วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlightเปิดข้อมูล“ซิโนแวค2เข็ม” กันติดเชื้อโควิด 90% ยังไม่พบเคสเสียชีวิต
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดข้อมูล“ซิโนแวค2เข็ม” กันติดเชื้อโควิด 90% ยังไม่พบเคสเสียชีวิต

กรมวิทย์ฯเปิดผลการศึกษาฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ห่างกัน 14 วัน ป้องกันการติดเชื้อ 90.7%  ขณะที่สายพันธุ์เดลตาในกทม.มากกว่าอัลฟา

วันที่ 28 มิ.ย.64 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  เปิดเผยผลการศึกษาการฉีดวัคซีนซิโนแวคกับการป้องกันโรคโควิด -19 ในประเทศไทย ว่า จากการเก็บตัวอย่างประชากรที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค ช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. 2564 ซึ่งยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา โดยทำการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ภูเก็ต สมุทรสาคร เชียงราย

พบว่าประชากรในจ.ภูเก็ต ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ห่างกัน 14 วัน แล้วพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อ 90.7% สมุทรสาครป้องกันได้ 90.5 % เชียงราย ซึ่งเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ พบว่าป้องกันได้ 82.8%

ขณะที่ภาพรวมของกรมควบคุมโรค 70.9%แต่ หากฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มเดียวสามารถป้องกันได้ประมาณ 39.4% เพราะฉะนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีน หากยังฉีดไม่ครบ 2 เข็มครบ 14 วัน ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ ส่วนจะป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้เท่าไหร่นั้นกำลังดูข้อมูล อาจต้องใช้ข้อมูลช่วง มิ.ย.ที่ กทม.มีการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ต้องหาข้อมูลต่อไป ซึ่งเราต้องใช้ข้อมูลที่ได้จากสถานการณ์จริง ไม่ใช่หลอดทดลอง จะช่วยบอกสถานการณ์ให้วัคซีนแล้วคนมีภูมิมากน้อยแค่ไหน ส่วนผลของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหรือสายพันธุ์เดลตานั้นจะมาแจ้งให้ทราบต่อไป ทั้งนี้ ความสามารถต่ออัลฟายังมีอยู่ ส่วนเดลตาต้องรอศึกษา และจะฉีดเข็ม 3 หรือไม่ต้องรอข้อมูลก่อน



เมื่อถามว่ามีการศึกษาของซิโนแวคมีในคนที่ฉีดครบแล้วติดแล้วป้องกันอาการรุนแรงหรือไม่  นพ.ศุภกิจกล่าวว่า กำลังทำเพิ่ม แต่เราต้องได้จำนวนคนไข้มากพอ กำลังไล่ดูข้อมูลที่มีคุณภาพพอด้วย ซึ่งปลัด สธ.สั่งการให้ไปทำเพิ่ม ซึ่งหลายประเทศบอกว่ากันติดอาจได้ไม่มาก แต่กันเสียชีวิตอาการรุนแรงได้ อย่างเชียงรายบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดก็ไม่มีใครมีปัญหาอะไรเลย และไม่มีใครเสียชีวิตจากที่มีการศึกษาทั้งห

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังได้กล่าวต่อว่า  จากการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด 19 เพื่อเฝ้าระวังสายพันธุ์กลายพันธุ์ ข้อมูลวันที่ 27 มิ.ย. พบว่า สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) สัปดาห์นี้ 21-27 มิ.ย. เพิ่มขึ้น 2,218 ราย รวมกับของเดิม 5,641 ราย รวมเป็น 7,859 ราย คิดเป็น 86.31%  สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) เพิ่มขึ้น 459 ราย จาก 661 ราย รวมเป็น 1,120 ราย คิดเป็น 12.3% และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) เพิ่มขึ้น 89 ราย รวมของเดิม 38 ราย เป็น127 ราย คิดเป็น 1.39%

หากพิจารณาตามสัดส่วนพบว่า สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากช่วงวันที่ 13 มิ.ย. พบ 9.76% วันที่ 20 มิ.ย.เพิ่มขึ้นเป็น 10.43% และล่าสุดวันที่ 27 มิ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 12.3%  หากแยกตามรายพื้นที่พบว่า กทม.สายพันธุ์เดลตา เพิ่มขึ้นจาก 23.67% เป็น 25.66% และภูมิภาคจาก 2.58% เป็น 4.09% และ 5.05% เรียกว่ามีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น ส่วนสายพันธุ์เบตาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 0.6% เป็น 1.39% ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ พบในภูมิภาค 2.13% ส่วน กทม.พบ 0.03%

 

