วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlight“หมอธีระวัฒน์”ชูผลวิจัย “พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาเบาหวานลดน้ำหนัก”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“หมอธีระวัฒน์”ชูผลวิจัย “พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาเบาหวานลดน้ำหนัก”

“หมอธีระวัฒน์” ชูผลวิจัย พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาเบาหวานลดน้ำหนัก ย้ำโรคสมองเสื่อมไม่ใช่โรคที่ต้องยกธงขาวยอมแพ้อีกต่อไป

เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.66 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง “พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาเบาหวานลดน้ำหนัก” โดยระบุว่า…โรคสมองเสื่อมไม่ใช่โรคที่ยกธงขาวยอมแพ้อีกต่อไปแล้วนะครับ ดังที่หมอได้เรียนให้ทราบเสมอมาว่า ในปัจจุบันนี้การรู้ตัวว่ามีสมองเสื่อมแม้ยังไม่มีอาการ ถือเป็นโอกาสทองของชีวิตที่ทำการป้องกันชะลอและจนกระทั่งถึงรักษาแม้เมื่อเริ่มมีอาการแล้วก็ตาม

กระบวนการในการวินิจฉัยได้มีการประกาศจากสมาคมอัลไซเมอร์ของสหรัฐและนานาชาติ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2023 โดยใชัการตรวจเลือดเป็นสำคัญ

จุดใหญ่ใจความของการใช้ยา เหล่านี้เป็นการค้นพบโดยอาศัยรากฐานของการเกิด การดำเนินโรคของภาวะสมองเสื่อม และคัดเลือกยาที่แม้ว่าจะไม่ได้ใช้กับสมองเสื่อมโดยตรง แต่กลับพบกลไกว่า สามารถขัดขวางการอักเสบ การก่อตัวของโปรตีนพิษแบบต่างๆ และทำให้มีการขจัดออกไปได้ รวมทั้งทำให้เซลล์สมองมีชีวิตยืนยาวขึ้น

ทั้งนี้จัดเป็นยาที่ขยายขอบเขตการใช้จากดั้งเดิมและเรียกว่า repurpose drug และที่ได้นำเรียนก่อนหน้าในคอลัมน์สุขภาพหรรษาคือการใช้ยาละลายเสมหะแก้ไอที่ ชื่อว่า Ambroxol ตลอดจนยานอนหลับที่ออกฤทธิ์ต่อ Orexin

ยาอีกกลุ่ม ในบทนี้จะเป็นการติดตามการใช้ยาที่รักษาเบาหวานและในขณะเดียวกันช่วยลดน้ำหนักด้วยว่าจะมีผลในการยับยั้งภาวะสมองเสื่อมได้หรือไม่ และถือเป็นรายงานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งจากประเทศเดนมาร์ก โดยได้ย้ำความสำคัญของโรคสมองเสื่อมโดยที่ในปี 2022 มีประชากรโลกที่มีอาการของสมองเสื่อมแล้ว 55 ล้าน คนและ ในปี 2050 ประมาณว่า จะเพิ่มขึ้นเป็น 152 ล้านคน และต้องใช้งบประมาณถึง 818 พันล้านดอลลาร์

โดยรายงานนี้ เผยแพร่ในวารสาร Alzheimer’s and dementia ซึ่งเป็นวารสารทางการของสมาคมอัลไซเมอร์ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2022 [treatment with glucagon like peptide-1 (GLP-1) receptor agonist (RA) and incidence of dementia:data from pooled double-blind randomized controlled trials and nationwide disease and prescription registers)

รายงานชิ้นนี้เจาะลึกลงไปถึงผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวาน (แบบที่ 2) โดยที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เบาหวานจะเร่งทำให้มีสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.6 เท่า ทั้งนี้รวมถึงที่เสื่อมจากภาวะเส้นเลือดตีบตันทั่วไป และจากโรคอัลไซเมอร์ ประมาณการว่าทั่วโลกมีคนที่เป็นเบาหวานชัดเจนแล้วอย่างน้อย 7 ล้านคน

ยาในกลุ่ม GLP-1 RA ใช้กันแพร่หลายในการรักษาเบาหวานและอ้วน โดยที่สามารถลดระดับน้ำตาลและน้ำหนักและลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางเส้นเลือดหัวใจและสมอง ในขณะเดียวกันมีความเป็นไปได้ว่าสามารถที่จะช่วยในเรื่องของความจำและประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ทั้งนี้จากผลการศึกษาในหนูที่ปรับแต่งให้ไม่มีตัวรับของ GLP-1 ปรากฏว่าสมองแย่ลงการเรียนรู้ด้อยและทำให้กลับคืนคืนดีได้หลังจากที่มีการถ่ายยีนส์ GLP-1 เข้าในสมองส่วนความจำ hippocampus

GLP-1 จัดเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญโดยที่มีตัวรับอยู่ในสมองหลายตำแหน่งรวมทั้งที่บริเวณ striatum nucleus accumbens และ hippocampus

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img