วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlight‘หนี้บังคับคดี’พุ่งสูงถึง 15 ล้านล้านบาท!! ‘หนี้เสียบ้าน’แชมป์ยอดรวม 3.5 แสนล้าน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘หนี้บังคับคดี’พุ่งสูงถึง 15 ล้านล้านบาท!! ‘หนี้เสียบ้าน’แชมป์ยอดรวม 3.5 แสนล้าน

เครดิตบูโรเปิดข้อมูลหนี้อยู่ระหว่างการบังคับคดีพุ่ง 15 ล้านล้านบาท ห่วงสินเชื่อบ้าน หนี้เสีย-ค้างชำระหนี้พุ่ง รวม 3.5แสนล้าน ขณะที่ดอกเบี้ยแพงมีผลต่อผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถชำระหนี้ได้

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า หนี้ที่เข้าสู่กระบวนการบังคับคดี โดยเจ้าหนี้ชนะคดีแล้ว และอยู่ระหว่างบังคับคดี ณ พ.ย.66 มีจำนวน 2,674,081 คดี คิดเป็นมูลหนี้ทั้งหมด 15.99 ล้านล้านบาท

โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หนี้ที่เจ้าหนี้ชนะคดีแล้ว แต่ยังไม่ได้บังคับคดี มีทั้งสิ้น 1.05 ล้านคดี คิดเป็นทุนทรัพย์รวม 15 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้บัตรเครดิต 2.99 แสนคดี รวม 3.68 หมื่นล้านบาท หนี้เช่าซื้อ 1.79 แสนคดี 6.4 หมื่นล้านบาท หนี้นิติบุคคล 1 ล้านคดี รวม 7.12 แสนล้านบาท และหนี้บุคคลธรรมดา 1 แสนคดี รวม 1.48 แสนล้านบาท รวมถึงหนี้จากบุคคลธรรมดาที่สันนิษฐานว่าเป็นหนี้นอกระบบ 6.9 พันคดี วงเงินรวม 1.745 ล้านล้านบาท (สันนิษฐานจากเจ้าหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าหนี้มากกว่า 20 คดี)

ขณะที่หนี้ที่อยู่ระหว่างบังคับคดีมีทั้งสิ้น 6.91 แสนคดี วงเงินรวม 7.61 แสนล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ของสถาบันการเงิน 2 แสนคดี วงเงินรวม 3.67 แสนล้านบาท โดยหากดูประเภทหนี้ มาจากหนี้บัตรเครดิต 7.9 หมื่นคดี วงเงินรวม 7.5 พันล้านบาท หนี้สินเชื่อเช่าซื้อ 5.1 หมื่นคดี วงเงินรวม 2 หมื่นล้านบาท หนี้นิติบุคคล 3.17 แสนคดี วงเงินรวม 2.98 แสนล้านบาท หนี้จากบุคคลธรรมดา 2.9 หมื่นคดี รวม 6.7 หมื่นล้านบาท และหนี้ที่สันนิษฐานว่าเป็นหนี้นอกระบบอีก 1.2 หมื่นคดี วงเงินรวม 3.6 หมื่นล้านบาท

“ซึ่งหนี้เหล่านี้ คือหนี้ที่อยู่ระหว่างการบังคับคดี เพื่อให้ลูกหนี้มาชำระหนี้ โดยการบังคับเอาบ้าน-รถ หรือทรัพย์สินอื่นๆ มาชำระหนี้ โดยหนี้ 15 ล้านล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการบังคับคดี หรือบังคับคดีแล้ว เกือบเทียบเท่ากับหนี้ครัวเรือนไทย” ที่มีอยู่ในปัจจุบันที่มีราว 16 ล้านล้านบาท หรือเทียบกัจีดีพีไทย ที่ 17 ล้านล้านบาท”

สำหรับหนี้ที่มีอาการน่าห่วงมากขึ้นคือ “สินเชื่อบ้าน”​ ที่ทั้งหนี้เสีย และหนี้ค้างชำระ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยวันนี้ สินเชื่อบ้าน ที่เป็นหนี้เสียไปแล้ว มีทั้งสิ้น 1.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.0% หนี้ค้างชำระแต่ไม่เกิน 90วันหรือ SM มีอีก 1.78 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึง 31.1% รวมทั้งสองกลุ่มนี้ ทั้งหนี้เสีย และหนี้ค้างชำระจากสินเชื่อบ้านอยู่ที่ 3.58 แสนล้านบาท สะท้อนคุณภาพที่แย่ลงต่อเนื่อง

หากดูการปรับโครงสร้างหนี้ของสินเชื่อบ้าน พบว่า เป็นสินเชื่อที่มีการปรับโครงสร้างมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนโควิด ช่วงโควิด และหลังโควิด ที่วันนี้มีอีกจำนวนมากถึง 2.78 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นอีก 20.2% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

นอกจากนี้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น คือส่วนหนึ่งที่ทำให้ ปัญหาในสินเชื่อบ้านเพิ่มขึ้น ทำให้ภาระครัวเรือนในการผ่อนบ้านเพิ่มขึ้น เมื่อดอกเบี้ยขยับเพิ่มขึ้น 0.25% แต่ค่างวดที่เพิ่มขึ้นมหาศาล ทำให้มีปัญหาการผ่อนชำระ ขณะที่มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในปัจจุบันมาตรฐานที่มีอยู่ไม่ได้ถูกออกแบบให้สามารถใช้กับทุกกลุ่มลูกหนี้ แต่เหมือน ไม้บรรทัดอันเดียว แต่ใช้วัดกับทุกกลุ่ม เช่น หากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.25% สำหรับคนที่มีรายได้ 2 แสนล้านบาท อาจมีความสามารถในการผ่อนชำระได้ แต่หากเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย มีรายได้เพียง 2 หมื่นบาท กลุ่มนี้อาจไม่สบาย ต้องเผชิญภาระหนี้เพิ่มขึ้น ดังนั้นดอกเบี้ยที่สูงมีผลต่อการชำระหนี้ของลูกหนี้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img