“ดังนั้น 90% ที่ระบาดยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา แต่ กทม.มีเดลตาค่อนข้างมาก หากดูเฉพาะสัปดาห์นี้ จากการเก็บตัวอย่างทั้งประเทศ 2,766 ตัวอย่าง ตรวจพบเดลตา 16.59% เฉพาะ กทม.เก็บตัวอย่าง 1,022 ตัวอย่าง พบเดลตาถึง 32.39% หรือ 1 ใน 3 ส่วนภูมิภาคเก็บ 1,744 ตัวอย่าง พบเดลตา 7.34% ถ้าสัดส่วนยังเป็นเช่นนี้คาดว่าอีก 2-3 เดือน สายพันธุ์เดลตาใน กทม.อาจมากกว่าอัลฟา แต่จะติดตามข้อมูลไปเรื่อยๆ ไม่เกิน 2 เดือน อัลฟาจะถูกเดลตาแซง” นพ.ศุภกิจกล่าว

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดรายจังหวัดที่พบเชื้อสายพันธุ์เดลตาเพิ่ม ประกอบด้วย พะเยา 1 ราย เพชรบูรณ์ 1 ราย อุตรดิตถ์ 4 ราย อุทัยธานี 2 ราย นครสวรรค์ 11 ราย พระนครศรีอยุธยา 7 ราย ชลบุรี 1 ราย ขอนแก่น 3 ราย ร้อยเอ็ด 3 ราย มหาสารคาม 1 ราย กาฬสินธุ์ 6 ราย อุดรธานี 23 ราย สกลนคร 22 ราย นครพนม 3 ราย บึงกาฬ 4 ราย เลย 20 ราย หนองคาย 2 ราย หนองบัวลำภู 12 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก กทม.เดินทางกลับบ้าน เช่น แคมป์คนงานต่างๆ รัฐได้พยายามเข้าไปควบคุมดูแล เพื่อโฟกัสกลุ่มแคมป์ก่อสร้าง เพราะเห็นข้อมูลว่าเป็นตัวกระจายพันธุ์เดลตาไป ส่วนการติดเชื้อในนี้กทม. กว่า 30% เริ่ม สืบค้นยากเพราะมีการติดเชื้อในวงที่ 2, 3 ส่วนนราธิวาส 2 ราย ซึ่งไม่เคยพบภาคใต้มาก่อน โดยข้ามมาจากรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย และ กทม. 331 ราย

 นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า สำหรับสายพันธุ์เบตาเพิ่มขึ้น 89 ราย ถือว่าค่อนข้างมา โดยพบที่สุราษฎร์ธานี 1 ราย  นราธิวาส 84 ราย ยะลา 2 ราย พัทลุง 1 ราย และ กทม. 1 ราย โดยมีนครศรีธรรมราช 2 รายที่กำลังรอคอนเฟิร์ม ในส่วนของ กทม.ที่พบ 1 รายนั้น จากการสอบสวนโรคพบความสัมพันธุ์ชัดเจน โดยผู้ป่วยเป็นลูกจ้างในตลาดแหล่งหนึ่งในกทม. ซึ่งมีลูกเดินทางจากจ.นราธิวาสมาเยี่ยมที่กทม.ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีอาการ พอลูกกลับจ.นราธิวาสแล้วก็พบว่าป่วย และเป็นเชื้อสายพันธุ์เบตา ดังนั้นจึงมีการตรวจพ่อ ก็พบติดเชื้อสายพันธุ์เบตา ส่วนญาติที่อยู่ร่วมบ้านอีก 2 คนที่ติดโควิดนั้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบสายพันธุ์ ขณะที่เพื่อนร่วมงานอีก 6-7 คนนั้นยังไม่พบการติดเชื้อ 

 “ดังนั้นจึงสันนิษฐานชัดเจนว่ารายนี้ติดมาจากลูกชายมาเยี่ยมตอนยังไม่มีอาการ ถ้ามีรายเดียวเราล็อกอยู่ อาจจะหายไป คือ มีรายเดียว สัปดาห์หน้าอาจจะไม่มี ทั้งนี้ เราตรวจเจอของ กทม.ตั้งแต่ที่ 23 มิ.ย. และคอนเฟิร์มผลวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา ตอนนี้อยู่ในสถานพยาบาลดูแลอยู่ ลูกอยู่ที่นราธิวาสดูแลอยู่ ไม่ต้องตกใจ ถ้าโผล่มาแล้วคุมอยู่ ไม่มีรายที่ 2-3 ก็จบไป ” นพ.ศุภกิจกล่าว 

 นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ตอนนี้สายพันธุ์เดลตามาก มาตรการยังเป็นพื้นฐาน ไม่ถึงกับต้องใส่หน้ากาก 2 ชั้น แต่จะต้องใส่หน้ากาก ล้างมือ  เมื่อเปิดปากรับประทานอาหารต้องระวังให้มาก และวัคซีน ถ้าถึงคิวมีใครนัดควรรีบไปฉีด จะพันธุ์อะไรก็ตาม มีเกราะป้องกันในตัวแทนที่ไม่มีอะไรเลย ส่วนหน้ากากผ้าหลักการเป็นการลดความเสี่ยง กันไวรัสไม่ได้ 100% แต่เป็นการลดความเสี่ยงเท่านั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img