วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlightเปิด3แนวทางใช้กองทุนน้ำมันอุ้มเบนซิน หลัง“คลัง”ไม่ต่อมาตรการลดภาษีเบนซิน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิด3แนวทางใช้กองทุนน้ำมันอุ้มเบนซิน หลัง“คลัง”ไม่ต่อมาตรการลดภาษีเบนซิน

กระทรวงพลังงานเผยทางออก 3 แนวทางดูแลราคาน้ำมันเบนซิน หลังกระทรวงการคลังไม่ต่อมาตรการลดภาษีน้ำมันเบนซิน ที่จะสิ้นสุดมาตรการ 31 ม.ค.นี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากมาตรการปรับลดภาษีสรรพสามิต น้ำมันกลุ่มเบนซิน สิ้นสุดลงในวันที่ 31 ม.ค.67 และกรมสรรพสามิตจะไม่ต่ออายุมาตรการดังกล่าว ดังนั้นกระทรวงพลังงานจะใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาดูแลราคาน้ำมัน โดยตั้งสมมุติฐาน 3 แนวทางแบ่งเป็น

1.ปล่อยราคาน้ำมันเบนซินปรับขึ้นทันที 1 บาทต่อลิตร ตามมาตรการกระทรวงการคลังที่ลดภาษีให้ 1 บาท

2.ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ เข้าไปอุดหนุนแก๊สโซฮอล์ 91 ทั้งหมด 2.5 บาทต่อลิตร โดยลดอัตราการจัดเก็บเพิ่มขึ้น

3.ทะยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินระดับ 50-80 สตางค์ต่อลิตร 

ทั้งนี้ตามนโยบายของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ต้องการให้ราคาน้ำมันอยู่ในเกณฑ์ที่ประชาชนต้องไม่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น หากกระทรวงการคลังไม่ต่อมารตรการลดภาษีน้ำมันให้ครั้งนี้ การจะปรับขึ้นทันที 1 บาทต่อลิตร คงเป็นไปไม่ได้ เพราะจะกระทบต่อผู้ใช้น้ำมันทันที และหากขึ้นราคาน้ำมันคาดว่าจะไม่เกิน 50-80 สตางค์ต่อลิตร

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ ใช้เงินเข้าอุดหนุนกลุ่มดีเซลระดับ 3-4 บาทต่อลิตร ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีเงินไหลออกเดือนละประมาณ 7-8 พันล้านบาท ส่วนเบนซินยังถือว่ามีเงินเข้าบัญชีอยู่บ้าง

สำหรับ ฐานะกองทุนน้ำมันฯ วันที่ 21 ม.ค. 2566 ติดลบ 83,020 ล้านบาท แบ่งเป็น

  • บัญชีน้ำมันติดลบ 36,594 ล้านบาท
  • บัญชีก๊าซหุงต้ม (LPG) ติดลบ 46,426 ล้านบาท
  • ขณะที่เงินกู้ยืมจากสถาบันทางการเงินมีการเบิกเข้าบัญชีแล้วที่ 75,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีเงินกู้ที่ทำสัญญาไว้อีก 30,000 ล้านบาท ที่ยังไม่มีการเบิกเข้าบัญชี และยังค้างจ่ายเงินคู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 ดังนั้น กองทุนน้ำมันฯ จะมีตัวเลขการค้างจ่ายและคิวการจ่าย เพื่อเบิกเงินกู้มาเข้าบัญชี เพราะนำเข้าบัญชีเร็วก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเร็ว

รายงานข่าวระบุว่า ตลอดปี 2566 คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ที่มีนายพีระพันธุ์ เป็นประธาน ได้บริหารจัดการราคาขายปลีกของกลุ่มดีเซล โดยปรับลดราคาขายปลีกดีเซลไปแล้วรวม 7 ครั้ง จากราคา 35 บาทต่อลิตรมาอยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร หลังจากนั้นได้ลดลงมาอยู่ที่ 30 บาทต่อลิตร เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2566 ที่ให้ตรึงราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยใช้กลไกลดภาษีสรรพสามิตและกลไกกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาระดับราคาขายปลีก

ขณะที่ การรักษาระดับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ไม่ให้เกิน 423 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม (กก.) ตั้งแต่ต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ได้ทยอยปรับราคาจาก 408 บาทต่อถัง 15 กก. เป็น 423 บาทต่อถัง 15 กก. ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2566 เป็นต้นมา เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนและส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img