วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกNEWSสธ.ตั้งวอร์รูมช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหวในตุรเกีย พร้อมเร่งตรวจ“อหิวาต์”ระบาดบางจุด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สธ.ตั้งวอร์รูมช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหวในตุรเกีย พร้อมเร่งตรวจ“อหิวาต์”ระบาดบางจุด

ทีมแพทย์ส่วนหน้าไทยถึงพื้นที่แผ่นดินไหวในตุรเกีย สธ. ตั้งวอร์รูมช่วยเหลือ ส่วน 2 นำโดยทหาร-แพทย์ คาดเดินทางสมทบ 11 ก.พ.นี้ ขณะที่ทีม 3 Thailand EMT รุดตามปฏิบัติการระดับ1 เดินเข้าช่วยเหลือ พร้อมยา-เวชภัณฑ์ 20 กว่ารายการ เร่งตรวจสอบข้อมูล “อหิวาต์” ระบาดบางจุด

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 66 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงการส่งทีมแพทย์ให้ความช่วยเหลือเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่ประเทศตุรเคีย ว่า การช่วยเหลือมี 3 ส่วน คือ 1. ทีม Urban Search and Rescue (USAR) หรือทีมค้นหากู้ภัย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรับดำเนินการ ซึ่งจะมีบุคลากรแพทย์ พยาบาลกู้ชีพ และเวชกิจฉุกเฉิน ของกรมการแพทย์ รวมทั้งหมด 42 คน ซึ่งเดินทางไปถึงเมืองอิสตันบูลเรียบร้อยแล้ว และเข้าพื้นที่ภัยพิบัติเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ทั้งนี้ในส่วนของสธ.มีนพ.เกษมสุข โยธาสมุทร นายแพทย์ชำนาญการรพ.เลิดสิน จะเป็นหัวหน้าทีมซึ่งจะประเมินสถานการณ์ความเสียหาย ระบบขนส่ง ระบบโครงสร้างต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญส่งกลับมาให้ทางประเทศไทยดำเนินการส่งความช่วยเหลือเข้าไปเพิ่มเติม

2.ในส่วนของเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแทพย์ต่างๆ นั้นทางตุรเคียร้องขอการสนับสนุนมากกว่า 200 รายการ แต่ทางเราพิจารณาแล้วสามารถส่งความช่วยเหลือได้ราวๆ 20 กว่ารายการ รวมเป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบของกระทรวงการต่างระเทศ จากนี้จะเร่งทำการจัดซื้อ จัดจ้างซึ่งอาจจะมีทั้งการจัดซื้อที่ตุรเคียและซื้อไปจากประเทสไทย ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด

และ 3. การสนับสนุนทีมแพทย์เพิ่มเติม ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกมีทหารเป็นผู้นำทีม และมีกรมการแพทย์ กองสาธารณสุขฉุกเฉิน (สธฉ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวม 20 กว่าคน ซึ่งในจำนวนนี้จะแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์ออโธปิดิกส์ (หมอกระดูก) ศัลยแพทย์ และอายุรแพทย์ ร่วมทีมด้วย โดยอยู่ระหว่างเตรียมทีมคาดว่าจะเดินทางได้ประมาณวันที่ 11 หรือ 12 ก.พ. นี้ ส่วนที่ 2 เป็นทีม Thailand EMT (Emergency Medical Team) ของกระทรวงสาธารรสุข มีกรมการแพทย์เป็นหัวหน้าทีม

จากการหารือร่วมกันเมื่อช่วงบ่าย (10 ก.พ.) ในการคัดตัวบุคลากร โดยเมื่อลงไปแล้วจะปฏิบัติงานด้านการแพทย์ระดับ 1 (Leval1) จะดำเนินการเดินเท้าออกตรวจ หรือลักษณะเหมือนโมบายคลินิก เหมือนรพ.สต. หรือสถานีอนามัยของไทย โดยจะเร่งดำเนินการจัดส่ง อย่างไรก็ตาม จริงๆ ทางตุรเคีย ร้องขอมาเป็นทีมระดับ 2 คือการตั้งรพ.สนาม สามารถรักษาพยายาบาลได้ถึงขั้นผ่าตัด นอกจากนี้อาจจะมีการพิจารณาส่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่จำเป็นไปร่วมปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของพื้นที่ด้วย

“การส่งทีมแพทย์จะต้องมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา สิ่งสำคัญคือเราต้องบริหารจัดการเพื่อให้ทีมที่ส่งไปมีความปลอดภัยในการทำงานมากที่สุด เพราะต้องเผชิญกับอุณหภูมิติดลบกว่า 10 องศาเซลเซียส ความแตกต่างทางภาษา วัฒนธรรม” นพ.ณรงค์ กล่าว ส่วนของประเทศซีเรียเนื่องจากไม่มีสถานทูตและไม่มีการร้องขอที่ชัดเจน ก็อาจจะต้องประสานผ่านสถานทูตในอิหร่านถึงความต้องการช่วยเหลือ

นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณุสขได้มีการตั้งวอร์รูม (EOC) ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการช่วยเหลือภัยพิบัติแผ่นดินไหวระดับกระทรวงแล้วในทางปฏิบัติเราทำงานกันแล้ว ส่วนคำสั่งอย่างเป็นทางการจะออกมาภายหลัง โดยวอร์รูมนี้จะแบ่งภารกิจงานออกเป็นกล่องๆ กล่องงานระบบสั่งการ มีปลัดสธ.เป็นประธาน กล่องงานประสานงาน จะมีกรมการแพทย์และสธฉ. กล่องงานด้านการแพทย์จะมีกรมการแพทย์ดูแลหลัก และกล่องงานโลจิสติกส์ จะมีกรมการแพทย์ และสธฉ. เป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ ทีมกำลังลงในรายละเอียดวิธีปฏิบัติของแต่ละส่วน นอกจากนี้ ยังมีทีม SAT ติดตามสถานการณ์ ซึ่งมีกรมการแพทย์ สธฉ. และกรมควบคุมดูแล ตอนนี้เริ่มมีข่าวการระบาดของอหิวาต์ในบางจุด ต้องตรวจสอบข้อมูลต่อไป.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img