วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlight“เงินบาทอ่อน”ลุ้นธนาคารกลางจีนปรับลดดอกเบี้ย หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เงินบาทอ่อน”ลุ้นธนาคารกลางจีนปรับลดดอกเบี้ย หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 36.10 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันหยุด President’s Day ตลาดเริ่มกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน ท่ามกลางการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจของรัฐบาลฝรั่งเศส-การเตือนภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากธนาคารกลางเยอรมนี ลุ้นธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้ชั้นดีหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.10 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.03 บาทต่อดอลลาร์ โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงบ้าง (แกว่งตัวในช่วง 35.98-36.12 บาทต่อดอลลาร์) ตามจังหวะการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมกับการย่อตัวลงของราคาทองคำ ขณะเดียวกันประเมินว่า การปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้ ก็อาจมีส่วนกดดันเงินบาทให้ผันผวนอ่อนค่าได้ ตามโฟลว์ธุรกรรมซื้อน้ำมันดิบ

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันหยุด President’s Day ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะ Nvidia ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้พอสมควร ทั้งนี้ การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาอาจเปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรได้บ้าง โดยล่าสุด สัญญาฟิวเจอร์สดัชนี S&P500 เช้านี้ย่อตัวลงเล็กน้อย -0.20%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้น +0.16% ตามการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นกลุ่ม Healthcare เป็นหลัก นำโดย AstraZeneca +3.2% ยารักษามะเร็งปอดของบริษัทได้รับการอนุมัติจาก FDA สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปกลับปรับตัวขึ้นไม่ได้มากนัก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดก็เริ่มกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน ท่ามกลางการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจของรัฐบาลฝรั่งเศส รวมถึงการเตือนภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากธนาคารกลางเยอรมนี

ในฝั่งตลาดบอนด์ เราประเมินว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจแกว่งตัวแถวโซน 4.30% เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ขณะเดียวกัน ผู้เล่นในตลาดต่างรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ทั้งนี้ เราคงมุมมองเดิมว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ในโซนเหนือกว่า 4.20% ถือเป็นระดับที่น่าสนใจ และนักลงทุนสามารถทยอยเพิ่มสถานะการลงทุนได้ หรือนักลงทุนอาจรอจังหวะ Buy on Dip ก็ได้เช่นกัน โดย นักลงทุนอาจใช้กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือ ETF อย่าง IEF (iShares 7-10 Year Treasury Bond ETF) รวมถึงตราสารที่มี IEF เป็น underlying เพื่อเป็น proxy ในการลงทุนตามมุมมองดังกล่าวได้

ทางด้านตลาดค่าเงิน แม้ว่าตลาดการเงินฝั่งสหรัฐฯ จะปิดทำการ ทำให้ปริมาณธุรกรรมในตลาดอาจเบาบางลงบ้าง แต่เงินดอลลาร์ก็เคลื่อนไหวผันผวนแข็งค่าขึ้นบ้าง โดยยังมีธีม US Exceptionalism เป็นปัจจัยหนุนเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน ที่กดดันสกุลเงินฝั่งยุโรป ทั้งเงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 104.3 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 104.2-104.4 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ได้กดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) ย่อตัวลงและแกว่งตัวแถว 2,020-2,030 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นอกจากนี้ การย่อตัวลงของราคาทองคำก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงบ้าง

สำหรับวันนี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญอาจมีไม่มากนัก ทว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้ชั้นดี (Loan Prime Rate) เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจหรือไม่ หลังล่าสุด PBOC ได้คงอัตราดอกเบี้ย MLF-1y ไว้ที่ระดับ 2.50% เพื่อช่วยลดทอนแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าที่อาจเกิดขึ้นกับเงินหยวนจีน (CNY)

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก ทั้ง ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มนโยบายการเงิน ซึ่งการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของ BOE และ ECB อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินยูโร (EUR) ในช่วงนี้ได้

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้บ้าง หลังเงินดอลลาร์กลับมารีบาวด์แข็งค่าขึ้น ขณะเดียวกัน โฟลว์ธุรกรรมเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ โฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำ รวมถึงน้ำมันดิบ ก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าได้บ้าง โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านและมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ หากภาพรวมเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ดี ซึ่งเราคาดว่าทิศทางราคาน้ำมันดิบก็อาจขึ้นกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน

นอกจากนี้ รายงาน GDP ไตรมาส 4 ปี 2023 ของไทย ที่ออกมาแย่กว่าคาด ก็ยังคงทำให้บรรดานักวิเคราะห์ต่างชาติต่างคาดหวังว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในปีนี้ ซึ่งมุมมองดังกล่าวก็อาจกดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าได้บ้าง แต่โดยรวม เรายังคงประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาท นั้นเริ่มแผ่วลงบ้าง (สอดคล้องกับสัญญาณเชิงเทคนิคัลที่เราได้ประเมินก่อนหน้า) ทำให้แม้เงินบาทจะผันผวนอ่อนค่าลง แต่ก็อาจยังไม่สามารถอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 36.20-36.30 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทก็ยังขาดปัจจัยหนุนการแข็งค่า ทำให้แม้เงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าขึ้น ก็อาจยังติดโซนแนวรับ 35.80-35.90 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม

เราขอเน้นย้ำว่า ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้งมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.90-36.20 บาท/ดอลลาร์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img