วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlight“กรมชลฯ''พร้อมรับมือน้ำท่วม พายุจ่อเข้าไทยอีก2ลูก ย้ำ''น้ำไม่ท่วม''เหมือนปี 54
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กรมชลฯ”พร้อมรับมือน้ำท่วม พายุจ่อเข้าไทยอีก2ลูก ย้ำ”น้ำไม่ท่วม”เหมือนปี 54

“อธิบดีกรมชลประทาน” สั่งบุคลากรทำงาน24ชั่วโมงรับมือน้ำหลาก เตือนพายุอาจเข้าไทยอีก 2ลูก ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.ลั่นไม่อยากให้ใครโดนน้ำท่วม เตรียมนำเครื่องมือเครื่องจักรไปติดตั้งเร่งช่วยเหลือประชาชน ระบุไม่ต้องกังวล สถานการณ์น้ำไม่เหมือนปี 54

เมื่อวันที่18 ส.ค.65 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงมาตรการรับมือน้ำหลากว่าจากที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.)ได้วางมาตรการไว้13 มาตรการ ให้บูรณาร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านน้ำเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์โดยจะต้องลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน เกษตรกรให้น้อยที่สุดในช่วงฤดูฝนที่มักจะเกิดน้ำหลาก น้ำล้นตลิ่งหลายพื้นที่โดยกรมชลประทาน ดำเนินการ 11 มาตรการ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ จุดพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วม รวมทั้งการกักเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ช่วยลดน้ำหลากและต้องมองถึงปริมาณการใช้น้ำให้เพียงพอในฤดูแล้งด้วย การเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เสี่ยงโดยเร็ว สถานการณ์น้ำท่าในแม่น้ำลำคลอง ปริมาณน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ การหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางลำน้ำ ขุดลอกคูคลอง เพื่อเร่งระบายได้สะดวก ตรวจสอบอาคารบังคับน้ำ ประตูระบายน้ำให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา พร้อมกับนำเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ไปติดตั้งไว้ล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยง

“นี่คือประสิทธิภาพของกรมชลประทาน เครื่องมือเครื่องจักรกลทั่วประเทศมี6 พันหน่วย ได้กระจายไปตามภูมิภาค ถ้ามาดูเรื่องสถานการณ์น้ำวันนี้ ปริมาณฝนสะสม เฉลี่ยรอบ 30ปี มากกว่าค่าเฉลี่ย16% น่าสังเกตว่าปีนี้ฝนมาเร็ว อาจจะมากกว่าค่าเฉลี่ยที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ไว้ ซึ่งอีกหลายเดือนกว่าจะถึงเดือนธันวาคม ทั้งนี้ในเรื่องของการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน ซึ่งมีมาตรการแล้วพร้อมกับมีการจัดคน เมื่อเรารู้พื้นที่เสี่ยง 700กว่าจุด ทั่วประเทศจากพื้นที่ภาคเหนือ จรดภาคใต้ วิเคราะห์สถานการณ์ทุกวัน มีการแจ้งเตือน นำเครื่องไม้เครื่องมือไปเสริม บริเวณพื้นที่เสี่ยง “นายประพิศ กล่าว

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่ามาดูปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีกว่า4หมื่นลบ.ม. ซึ่งมาดูปริมาณน้ำ 4 เขื่อนใหญ่ลุ่มเจ้าพระยา มีน้ำใช้การมากกว่าปีที่แล้ว 4พันล้านลบ.ม. โดยวันที่1 พ.ย.คาดการณ์ว่ามีน้ำ9 พันล้านลบ.ม. มากกว่าปีที่แล้ว 7 พันลบ.ม. และปีนี้ฝนมาเร็วจากเดือนมกราคม ถึงวันนี้ ปริมาณฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ย16% ซึ่งจะใช้เขื่อนเจ้าพระยา เป็นหัวใจหลักในการบริหารจัดการน้ำ รับจากฝั่งซ้ายขวาไม่เกิน 200 ลบ.ม.ต่อวินาที วันนี้ได้สั่งปรับขยับการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา ลดต่ำลงเพื่อให้มีช่องว่างรับฝนที่จะมาอีกข้างหน้า รวมทั้งปริมาณน้ำที่ระบายลงมาก่อนถึงคลองชายทะเล จนออกอ่าวไทย เรามีเครื่องมือเร่งระบายน้ำพร้อมดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวถามกรณีประชาชนมีความกังวลน้ำจะท่วมใกล้เคียงปี2554 อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าเราร่วมกันบูรณาการทำงานกับหน่วยงานอื่นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรมชลประทาน เน้นการบริหารจัดการน้ำใช้วิธีแบบประณีต การระบายน้ำต้องดูทั้งหมด ปริมาณกักเก็บน้ำในเขื่อน ปริมาณน้ำท่า ปริมาณฝนตกรายเดือน ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ การปล่อยน้ำ ที่ต้องคำนึงถึงต้องมีน้ำไว้ใช้ฤดูแล้ง

“น้ำท่วมเกิดจาก 3 น้ำ คือ น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำทะเลหนุน หากเปรียบเทียบปี 54 พายุมากี่ลูก น้ำเหนือระบายมาเท่าไหร่ และปริมาณน้ำวันนั้นมีมากเท่าไหร่ นำมาเปรียบเทียบกับวันนี้ เรามีบทเรียนที่ผานมา มาปรับใช้ เพื่อนำมาวางแผน เตรียมความพร้อม เผชิญเหตุอย่างไร รวมทั้งรับนโยบายจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ มาปฏิบัติท่านเน้นย้ำ ให้กรมชลประทาน ดูแลพี่น้อง ประชาชน เกษตรกร เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน มีอะไรต้องดูแลกัน พูดคุยกัน สร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งกรมชลประทาน ไม่อยากให้เกิดน้ำท่วมกับใครเลย และเราต้องไม่ประมาท “นายประพิศ กล่าว

