วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกNEWSครม.รับทราบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ รองรับเศรษฐกิจหลังโควิด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ครม.รับทราบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ รองรับเศรษฐกิจหลังโควิด

ครม. รับทราบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคง และเศรษฐกิจของประเทศ

เมื่อวันที่ 30 พ.ค.66 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าที่ประะชุมครม.รับทราบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้

  1. เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา
    และเมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี
  • กลุ่มเป้าหมาย : คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูซา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาทำงานตาม MOU ที่วาระการจ้างงานครบกำหนด 4 ปี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 ธันวาคม 2565 และที่ครบกำหนด 4 ปี ระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2566 – 31 กรกฎาคม 2566
  • แนวทางการดำเนินการ : ผ่อนผันให้คนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมายอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 โดยใช้หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ใบอนุญาตทำงาน หรือเอกสารตามที่กรมการจัดหางานกำหนดเป็นหลักฐานแสดงการผ่อนผัน ซึ่งระหว่างการผ่อนผันนี้ ให้นายจ้างรายเดิมหรือรายใหม่ที่ประสงค์ จะจ้างคนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมาย ดำเนินการขออนุญาตนำคนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมายซึ่งได้รับการผ่อนผันเข้ามาทำงานตาม MOU ควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมายที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางหมดอายุ หรือการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด สามารถเดินทางกลับประเทศได้ หรือเมื่อครบกำหนดการผ่อนผันแล้วให้คนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมายเดินทางกลับประเทศต้นทางโดยไม่มีความผิด
  1. การขยายระยะเวลาจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและการตรวจลงตรา ของคนต่างด้าว 4 สัญชาติ (ก้มพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งไม่สามารถจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทน หนังสือเดินทาง และการตรวจลงตรา ได้ทันภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566
  • กลุ่มเป้าหมาย : คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งไม่สามารถจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือไม่สามารถประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ทันภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566
  • แนวทางการดำเนินการ : ผ่อนผันให้คนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมายอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 โดยให้ใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานฉบับเดิมเป็นหลักฐานการผ่อนผัน และเมื่อได้รับหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางแล้ว ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตรา และตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 หรือได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เรียบร้อยแล้ว ให้กระทรวงแรงงานเสนอเรื่องเพื่อพิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีหรือปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จะประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้นายจ้าง ผู้ประกอบการ แรงงานต่างด้าว และผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบข้อมูลการดำเนินการดังกล่าวอย่างทั่วถึง และขั้นตอนการดำเนินการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานตามระบบ MOU รวมทั้งการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฏหมายคนเข้าเมืองและกฏหมายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว 3 สามสัญชาติ กัมพูชา ลาวและเมียนมา เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นการผ่อนผันให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าว กลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการทำงานต่อไป มีระยะเวลดำเนินการจัดทำเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน โดยเมื่อคนต่างด้าวเดินทางกลับประเทศต้นทางแล้วจะสามารถเข้ามาทำงานได้ตาม MOU ครั้งใหม่ ทั้งยังเป็นการช่วยสนับสนุนนายจ้าง สถานประกอบการที่ยังต้องการจ้างแรงงานเหล่านั้นต่อ โดยแรงงานยังอยู่ในกำกับและการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ

ทั้งนี้ เพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องให้กับระบบเศรษฐกิจไทย หลังสถานการณ์ โควิด-19 คลี่คลายและกันและยังเป็นประโยชน์เป็นผลให้คนงานต่างด้าวหลับได้รับการทำงานได้รับการจัดงานโดยถูกต้องตามกฏหมายต่อไปโดยนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการแก้ปัญหาการจัดการแรงงานต่างด้าวครั้งนี้ว่า เป็นไปตามภายใต้กรอบระยะของรัฐบาลชุดปัจจุบัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img