วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlight“ซิโนฟาร์ม”ราคาเดียว-ไม่เกิน 1 พันบ. นำเข้ามาเดือนมิ.ย.นี้จำนวน 1 ล้านโดส
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ซิโนฟาร์ม”ราคาเดียว-ไม่เกิน 1 พันบ. นำเข้ามาเดือนมิ.ย.นี้จำนวน 1 ล้านโดส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์แถลงนำเข้าวัคซีน“ซิโนฟาร์ม”ที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO)ให้การรับรองแล้วในเดือน มิ.ย.นี้จำนวน 1 ล้านโดสและคาดว่าเข็มละไม่เกิน 1000 บาท

เมื่อวัน 28 พ.ค.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข  พร้อมด้วยศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมแถลงข่าวบูรณาการความร่วมมือนำเข้าวัคซีนโควิดทางเลือก “ซิโนฟาร์ม”

โดยศ.นพ.นิธิ กล่าวว่า ​เบื้องต้น วัคซีนจะนำเข้ามาช่วงเดือนมิ.ย. จำนวน 1 ล้านโดส แต่จะมาเมื่อไหร่อย่างไร กำลังดูเรื่องการขนส่ง เพราะเพิ่งทราบว่า วันนี้ ได้รับการอนุมัติแล้ว จะต้องมีการติดต่อเพื่อนำเข้าต่อไป โดยวัคซีนดังกล่าว เป็นวัคซีนทางเลือก ที่จัดทำโดยงบประมาณของราชวิทยาลัยฯ​ ราคาที่จะกำหนด ต้องพิจารณาต้นทุน ค่าขนส่ง ซึ่งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ไม่คิดกำไร ส่วนผู้ที่จะนำวัคซีนไปฉีด จะคิดค่าบริการฉีดเท่าไหร่ก็จะต้องไปคำนวณต่อไป และการสั่งต่อไปจะอยู่ที่การคำสั่งซื้อในอนาคตและกระจายให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจจะจัดซื้อพร้อมประกันวัคซีนรองรับสำหรับผู้ที่ฉีดนั้น จะมีการกำหนดราคาขายราคาเดียวกันทั่วประเทศ

”คาดว่าราคาของวัคซีนจะอยู่ราวๆ ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเข็มขณะนี้มีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ติดต่อขอซื้อราว 3 แสนโดส และกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวนหนึ่ง แต่ยังมีรายอื่นๆ ด้วยอยู่ระหว่างการพิจารณา”

โดยก่อนหน้านี้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นตัวแทนของรัฐบาลประเทศไทยในการจัดหาและนำเข้าวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงและได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันได้เร็วที่สุดซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อประเทศชาติ

นายอนุทิน กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดหาวัคซีนทางเลือกเป็นจริง ประเทศไทยมีวัคซีนทางเลือกให้แก่ประชาชนชาวไทยคู่ขนานกันไปกับที่รัฐจัดหาให้ กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่หาวัคซีนหลัก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีความสามารถเพียงพอ ที่จะจัดหาวัคซีนทางเลือก คนที่ได้ประโยชน์คือประชาชน

สำหรับความร่วมมือการนำเข้าวัคซีนโควิดทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” ระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือเพื่อให้การกระจายวัคซีนในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างทั่วถึง โดยขณะนี้วัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ซึ่งเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การรับรองแล้ว และบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ยื่นเอกสารครบถ้วนและอยู่ระหว่างการประเมินคำขอขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เมื่อได้รับการอนุมัติ ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะสามารถดำเนินการนำเข้าและบริหารจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์มโดยหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการกระจายวัคซีนให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจจะจัดซื้อพร้อมประกันวัคซีน ซึ่งจะมีการกำหนดราคาขายราคาเดียวกันทั่วประเทศต่อไป

สำหรับวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) มีชื่อทางการว่า “BBIBP-CorV” เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) เช่นเดียวกับ ซิโนแวค และ โควาซิน เป็นวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สามารถฉีดได้ตั้งแต่กลุ่มผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุโดยไม่มีข้อบ่งชี้ที่จำกัดเรื่องอายุ ‘ซิโนฟาร์ม’ ถูกนำมาใช้กว่า 65 ล้านโดส ในประเทศจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปากีสถาน ฮังการี และเป็นวัคซีนชนิดแรกที่พัฒนาโดยประเทศที่ไม่ใช่ชาติตะวันตก ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจาก WHO เป็นรายที่ 6

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img