วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlight“สธ.”ชง4มาตรการสกัดโควิดในกทม. หวังควบคุมโรคให้ได้ในเดือนก.ค.นี้!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.”ชง4มาตรการสกัดโควิดในกทม. หวังควบคุมโรคให้ได้ในเดือนก.ค.นี้!

“ปลัดสธ.” ชู 4 มาตรการใหม่ ปรับวิธีสกัดโรคโควิดในกทม. “ค้นหาผู้ติดเชื้อใหม่-ปรับระบบรักษาดูแล-มาตรการวัคซีน-มาตรการสังคม” หวังควบคุมโรคให้ได้ในเดือนก.ค.นี้ เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อให้น้อยลง หลังเจอตัวเลขติดเชื้อหลักพันมาตลอด ยอมรับฉีดวัคซีนปูพรมจะลดลง แต่จะเน้นเฉพาะกลุ่มให้มากขึ้น

เมื่อวันที่ 5 ก.ค.64 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวถึงแนวทางการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทยว่า การระบาดครั้งนี้เห็นตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหลักพันมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ของโรค แต่การระบาดยังอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนต่างจังหวัดก็เป็นผู้ที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการระบาดขึ้น แม้จะมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้น แต่จังหวัดต่างๆ สามารถดูแลได้เป็นอย่างดีและสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาได้ ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขไม่มีอำนาจโดยตรงในการดูแลในพื้นที่กรุงเทพฯ แต่ด้วยความเป็นเมืองใหญ่ มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก จึงเข้ามาช่วยเหลือดูแลกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตั้งแต่การควบคุมโรค การบริหารจัดการเตียง และให้นโยบายวัคซีนโควิด-19 เพื่อการควบคุมโรคให้เร็วที่สุดและช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยให้เร็วที่สุด

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ในการรักษาพยาบาล สธ.สั่งการให้บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าอื่นๆ ในพื้นที่ที่ยังมีการติดเชื้อจำนวนน้อย เข้ามาช่วยงานในโรงพยาบาลบุษราคัม ซึ่งมี 3,700 เตียง ดูแลผู้ป่วยอาการปานกลางไปจนถึงอาการมาก ซึ่งหากอาการรุนแรงมาก ก็จะมีการส่งต่อไปโรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์ หรือ รพ.ขนาดใหญ่ ขณะเดียวกัน ในสัปดาห์นี้ เราได้ร่วมกับ “รพ.มงกุฎวัฒนะ” เปิดเตียงไอซียูอีก 24 เตียง และร่วมกับภาคเอกชนเปิดเตียงไอซียู ที่ รพ.สนามมณฑลทหารบกที่ 11 อีก 58 เตียง โดยมีบุคลากรจากวชิระพยาบาล รพ.ธรรมศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เข้าไปช่วยดูแลผู้ป่วย

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวอีกว่า กรมควบคุมโรค ได้เสนอมาตรการปรับวิธีการควบคุมโรคให้เหมาะสม เพื่อลดปริมาณผู้ติดเชื้อและให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น โดย 4 มาตรการใหม่ ได้แก่ 1.การค้นหาผู้ติดเชื้อใหม่ 2.ปรับระบบรักษาดูแลผู้ป่วย 3.มาตรการวัคซีน และ 4.มาตรการสังคม ซึ่งจะเป็นการควบคุมโรคที่จะใช้ในกรุงเทพฯโดยทันที เพื่อพยายามควบคุมโรค ให้ได้ภายในเดือนก.ค.นี้ ในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อลง ทั้งนี้ มีการใช้มาตรการแนวทางแยกกักที่บ้าน (Home Isolation) ซึ่งจะมีระบบดูแลรักษาผู้ป่วย เราจะไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย แต่หากมีอาการมากขึ้นก็จะส่งต่อตามระบบต่อไป

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อวา ในส่วนมาตรการวัคซีน กระทรวงสาธารณสุขประกาศนโยบายฉีดวัคซีนใน 1.การฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster Dose) ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าใน รพ. ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นสำหรับการป้องกันไวรัส โดยเฉพาะสายกลายพันธุ์ หรือสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) หรือสายพันธุ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นมา เพื่อธำรงรักษาระบบสาธารณสุขของประเทศให้เดินหน้าบริการให้ประชาชนต่อไปได้ แต่การฉีดวัคซีนกระตุ้นอย่างไร ก็ขอให้เป็นไปตามข้อมูลทางวิชาการในการใช้วัคซีน จากฝ่ายวิชาการที่มีอยู่ แต่จะให้เร่งให้ทันเวลา เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่อย่างเต็มที่

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวอีกว่า 2.นโยบายการฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ขอย้ำว่า วัคซีนที่มีในเดือนก.ค.นี้ จะเทให้กับ 2 กลุ่มนี้ ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของวัคซีนที่ได้มา เพื่อลดอัตราการป่วยหนัก หรือการเสียชีวิต ส่วนการฉีดวัคซีนตามนโยบายปูพรมก็จะลดลง แต่จะฉีดในกลุ่มเฉพาะมากขึ้น มุ่งเน้นการฉีดเพื่อการควบคุมโรคในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ซึ่งจะวางมาตรการลงไป เช่น เฝ้าระวังการติดเชื้อ ฉีดวัคซีนเข้าไปในพื้นที่ระบาด เพื่อการควบคุมโรคให้ดีขึ้น ลดจำนวนการติดเชื้อ และลดการติดเชื้อในกลุ่มที่จะมีอาการรุนแรงและอาการหนักต่อไป อย่างไรก็ตาม เดือนต่อไป ก็จะฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมจำนวนประชากรให้มากที่สุด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img