วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlightไฟเขียวครอบครองยาบ้า 5 เม็ดเป็นผู้เสพ เข้าบำบัดรักษาไม่ต้องรับโทษ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ไฟเขียวครอบครองยาบ้า 5 เม็ดเป็นผู้เสพ เข้าบำบัดรักษาไม่ต้องรับโทษ

ถกเครียด 3 ชั่วโมง ที่ประชุมเคาะยาบ้า 5 เม็ด เป็นผู้เสพ แจงละเอียดยิบ ดูข้อมูลรอบด้าน ทั้งงานวิจัย ความเป็นพิษ เสพเกิน 55 มิลลิกรัมต่อวัน ทำป่วยจิตเวชแรง ทำร้ายตัวเอง-สังคม “ป.ป.ช.” เคลียร์ปมผู้เสพต่ำกว่า 5 เม็ดต้องเข้าบำบัดรักษา หากปฏิเสธจะเข้าข่ายครอบครองมีความผิด ยืนยันมีหลักการแยกพฤติกรรมเสพ-ค้า อย่าหัวทำมาแบ่งขาย ชงครม.ขยายเวลาทำงานเพิ่ม ก่อนครบกำหนด 8 ธ.ค.นี้

เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ. กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานประชุมหารือการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษฯ ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีการหารือกัน กว่า 3 ชั่วโมงเริ่มตั้งแต่เวลา 13.0 น.

ล่าสุดเวลา 16.00 น. นพ. กิตติศักดิ์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานร่วมประชุมอย่างครบถ้วน และมีมติเป็นเอกฉันท์กำหนดการครอบครองยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ด สันนิษฐานว่า มีไว้ใช้ครอบครองเพื่อเสพ โดยจะมีการนำเสนอต่อนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข เพื่อออกเป็นกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ….ต่อไป โดยตามกระบวนการจะต้องมีการรับฟังความเห็น ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี และรับฟังผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสักระยะ

นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับการหารือในที่ประชุมวันนี้ เราใช้เหตุผลทางากรแทพย์ ซึ่งจะมีตัวแทนกรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่มาให้รายละเอียดของตัวเยา และผลกระทบจากยา และผลกระทบต่อมิติอื่นๆ ทั้งผู้บังคับใช้กฎหมาย และผลกระทบต่อชุมชน สังคม การบำบัดรักษา ตลาดจนระบบราชทัณฑ์ ซึ่งถือว่าครบถ้วน

พญ.ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การกำหนดครอบครองไม่เกิน 5 เม็ด เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีการรวบรวม ทบทวนวรรณกรรม และข้อมูลจากศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิดบดี ที่เราพบว่า การใช้ในปริมาณที่มากกว่า 55 มิลลิกรัมจะทำให้เกิดอาการหลงผิด หวาดระแวง เข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วยโรคจิตเวช ชนิดรุนแรงที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง เสี่ยงการทำร้ายตนเอง และผู้อื่น ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในสังคม ดังนั้นหากใช้ปริมาณมากเกินกว่าที่กำหนดต่อวันนั้น จะทำให้เพิ่มจำนวนผู้ป่วยกลุ่มนี้มากขึ้น

พล.ต.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผู้บังคับบัญชาตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ผบ.ช.ปส.) กล่าวว่า ถ้ามากกว่า 5 เม็ดขึ้นไป ถือว่าครอบครองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจะแบ่งความผิดออกเป็น 2 ประเภท คือความผิดในเรื่องการเสพ ไม่ว่าจะเสพโดยตรง หรือครอบครองเพื่อเสพ และอีกกลุ่มคือความผิดร้ายแรงคือการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และครอบครอง ดังนั้น ไม่ว่าจะครอบครอง หรือจำหน่าย ฐานโทษเท่ากัน ดังนั้นนี่คือการแยกเพื่อให้คนเป็นการปราบปรามคนทำผิดได้รับโทษตรงตามข้อหา ส่วนเรื่องผู้ค้าที่แพร่ระบาดในชุมชนก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ดังนั้นเมื่อจับแล้ว แม้ว่าจะมี 1 เม็ดก็ถือเป็นผู้ค้าได้

เมื่อถามว่า ขณะนี้ สังคมมีการเข้าใจว่า เมื่อกำหนดการครอบครองยาบ้าต่ำกว่า 5 เม็ด กลายเป็นว่าคนครอบครองต่ำกว่า 5 เม็ดจะไม่มีความผิดตามกฎหมาย อยากให้อธิบายเรื่องนี้ พล.ต.คีรีศักดิ์ กล่าวว่า ในเรื่องของความผิดนั้น กฎหมายกำหนดไว้ว่า ตั้งแต่มีการประกาศใช้ หากมีต่ำกว่า 5 เม็ดลงมา เราจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นผู้เสพ แต่ถ้าในทางการสืบสวนพบว่า มีพฤติกรรมลักลอบจำหน่ายก็จะต้องถูกดำเนินคดีข้อหาจำหน่าย แต่หากมี 6 เม็ดขึ้นไป จะเป็นความผิดครอบครองยาเสพติดฐานหนึ่งแล้ว ส่วนจะมีความผิดผู้ค้าหรือไม่ก็ต้องมาความจริงที่เกิดขึ้นว่าจะเป็นข้อหาไหน

