วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2024
หน้าแรกNEWS“พรเพชร”ชี้รธน.ม126 เปิดช่องให้ส.ว. เปิดประชุมวิสามัญได้ หากยุบสภาฯ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“พรเพชร”ชี้รธน.ม126 เปิดช่องให้ส.ว. เปิดประชุมวิสามัญได้ หากยุบสภาฯ

“พรเพชร” ยันส.ว.ไม่เกี่ยวกระบวนการคัดเลือกบุคคลเป็นองค์กรอิสระ ชี้รธน.ม126 เปิดช่องให้ส.ว. เปิดประชุมวิสามัญได้ หากยุบสภาฯ

วันที่ 23 ม.ค.2566 มีการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัยย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม หลังจากที่ี่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของ น.ส.ศิลักษณ์​ ปั้นน่วม อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วเสร็จ

นายพรเพชร ได้ชี้แจงว่ากรณีที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมาย ที่ถูกมองว่าวุฒิสภาเป็นผู้ดำเนินการกระบวนการดังกล่าวทั้งหมด ในข้อเท็จจริงแล้ว การสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหหมายเป็นกระบวนการของกรรมการสรรหาที่มาจากองค์กรต่างๆ เช่น ศาลปกครอง ศาลฎีกา หรือองค์กรอื่นใด โดยไม่มีสมาชิกวุฒิสาเป็นองค์ประกอบขององค์กรดังกล่าว เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดการแบ่งแยกกันระหว่างการสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมาย ส่วนหน้าที่ของวุฒิสภา มีหน้าที่ตรวจสอบ ประวัติ ความประพติ พฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ

“ผมจำเป็นต้องพูดว่า หน้าที่ของกรรมการสรรหา คืออะไร กรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบตรวจสอบประวัติคืออะไร หลังจากมีเสียงวิจารณ์หรือเหมารวมไปง่ายๆ” นายพรเพชร ชี้แจง

จากนั้นพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว. ถามว่า กรณีการตรวจสอบประวัติของกมธ.ฯ ที่แต่งตั้ง หากปิดสมัยประชุมแล้ว จะพิจารณาได้ต่อเมื่อใด ต้องรอสมัยประชุมใหม่ หรือ กมธ.ควรเร่งรัดการตรวจสอบประวัติให้เสร็จก่อนปิดสมัยประชุม นายพรเพชร ชี้แจงว่า สมัยประชุมปัจจุบันจะปิดวันที่ 28 ก.พ. ดังนั้นจะไม่มีการประชุมวุฒิสภา จนกว่าจะมีสมัยประชุมสภาฯ ซึ่งเป็นไปตามหลัก ทั้งนี้ส่วนที่เกี่ยวกับวุฒิสภาที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ คือการศึกษาพิจารณาเรื่องที่ค้าางอยู่ รวมถึงพิจารณาเรื่องการตรวจสอบประวัติความประพฤติสามารถทำได้ แต่มีข้อควรระวัง ไม่พึงทำ บางประการ คือ สมาชิกวุฒิสภาไปดำเนินการที่มีผลต่อการหาเสียงของส.ส.ในการเลือกตั้ง ทำไม่ได้ ทำไปผิดแน่นอน รวมถึงแทรกแซง หรือ ก้าวก่ายยปฏิบัติหน้าที่ ขอรัฐบาล ทำไม่ได้เช่นกัน สำหรับการเปิดประชุมวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 126 กำหนดให้วุฒิสภาสามารถเรียกประชุมสมัยวิสามัญได้ ทั้งกรณีที่เกี่ยยวข้องกับสถาบัน และการพิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img