วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlightธปท.จ่อขยับขึ้น“ดอกเบี้ย”สกัด“เงินเฟ้อ”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ธปท.จ่อขยับขึ้น“ดอกเบี้ย”สกัด“เงินเฟ้อ”

ธปท.ส่งสัญญานเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยค่อยเป็นค่อยไป หลังเงินเฟ้อยังหลุดกรอบ 3% ชี้เศรษฐกิจไทยปีหน้าโต 3.7% แม้เศรษฐกิจโลกชะลอ แรงหนุนจากการท่องเที่ยว-บริโภคเอกชน

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) ว่า ภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงในช่วงปีนี้ จากปัจจัยราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงและทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเร็วและแรงอย่างพร้อมเพรียงกันมากสุดในรอบ 50 ปี ซึ่งมีผลต่อเงินดอลลาร์สหรัฐที่ปรับแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ทำให้เกิดการตึงตัวของภาวะการเงินโลก

ทั้งนี้ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากสุดนับตั้งแต่ปี 2007 (พ.ศ.2550)ขณะที่เศรษฐกิจของไทยในช่วงต้นปี เพิ่งเริ่มฟื้นตัวจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยยังมีความเปราะบาง การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง แต่ระยะถัดมา เริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อเริ่มคลี่คลายด้วยตัวเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีความอ่อนไหวน้อยต่อสถานการณ์ด้านต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จึงทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ ธปท. มีมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโดยเน้นเฉพาะจุดแบบตรงกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับการเข้าไปดูแลค่าเงินในบางช่วง ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถประคองตัวและเริ่มฟื้นกลับมาได้ดังเช่นในปัจจุบัน

ส่วนการจะกลับมาเห็นการดำเนินนโยบายการเงินแบบภาวะปกติ (Policy Normalization) ได้ในช่วงใดนั้น ยังไม่สามารถบอกได้ เพราะขึ้นกับสถานการณ์ในปี 2566 ด้วย คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีหน้าจะเริ่มเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเข้าใกล้กับจุดที่มีศักยภาพแล้วหรือยัง และเงินเฟ้อจะไม่สร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจจริงหรือไม่ ซึ่งหากทุกอย่างเข้าสู่ภาวะ Smooth take off ก็ไม่จำเป็นที่แนวนโยบายการเงินจะต้องปรับแบบกระชาก หรือเปลี่ยนทิศทาง ทั้งนี้เห็นว่านโยบายการเงินแบบที่ กนง. ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ยังมีความจำเป็นต้องทำต่อไปอีกระยะ เพราะเศรษฐกิจไทยยังไม่อยู่ในจุดที่ทุกอย่างเข้าสู่สมดุล

สำหรับตัวแปรที่จะให้เงินเงินเฟ้อในปีหน้าสูง หรือต่ำกว่าระดับ 3% มาจาก การส่งผ่านต้นทุนจากผู้ประกอบการที่เร็วกว่าคาด จากต้นทุนการผลิตหลายด้านที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้จะต้องติดตามมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่ยังมีความไม่แน่นอน เช่น มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้า และค่าครองชีพอื่นๆ รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวกว่าคาด ซึ่งจะส่งผลให้ราคาพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับลดลงกว่าที่ประเมินไว้

“เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อไม่เข้ากรอบเป้าหมาย 3% ในปีหน้า ธปท.ได้ติดตาม 2 เรื่องคือ การส่งผ่านต้นทุนที่ยังค้างอยู่ของผู้ประกอบการไปที่ราคาสินค้า ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว การส่งผ่านต้นทุนจะทำได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นตัวทำให้เงินเฟ้อไม่ลดลงเร็วและอีกเรื่องหนึ่งคือ การลดหรือสิ้นสุดของมาตรการบรรเทาค่าครองชีพในระยะต่อไป เช่น มาตรการช่วยค่าไฟฟ้า ถ้ามาตรการไม่เป็นไปตามที่ธปท.คาดก็อาจจะส่งผลต่อการลดลงของเงินเฟ้อได้”นายปิติ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img