วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlightกรมชลฯคาดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 50 จว. เตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กรมชลฯคาดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 50 จว. เตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัย

กรมชลฯคาดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 50 จังหวัด ด้านกรมอุตุฯระบุปรากฏการณ์ลาณีญ่า ส่งผลปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติข้ามปี พบอุณหภูมิผิวน้ำทะเลต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 59 ยังมีค่าลบมากขึ้นทำให้ไทยมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนนี้

เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 65 ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และกรมอุตุนิยมวิทยา รวมกันสรุปปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงปัจจุบันสูงกว่าค่าปกติ 25 เปอร์เซนต์ โดยมีปริมาณฝนตก 1,171.8 มิลลิเมตร จากค่าปกติ 937.5 มิลลิเมตร ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์เอนโซจะอยู่ในสภาวะลานีญ่า ต่อเนื่องไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จากปรากฏการณ์ IOD หรือดัชนีวัดค่าความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเล อันเนื่องมาจากการอุุณหภูมิสูงขึ้นหรือ เย็นตัวอย่างผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนใต้ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียบริเวณเขตศูนย์สูตร (EAST) กับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดียเขตศูนย์สูตร (WEST) เรียกว่า ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole จากแบบจําลองการพยากรณ์ IOD index

การพยากรณ์ความน่าจะเป็นของ สถานการณ์ IOD และการพยากรณ์อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรอินเดีย พบว่า ช่วงเดือนที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ IOD มีสถานะลบ โดยมีดัชนีชี้วัดลดต่ำสุดถึง -1.15°C ซึ่งถือว่ามีค่าดัชนีชี้วัดต่ำที่สุด นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2559 เป็นต้นมา และคาดว่าจะมีสถานะลบมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือน กันยายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนตุลาคม โดยทั่วไปปรากฏการณ์ Negative IOD จะทำให้ปริมาณฝนบริเวณประเทศไทย เพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนนี้

นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MJO)เป็นปรากฏการณ์ขนาดใหญ่ที่เกิดควบคู่กันระหว่างการไหลเวียนของบรรยากาศกับการยกตัวของ อากาศในเขตร้อนกินเวลาประมาณ 30-90 วัน โดยจะมีการเคลื่อนตัวทางตะวันออก ซึ่งจะสัมพันธ์ กับการเกิดฝนที่ผิดปกติ โดยปรากฏการณ์ MJO มีกําลังอ่อนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม และได้เคลื่อนตัวทางตะวันออกมาก่อตัวใหม่บริเวณทวีปแอฟริกา ซึ่งจากแบบจําลองการพยากรณ์ ดัชนีMJO พบว่า ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม MJO จะมีกําลังแรงขึ้นขณะเคลื่อนเข้าสู่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย จากนั้นจะ อ่อนกําลังลงและเคลื่อนเข้าสู่บริเวณ Maritime Continent ในช่วงต้นเดือนกันยายน ซึ่งภาพรวมของการพยากรณ์ค่า OLR คาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ MJO จะส่งผลให้ประเทศไทย มีปริมาณฝนมากกว่าปกติเล็กน้อยในช่วงเดือนกันยายน หลังจากนั้นยังคงต้องเฝ้าติดตามปรากฏการณ์ MJO อย่าง ใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจะมีปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าปกติ ยกเว้นภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณฝนใกล้เคียงค่าปกติ อีกทั้งเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ระวังมีพายุเคลื่อนเข้าใกล้ประเทศไทย หรือเคลื่อนผ่านภาคใต้ ทำให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และเดือนมกราคม 2566 ระวังหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนเข้าใกล้หรือเคลื่อนผ่านภาคใต้ ทำให้มีฝนตกมากขึ้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก

“ส่วน ในช่วงวันที่ 27 ส.ค.-2 ก.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่าน บริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ฝนน้อยลง โดยยังมีฝนบางแห่ง 3-4 ก.ย.65 มรสุมจะแรงขึ้นและ ฝนจะเพิ่มขึ้นด้วย”

สำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักน้ำ หรือ Upper Rule Curve (URC) มีจำวน 8 แห่ง 1.เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล 2.กิ่วลม 3.แควน้อยบำรุงแดน 4.น้ำพุง 5.อุบลรัตน์ 6.สิรินธร 7.ป่าสักชลสิทธิ์ 8.บางพระ นอกจากนี้ปริมาณน้ำ 4เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา เช่น เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯป่าสักฯ มีปริมาณรวม 13,089 ล้านลบ.ม.(53 เปอร์เซนต์) เป็นน้ำใช้การได้ 6,393 ล้านลบ.ม.(35 เปอร์เซนต์) ปริมาณน้ำในอ่างกักเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 412 แห่ง มีปริมาณน้ำ 3,615 ล้านลบ.ม.(74 เปอร์เซนต์) ปริมาณน้ำใช้การ 3,482 ล้านลบ.ม.(72 เปอร์เซนต์) รวมปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่35แห่ง และ ขนาดกลาง ทั่วประเทศ รวม 447 แห่ง มีน้ำใช้การได้ 48,298 ล้านลบ.ม.มากกว่าปี2564 จำนวน 9,436 ล้านลบ.ม. ยังรับน้ำได้อีก 27,791 ล้าน
ลบ.ม.

คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุกทภัยเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2565 ทั้งประเทศ 50 จังหวัด ภาคเหนือ 14 จังหวัด เช่น เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ แพร่ สุโขทัยตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 ขจังหวัด อุดร เลย สกลนคร หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครพนม อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ยโสธร นครราชสีมา ศรีสะเกษ ภาคตะวันออก 4 จังหวัด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ภาคกลาง6 จังหวัด เช่น ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สมุทรปราการ อุทัยธานี ภาคตะวันตก 1 จังหวัด กาญจนบุรี และภาคใต้ 9 จังหวัด ระยอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พังงา นครศรีธรรมราช สตูล ตรัง

มาตรการเตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัย วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซำซาก พื้นที่เกษตรเสี่ยงน้ำท่วม ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่าง ปริมาณน้ำในลำาน้ำ และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย ติดตามสถานการณ์น้ำ วิเคราะห์คาดการณ์น้ำในล้าน้ำ ก้าหนดผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต่างๆ ที่จะ ได้รับผลกระทบ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล รถขุด รถแทร็คเตอร์ หรือเครื่องมือต่างๆ ที่กระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่ให้เพียงพอ โดยเฉพาะจุดเสี่ยงภัยน้ำท่วม ขอให้เตรียมพร้อมใช้งาน ตลอดเวลาตามแผนที่วาง ไว้ และสำรอง ไว้ที่ส่วนกลาง กำหนดคน จัดสรรทรัพยากร ก้าหนดพื้นที่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img