถึง เงินก้อนที่อยู่ในส่วนของ​ Soft Loan จากธนาคารแห่งประเทศไทย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img