วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกNEWS“ฝ่ายค้าน”รุมซัด“รัฐบาล-ส.ว.” จงใจล้มประชุมรัฐสภา ขวางแก้รธน.ปิดสวิตซ์ส.ว.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ฝ่ายค้าน”รุมซัด“รัฐบาล-ส.ว.” จงใจล้มประชุมรัฐสภา ขวางแก้รธน.ปิดสวิตซ์ส.ว.

“ฝ่ายค้าน” รุมซัด “รบ.-สว.” จงใจล้มประชุมรัฐสภา ขวางแก้รธน.ปิดสวิตซ์ส.ว. ตอกจะเล่นเกมกับอำนาจของปชช.แบบนี้หรือ

วันที่ 25 ม.ค.66 ที่รัฐสภา พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และ นายธีรัชชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ร่วมกันแถลงกรณีที่องค์ประชุมร่วมรัฐสภาล่ม ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272 ปิดสวิตซ์ ส.ว.) (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : สภาล่มอีกแล้ว! ‘ส.ส.ซีกรัฐบาล-ส.ว.’ผนึกเดินเกม ขวางลำร่างแก้รธน.)

โดย นายจุลพันธ์ กล่าวว่า วันนี้มีการบรรจุระเบียบวาระประชุมร่วมรัฐสภาเป็นกรณีพิเศษ ให้รัฐสภาได้พิจารณาใน 3 ญัตติ 1.ญัตติพิธีศาล 2.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. …. แก้ไขเพิ่มเติม ม.159 และยกเลิกมาตรา 272 และ 3.พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. การบรรจุระเบียบวาระไม่ใช่การเปลี่ยนตามที่ทางสมาชิกวุฒิสภากล่าวอ้างกัน เป็นการบรรจุโดยอำนาจของประธานรัฐสภา ซึ่งจากการหารือระหว่างวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน และคณะรัฐมนตรี มีการบรรจุเพียง 2 วาระ คือ ญัตติพิธีศาล และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประธานสภาฯได้แจ้งให้ประธานวุฒิสภารับทราบ กระทั่งนำมาบรรจุระเบียบวาระในวันนี้ แต่เมื่อมาถึงวาระที่เราจะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ปรากฎว่าได้มีการให้ตรวจสอบการถอนร่าง พ.ร.บ.จริยธรรมสื่อมวลชนออกว่าถูกต้องหรือไม่ ทั้งที่เป็นอำนาจของประธานรัฐสภา และจะลงมติไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของประธาน และหากลงมติแล้วที่ประชุมเห็นชอบตามที่วุฒิสภาเสนอ ก็หมายความว่าสิ่งที่บรรจุในวาระพิเศษ ไม่ชอบทั้งหมด

“การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอตัดมาตรา 272 ที่ให้อำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ถามว่าทำไมต้องทำตอนนี้ เพราะใกล้จะเลือกตั้งแล้ว หากไม่รีบทำให้เสร็จเรียบร้อย เราจะเจอวังวนของปัญหาเดิมๆ คือสมาชิกวุฒิสภาจะเข้ามาเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุด และเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกรัฐบาล ซึ่งอาจไม่ตรงกับเจตจำนงค์ของประชาชนเรารู้ว่าเจตนาไม่ใช่การจะลงมติ แต่ต้องการเดินไปสู่การให้องค์ประชุมล่ม เพราะไม่ต้องการถูกตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ และที่มาของนายกฯ แต่เรารู้ว่าด่านสำคัญคือ ส.ว.ว่าจะให้ผ่านหรือไม่ สุดท้ายกลไกในการยื่นเสนอญัตติว่าการบรรจุวาระของประธาน ชอบหรือไม่ พอเสนอมาแล้ว วุฒิสภา และ ส.ส.บางพรรคไม่แสดงตน ถ้ามองไปจะเห็นว่าเก้าอี้โล่งเลย นี่คือการจงใจทำให้องค์ประชุมล่ม เพื่อหลีกเลี่ยงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายค้านเราถือว่าไม่ชอบและจะไม่ยินยอมให้เกิดขึ้นอีก” นายจุลพันธ์ กล่าว

ด้าน นายธีรัจชัย กล่าวว่า กรณีนี้มองผิวเผินเป็นการเซฟหรือไม่ ที่ประธานให้ทำแบบนี้ แต่ถ้าเรามองจริงๆแล้วมันคือการเจือสมอย่างมีข้อน่าสงสัย คือเจือสมกับการทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปิดสวิตซ์ ส.ว.ไม่สามารถพิจารณาได้ นี่คือภาพใหญ่ของการยื้อระบบที่จะให้ความได้เปรียบ ส.ว.มีสิทธิ์ในการเลือกนายกฯ ถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วมีวุฒิสภาที่ไม่อยากตัดอำนาจตัวเอง ไม่ทราบว่าประธานจะทำแบบนี้อีกหรือไม่ ให้ลงมติแต่ ส.ว.ไม่แสดงตนเป็นองค์ประชุม เราจะเล่นเกมแบบนี้ตลอดไปเพื่อขัดขวางโครงสร้างเพื่ออำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนหรือ ส่วนที่รัฐบาลบอกว่าจะพร้อมชี้แจงการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.เป็นต้นไป การเลื่อนแบบนี้ต้องการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากฝ่ายค้านหรือไม่ นี่เป็นอีกเกมการเมือง ที่ทำให้สภาฯ เสื่อม วานนี้ (24 ม.ค.) มี ส.ว.คนหนึ่งออกมาบอกว่า การขาดองค์ประชุมเกิดจากฝ่าย ส.ส.วันนี้จึงอยากให้ประชาชนไปตรวจสอบดูว่ามี ส.ว.ไม่เข้าเป็นองค์ประชุมกี่คน พอเป็นวาระที่จะตัดอำนาจ ส.ว.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img