วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlight“ลูกหนี้ 20 จังหวัด”อาการน่าเป็นห่วง! ผลพวงจากพิษโควิด-19ดันหนี้เสียพุ่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ลูกหนี้ 20 จังหวัด”อาการน่าเป็นห่วง! ผลพวงจากพิษโควิด-19ดันหนี้เสียพุ่ง

“ธปท.” เผยโควิดพ่นพิษดันหนี้เสียพุ่ง ข้อมูลเครดิตบูโรพบว่าครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ 20 จังหวัด “เอ็นพีแอล” สูงมาก ย้ำการแก้หนี้ต้องเหมาะสมกับปัญหาของลูกหนี้

นายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนยังเป็นปจจัยที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย จากข้อมูลล่าสุด ไตรมาส 3/65 อยู่ที่ประมาณ 15 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 87% ของจีดีพี ซึ่งเพิ่มขึ้นมาในช่วงเกิดวิกฤติโควิด-19 และถือว่าเป็นระดับที่สูงมาก ซึ่งเป้าหมายแรกคือการปรับลดหนี้ครัวเรือนให้ลงมาอยู่ในระดับ 80% ซึ่งเป็นในระดับที่ยอมรับได้ในระดับสากล

ทั้งนี้หากดูข้อมูลในระดับจังหวัด จากข้อมูลของบริษัทเครดิตแห่งชาติ (NCB) พบว่าจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลของจังหวัดที่ครัวเรือนมีรายได้ต่ำ 20 จังหวัดที่มีหนี้เอ็นพีแอลสูง ประกอบด้วย ได้แก่ จ.กาฬสินธุ์ จ.อำนาจเจริญ จ.นราธิวาส จ.ร้อยเอ็ด จ.มุกดาหาร จ.ยโสธร จ.สุรินทร์ จ.ชัยนาท จ.พัทลุง จ.ยะลา จ.อุบลราชธานี จ.บุรีรัมย์ จ.ศรีสะเกษ จ.นครราชสีมา จ.สกลนคร จ.พิษณุโลก จ.เลย จ.ลำปาง จ.ปัตตานี และจ.แม่ฮ่องสอน

นอกจากนี้ 18 จังหวัด ใน 20 จังหวัดมีบัญชีหนี้เอ็นพีแอลสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศระดับ 15.6% โดยจังหวัดที่มีระดับหนี้เสียสัดส่วน 20% หรือมากกว่า 20% อยู่ 3 จังหวัดคือ กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ และนราธิวาส  

ขณะที่ยังมีจังหวัดที่มีสีดส่วนบัญชีหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอลสูงกว่า 15-20% เช่น ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ยโสธร สุรินทร์ ชัยนาท พัทลุง ยะลา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ นครราชสีมา สกลนคร พิษณุโลก เลย และลำปาง ซึ่งไม่รวมหนี้นอกระบบ และทำให้การแก้ปัญหาหนี้ ความยากจนทำได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาระหนี้ที่สูงเป็นสิ่งที่น่ากังวลในกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพการเงิน

สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนและแก้ไขอย่างยั่งยืนนั้นเห็นว่า

  • หนี้เสีย 4.5 ล้านบัญชี เป็นหนี้ในช่วงสถานการณ์โควิด และอยู่ในสถาบัน เช่น ธกส. บริษัทที่ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินแต่มิใชสถาบันการเงินหรือนอนแบงก์ ต้องแนะนำและให้ความช่วยเหลือในการแก้หนี้ เช่น มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในระยะยาว การให้คำปรึกษา และการไกล่เกลี่ยหนี้
  • หนี้เรื้อรัง เช่น จ่ายแต่ดอกเบี้ยหรือจ่ายขั้นต่ำนานๆ ดังนั้นควรมีแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกับเจ้าหนี้
  • หนี้ใหม่ ต้องปล่อยสินเชื่อตามความสามารถในการชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องคำนึงถึงศักยภาพในการชำระหนี้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชำระหนี้เร็วขึ้น การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน โดยนำความรู้ทางการเงินมาช่วยแก้ไขผ่านระบบการศึกษา
  • หนี้เดิม ต้องแก้หนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และปัญหาของลูกหนี้ ไม่พักชำระหนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ปรับโครงสร้างหนี้ ควบคู่กับแนวทางในการให้ความรู้ทางการเงิน Financial Literacy โดยมีการปรับพฤติกรรม การให้ความรู้ การเตรียมความพร้อมเรื่องเครื่องมือต่างๆ
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img