วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกNEWS"อัยการ" ห่วงคดี "ผกก.โจ้" ไม่ใช้กม.ฟอกเงินจัดการ หวั่นถ่ายเททรัพย์ยึดคืนยาก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อัยการ” ห่วงคดี “ผกก.โจ้” ไม่ใช้กม.ฟอกเงินจัดการ หวั่นถ่ายเททรัพย์ยึดคืนยาก

อัยการ” ห่วงคดี”ผกก.โจ้”จัดการตามกม.ปกติล่าช้า ไม่ใช้กม.ฟอกเงินดำเนินการ หวั่นยักย้ายถ่ายเท ซุกซ่อน ส่อยึดคืนยาก

จากกรณีข่าวสะเทือนวงการสีกากี “สารวัตรโจ้” และลูกน้อง ก่อเหตุรีดเงินผู้ต้องหาค้ายาเสพติด 2 ล้าน ก่อนใช้ถุงดำผสมถุงใสคลุมหัวจนหมดลมขาดใจตาย ตามที่นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 64 ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นในกรณี คดีของ “ผู้กำกับโจ้”ระบุว่า… “อำนาจตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน กรณีผู้กำกับโจ้” กรณีของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือผู้กำกับโจ้ ซึ่งมีประเด็นเรื่องการมีทรัพย์สินอยู่ในความครอบครองจำนวนมาก ทั้งที่เป็นเงินสดและทรัพย์สิน ซึ่งรวมถึงรถหรูราคาแพงจำนวนหลายสิบคันที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทำให้สังคมมีข้อสงสัยถึงแหล่งที่มาของทรัพย์สินจำนวนมากมายเหล่านี้

“ผมขอให้ความเห็นส่วนตัวในประเด็นทางวิชาการด้านกฎหมาย โดยไม่มีเจตนาไปซ้ำเติมให้ร้ายใคร หรือเข้าไปเกี่ยวข้องหรือแทรกแซงการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างใด” ในเรื่องนี้อาจจะมีหลายท่านตั้งข้อสังเกตและข้อพิจารณาว่า ทรัพย์สินของผู้กำกับโจ้มีความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ด้วยหรือไม่ ซึ่งการดำเนินการตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ จะทำให้สามารถดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการ กระทำความผิดฐานฟอกเงินได้อย่างรวดเร็วทันการณ์ เพื่อไม่ให้มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไป จนไม่สามารถดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นในภายหลังได้ “เพราะหากจะใช้กระบวนการตามกฎหมายปกติทั่วไปแล้ว ทรัพย์สินเหล่านี้อาจจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน เปลี่ยนสภาพ หรือมีการถ่ายโอนทรัพย์สินไปยังบุคคลอื่นได้”

พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 ได้กำหนดความผิดมูลฐานไว้ ซึ่งรวมถึงความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมาย ว่าด้วยศุลกากรไว้ด้วย

หากคดีนี้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ มาตรา 5 และเป็นการกระทำกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน ก็อาจจะนำมาสู่มาตรการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นตามพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ได้

อำนาจตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ที่สำคัญใน การดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน กล่าวโดยย่อได้ดังนี้
1.อำนาจในการตรวจสอบธุรกรรมและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการ กระทำความผิด คณะกรรมการธุรกรรมตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ มีอำนาจตามมาตรา 34 (1) ในการตรวจสอบธุรกรรมและทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน โดยมาตรา 3 ได้กำหนดความหมายของธุรกรรมและทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้

2.อำนาจในการเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะ เพื่อตรวจค้น ติดตาม ตรวจสอบ ยึด หรืออายัดทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐาน ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน กรรมการธุรกรรม เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเลขาธิการ มีอำนาจสำคัญตามมาตรา 38 ในการเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะ เพื่อตรวจค้น ติดตาม ตรวจสอบ ยึด หรืออายัดทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐาน ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน เมื่อมีเหตุ อันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ ทรัพย์สินหรือพยานหลักฐานดังกล่าวนั้นจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม

3.อำนาจในการตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมและสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว คณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจตามมาตรา 34 (3) ในการดำเนินการตามมาตรา 48 ในการตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม และหากคณะกรรมการธุรกรรมมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด คณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ชั่วคราวได้ มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน และในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินไปก่อน แล้วรายงานต่อคณะกรรมการธุรกรรมในภายหลังได้

4.อำนาจอัยการในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน นอกจากนี้ มาตรา 48 ยังกำหนดว่า ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือ ความผิดฐานฟอกเงิน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีอำนาจส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินโดยเร็วได้ด้วย โดยตามมาตรา 59 ศาลแพ่งจะเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการดำเนินการกับทรัพย์สินในคดีความผิดฐานฟอกเงิน โดยนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img