วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlight“หมอยง”ย้ำฉีดวัคซีนไขว้ “ซิโนเวค-แอสตร้า” กระตุ้นภูมิสูง ปลอดภัย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“หมอยง”ย้ำฉีดวัคซีนไขว้ “ซิโนเวค-แอสตร้า” กระตุ้นภูมิสูง ปลอดภัย

”หมอยง”เปิดตัวเลขภูมิคุ้มกันฉีดวัคซีนสลับ “ซิโนเวค-แอสตร้าฯ” กระตุ้นภูมิสูง สู้เชื้อเดลตาได้ แถมให้ผลเร็วขึ้นเท่าตัว มีคนฉีดแล้วผ่านระบบหมอพร้อม 1.2 พันคนไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง

เมื่อวันที่ 13 ก.ค.64  ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงโดยย้ำว่า  เราทราบกันอยู่แล้วว่าโควิด-19 อยู่กับเรามาปีครึ่งแล้ว แล้วจะหยุดได้ด้วยวัคซีนป้องกัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการป่วยและเสียชีวิต ดังนั้น เราจำเป็นต้องบริหารวัคซีนให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งการศึกษาวิจัยรูปแบบการให้วัคซีนในไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในระยะแรกวัคซีนทุกยี่ห้อ ผลิตจากต้นแบบไวรัสสายพันธุ์อู่ฮั่น กว่าจะผลิตออกมาใช้เวลาร่วมปี แต่ในระยะเวลา 1 ปีไวรัสมีการกลายพันธุ์ หนีออกจากระบบภูมิต้านทานร่างกาย

 “เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ไป หลบหลีกวัคซีนเชื้อตายที่มีภูมิต้านทานต่ำกว่าได้ จนมาถึงปัจจุบันนี้ การศึกษาของเรารู้ว่าเมื่อให้ครบคอร์ส 2 เข็มของวัคซีนเชื้อตาย ให้ภูมิต้านทานได้เท่ากับคนที่หายจากโรคโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่เมื่อมาติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ทั้งอัลฟา เดลตา ประสิทธิของวัคซีนที่ผลิตจากสายพันธุ์อู่ฮั่นทุกตัวลดลง แต่เนื่องจากวัคซีนบางตัวมีระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่า เมื่อลดลงแล้วก็ยังพอที่จะป้องกันได้” ศ.นพ.ยงกล่าว

ศ.นพ.ยงกล่าวว่า เราต้องมาพิจารณาว่าหากฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ 2 เข็ม จะต้องใช้เวลาเข็ม 1 ห่างเข็ม 2 ประมาณ 10 สัปดาห์ เพราะวัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ ฉีดห่างกันน้อยกว่า 6 สัปดาห์ภูมิต้านทานจะสูงไม่ดี ฉะนั้น ยิ่งห่างนานเท่าไหร่ก็ยิ่งดี จากเดิมที่คิดว่า แอสตร้าฯ 1 เข็มเพียงพอต่อการป้องกันสายพันธุ์อู่ฮั่นได้ แต่เมื่อมาเจอเดลต้า พบว่าแอสตร้า 1 เข็มไม่สามารถป้องกันได้ แต่กว่าจะรอเข็มที่ 2 ต้องรอ 10 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น จึงเป็นที่มาหรือจุดสมดุลว่าทำอย่างไรให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเร็วที่สุด เหมาะสมที่สุด ในขณะที่ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปมาก

ศ.นพ.ยง  กล่าวด้วยว่า  เรารู้ว่าใช้ซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิต้านทานสูงไม่พอที่จะป้องกันไวรัสที่กลายพันธุ์มาเป็นเดลต้าแล้ว แต่สำหรับแอสตร้าฯ เข็มเดียวก็ไม่เพียงพอที่จะป้องกันไวรัสเดลต้า เพราะเข็ม 2 ให้ช้าเกินไป จึงเป็นที่มาของการศึกษาว่า เราฉีดวัคซีนเชื้อตายก่อน แล้วตามด้วยไวรัลเวกเตอร์ การฉีดเชื้อตายก่อนเปรียบเสมือนให้ร่างกายเราติดเชื้อ แล้วไปสอนร่างกายเอาไว้ แล้วหลังจากนั้น 6 สัปดาห์ เราไปกระตุ้นด้วยไวรัลเวกเตอร์ที่มีอำนาจในกระตุ้นเซลล์ร่างกายให้สร้างภูมิต้านทานมากกว่า ผลปรากฏว่ากระตุ้นได้สูงกว่าที่เราคาดคิดไว้ ภูมิต้านทานสูงขึ้นเร็ว แม้จะไม่เท่าแอสตร้า 2 เข็ม แต่ได้ภูมิต้านทานที่สูงในเวลา 3-4 สัปดาห์ แทนที่จะรอไปถึง 12 สัปดาห์

ศ.นพ.ยงกล่าวว่า  การเปรียบเทียบภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน 1 เดือน พบว่ากลุ่มแรก ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิต้านทานสูงเท่ากับผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายแล้ว ซึ่งการเท่ากันเช่นนี้ตามหลักการก็จะป้องกันโรคได้ในสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ด้วยไวรัสกลายพันธุ์เป็นเดลต้าจึงทำให้ภูมิต้านทานที่เท่ากันไม่สามารถป้องกันได้ ขณะที่ฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็ม พบว่าภูมิต้านทานสูงเพียงพอป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ แต่ต้องใช้เวลาถึง 14 สัปดาห์ในการฉีดครบ 2 เข็มห่างไปอีก 1 เดือน ดังนั้น หากเราฉีดวัคซีนเข็ม 1 เป็นซิโนแวค ตามด้วยเข็ม 2 เป็นแอสตร้าฯ ภูมิต้านทานใกล้เคียงกับการฉีดแอสตร้า 2 เข็ม

นอกจากนี้เรายังได้มีการทดสอบการฉีดสลับชนิดแล้วพบเปอร์เซ็นต์การขัดขวางไวรัสขึ้นสูง และที่สำคัญเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนต้องมาก่อน ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องมีการศึกษาเรื่องความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมีการฉีดวัคซีนสลับชนิดแล้วในประเทศไทยมากกว่า 1,200 คน มากสุดที่รพ.จุฬาลงกรณ์ ซึ่งบันทึกใน “หมอพร้อม” พบว่าในจำนวนนี้ไม่มีใครมีผลข้างเคียงรุนแรง  ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่าการให้วัคซีนสลับกัน 2 ชนิดนี้มีความปลอดภัยในชีวิตจริง

ศ.นพ.ยง ยังกล่าวด้วยว่า   ปัจจุบันการระบาดในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นไวรัสเดลตาเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะกทม.70-80% แนวโน้มจะระบาดทั่วประเทศ ซึ่งเชื้อนี้จะพบว่ามีปริมาณมาในลำคอของผู้ป่วย จึงแพร่ได้ง่าย จึงให้ประชาชนตระหนักตระหนัก ขณะนี้การหาไทม์ไลน์ว่าติดจากใครจะเริ่มยาก เพราะแพร่ง่าย ดังนั้นมาตรการส่วนบุคลากรต้องทำอย่างเข้มข้น สวมหน้ากาก 100% เว้นห่าง สุขอนามัย 100% แล้ว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img