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าการระบายน้ำจะพยายามไม่ให้กระทบพื้นที่เพาะปลูก นาข้าวลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ อ. ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา กว่า3 หมื่นไร่ ไม่กระทบ โดยช่วงหลังเกี่ยวข้าวแล้วการพิจารณาในเรื่องผันน้ำเข้าทุ่ง จะเป็นลำดับสุดท้าย ได้มีเกณฑ์ว่าหากปริมาณน้ำที่อ.บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถ้ามีระดับน้ำไหลผ่านสูงสุด3.4- 3.5 พันลบ.มต่อวินาที และถ้าน้ำหลากข้างบนยังมีอยู่มาก จึงนำน้ำเข้าทุ่ง

“ขอให้เกษตรกรสบายใจได้ โดยเขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำมากว่า1.3 พันลบ.ม.ต่อวินาที เราให้มีผลกระทบน้อยที่สุด หลังเก็บเกี่ยวแล้วจึงเพิ่มการระบาย ให้มีพื้นที่เหนือเขื่อนรองรับน้ำได้ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าพายุ จะมาอีก 2 ลูก เราติดตามพยากรณ์กรมอุตุนิยมวิทยา ตลอดเวลา เราบริหารจัดการน้ำหน้าฝน เผื่อไว้ช่วงฤดูแล้งด้วย ช่วงเดือนกันยายน ที่บอกว่าจะเข้า 2 ลูก ตอนนี้ยังไม่มีทิศทาง ว่าจะเข้าประเทศไทยด้านไหน ส่วนเดือสิงหาคม เข้าแแล้ว พายุมู่หลาน เข้าทางภาคเหนือ เป็นผลดี เพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนเพื่อขึ้น ทุกพื้นที่ผมได้สั่งให้ทำงานตลอด 24ชั่วโมง พวกเราทำงานไม่มีวันหยุด ทั้งอธิบดี รองอธิบดี ทำงานตลอดเวลา เพื่อรับมือสถานการณ์น้ำ ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯ กรมชลประทาน ได้ประชุมร่วมกับกทม.ทุกวันจันทร์ วางมาตรการเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ ในเรื่องการระบายน้ำพื้นที่รอบกรุงเทพ ลงอ่าวไทย ผ่านคลองระพีพัฒน์ ไปลงแม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง ถ้าลงมาถึงคลองแสนแสบ มีสถานีบางขนาด สูบออกไปลงแม่น้ำบางปะกง ลงคลองชายทะเล หลายพื้นที่เราติดตั้งเครื่องมือพร้อมไว้แล้ว ขอให้มั่นใจ ปริมาณน้ำที่มารอบนอกกรุงเทพ จะระบายออกได้โดยเร็ว

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่าสถานการณ์น้ำปีนี้ไม่เหมือนปี2554 ขณะนั้นเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติส์ มีน้ำเต็มต้องระบายน้ำออก ตอนนี้เขื่อนใหญ่4 เขื่อนยังรับน้ำได้อีก 1.2หมื่นล้านลบ.ม.หากฝนตก จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สามารถลงเขื่อนภูมิพล และอีก3เขื่อนหลักยังรับได้ ทั้งเขื่อนสิริกิติส์ เขื่อนแควน้อยฯ เขื่อนป่าสักฯมีช่องว่างรองรับ ฝนเดือนกันยายน เดือนตุลาคม

“เรามีประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำ สั่งสม จากรุ่นพี่รุ่นน้องพร้อมกับเครื่องมีความทันสมัยมากขึ้น คาดว่าวันที่1พ.ย.มีน้ำใน4เขื่อนหลัก 9 พันล้านลบ.ม. ปริมาณฝนปีนี้ใกล้เคียงปี52 และโจทย์ที่ให้ทีมงาน ให้ใช้นโยบาย รมว.เกษตรฯดูแลประชาชนเหมือนครอบครัวเดียวกัน อีกทั้งสร้างการมีส่วนร่วมไม่ใช้น้ำมากเกินไปในกิจกรรมต่างๆ สองปีที่ผ่านมายังได้บริหารจัดการน้ำ ผ่านหน้าแล้งมาได้ ไม่มีปัญหาน้ำเค็มกระทบระบบประปาของกรุงเทพ และต่างจังหวัดไม่มีพื้นที่ภัยแล้ง

เป้าหมายในปี2580 จะมีน้ำจากการพัฒนาแหล่งน้ำ เพิ่มขึ้น1.3หมื่นล้านลบ.ม.และพื้นที่ชลประทาน 1.9ล้านไร่ เพิ่มศักยภาพแหล่งกักเก็บน้ำเดิม พัฒนาแหล่งน้ำใหม่ การบริหารน้ำแบบประณีตมากขึ้น ลงไปพูดคุย กับชาวบ้าน สร้างความเข้าใจ สร้างความศรัธรา เมื่อเกิดขึ้นปัญหายุติดด้วยการเจรจา ผมเป็นลูกชาวนา ผมรู้ประหยัดน้ำทำอย่างไร ถ้าใช้น้ำพอดี ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ข้าวจะแตกกอมากขึ้น ลดค่าปุ๋ยได้ด้วย “นายประพิศ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img