เมื่อถามย้ำว่า แปลว่า ครอบครอง 5 เม็ดเพื่อเสพอย่างเดียวไม่ต้องรับโทษใช่หรือไม่ พล.ต.คีรีศักดิ์ กล่าวว่า “ใช่” เนื่องจากว่า กฎหมาย ต้องการเปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ต้องรับการบำบัดรักษา

เมื่อถามว่าจะดูอย่างไรว่าครอบครองต่ำกว่า 5 เม็ดเพื่อเสพหรือมีพฤติกรรมขายด้วยในทางกฎหมาย พล.ต.ท.คีรีศักดิ์กล่าวว่า สมัยก่อนยังไม่มีการกำหนดตัวนี้ ทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกิดความยากลำบาก ในการดำเนินคดีกับผู้เสพผู้ใช้ต่างๆ เหล่านี้ เพราะเราไม่สามารถที่จะเอากฎหมายข้อไหนมาบังคับคดีกับเขาได้ เมื่อครอบครองยาบ้าแม้กระทั่ง 50 เม็ด แต่บอกเอาไว้เสพนานๆ หลายๆ วัน ตำรวจทำอะไรไม่ได้ก็ต้องส่งไปบำบัดรักษา

เมื่อถามว่ากรณีมีไม่เกิน 5 เม็ดเป็นผู้เสพ จะต้องเข้าบำบัดรักษาทันทีหรือตามสมัครใจ พล.ต.ท.คีรีศักดิ์ กล่าวว่า ต้องสมัครใจด้วย เราก็ส่งบำบัดรักษา ถ้าไม่สมัครใจก็สามารถนำไปดำเนินคดีได้ในข้อหาครอบครองเพื่อเสพ คือ เสพมีโทษอยู่จำคุกไม่เกิน 1 ปี แต่ศาลจะลงโทษหรือไม่ลงโทษหนักแค่ไหนก็ได้ไม่เกิน 1 ปี ก็อาจส่งไปบำบัดได้ แต่ถ้าเป็นการครอบครอง ผลิตนำเข้าส่งออกหรือจำหน่ายมีโทษตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปีก็ต้องรับโทษ

ถามย้ำว่าทำไมถึงกำหนดมากกว่า 1 เม็ด หรือไม่กำหนดแค่เม็ดเดียว พล.ต.ท.คีรีศักดิ์กล่าวว่า ในที่ประชุมได้ข้อมูลความรู้หลายเรื่อง ทั้งเรื่องวฤทธิ์ยา ปริมาณยาที่ส่งผลต่อสุขภาพและอาการทางจิต มีการหารือกันนานกว่า 2 ชั่วโมง ได้ข้อสรุปแล้วว่า จำนวนกี่เม็ดมันจะส่งผลในหลายๆ มิติ ในแง่สาธารณสุข การบังคับใช้กฎหมาย และผลกระทบเกิดกับสังคม มาประกอบกัน จึงกำหนด 5 เม็ดเป็นปริมาณที่เหมาะสม

รายงานข่าวแจ้งว่า ในส่วนของการประชาพิจารณ์นั้นจะดำเนินการผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ก่อนจะนำมาประมวลผลอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกฎกระทรวงดังกล่าว เป็นกฎหมายลูกที่ออกตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ซึ่งกำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข มาออกกฎหมายลูกภายใน 2 ปี แต่ที่ผ่านมา ยังไม่สามารถออกได้ และกำลังจะครบระยะเวลา 2 ปี ตามที่กำหนด ในวันที่ 8 ธ.ค. 2566 ดังนั้น สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขจะต้องดำเดินการต่อจากนี้คือ เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาขยายเวลาในการจัดทำกฎหมายลูกดังกล่าวออกไป ซึ่งยังไม่แน่ใจว่ากฎหมายกำหนดให้ขยายเวลาได้นานไหน ทั้งนี้ หากไม่ขอขยายเวลา และครบตามที่กำหนดแล้วกฎหมายลูกยังออกไม่ได้ แล้วเราไม่ขอขยายเวลา ก็จะทำให้ร่างกฎหมายลูกกำหนดจำนวนยาบ้า 5 เม็ดสันนิษฐานว่าเป็นผู้เสพ ต้องกลับมาเริ่มต้นกันใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ ที่ประชุมดังกล่าวยังมีการหารือกันต่อถึงยาเสพติดให้โทษตัวอื่นๆ ด้วย ว่าจะกำหนดปริมาณที่จะสันนิษฐานมีไว้ในการครอบครองเพื่อเสพจำนวนเท่าใด ซึ่งจะออกเป็นร่างกฎกระทรวงเดียวกันและเสนอ ครม.พร้อมกัน.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img