วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlightปลด''โควิด''โรคต้องห้ามเข้าไทย-ศบค.23 ก.ย.ถกลดระดับโรคติดต่ออันตราย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ปลด”โควิด”โรคต้องห้ามเข้าไทย-ศบค.23 ก.ย.ถกลดระดับโรคติดต่ออันตราย

ครม.เห็นชอบปลดโรคโควิด-19 ออกจากโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือมีถิ่นที่อยู่ในไทย ขณะที่ประชุมศบค. 23 ก.ย.เล็งพิจารณาแผนการลดระดับโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

เมื่อวันที่ 20ก.ย.65 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ว่า ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวฯ พ.ศ.2563 โดยยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 ออกจากการเป็น โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12 (4) หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามาตรา 44 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522

ส่วนโรคต้องห้ามอื่นๆ ยังคงกำหนดไว้ตามเดิม ดังนี้ 1.โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร คือ 1)โรคเรื้อน 2)วัณโรคในระยะอันตราย 3)โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม 4)โรคยาเสพติดให้โทษ 5)โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 2.โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร คือ 1)โรคเรื้อน 2)วัณโรคในระยะอันตราย 3)โรคเท้าช้าง 4)โรคยาเสพติดให้โทษ 5)โรคพิษสุราเรื้อรัง และ 6)โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ขณะที่นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่สถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลกดีขึ้นชัดเจน ตัวเลขเกือบใกล้เคียงกับตัวเลขต่ำสุดของปีที่แล้ว โดยเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 ดร.เท็ดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 เริ่มเห็นการสิ้นสุดของการระบาดใหญ่อยู่ไม่ไกลแล้ว

“ที่ผ่านมา ดร.เท็ดรอส จะไม่กล่าวในทำนองนี้ แต่ทั้งนี้ก็ยังย้ำเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วโลก และเข็มกระตุ้น (บูสเตอร์ โดส) ทั้งนี้ สถานการณ์ในยุโรปลดลงชัดเจน ประชากรเริ่มถอดหน้ากากอนามัยมากขึ้นเพราะการติดเชื้อแล้วเจ็บป่วยอาการรุนแรงลดลง ขณะที่ประเทศทางฝั่งเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือไต้หวัน จำนวนติดเชื้อใหม่ก็ลดลงแล้ว สำหรับประเทศไทย ก็เหมือนสถานการณ์ประเทศอื่นๆ ช่วงนี้อยู่ในช่วงเกือบต่ำสุดเมื่อเทียบกับปีก่อน ยังมากกว่าเล็กน้อย แต่ก็ใกล้เคียง เสียชีวิตอยู่ในหลักสิบรายต้นๆ ฉะนั้น ถือเป็นระยะที่มีความปลอดภัยสูง เราจึงเตรียมพร้อมเปลี่ยนผ่านโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งพรุ่งนี้ (21 กันยายน 2565) คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จะมีการประชุม ก็น่าจะมีมติที่เป็นประโยชน์ มีคำแนะนำที่จะนำไปใช้ได้” นพ.โสภณ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 23 กันยายนนี้ จะมีการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)(ศบค.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นแผนการลดระดับโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หลังจากที่มีการประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายมายาวนานตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นมา

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img