วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlight“ซูเปอร์โพล”ชี้“พลังเงียบ”เริ่มกระจายตัว ไป“ขั้วการเมืองที่ไม่หนุนรัฐบาล”มากขึ้น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ซูเปอร์โพล”ชี้“พลังเงียบ”เริ่มกระจายตัว ไป“ขั้วการเมืองที่ไม่หนุนรัฐบาล”มากขึ้น

“ซูเปอร์โพล” เผยผลสำรวจ “สุดขั้วการเมือง” พบ “กลุ่มพลังเงียบ” ที่ขออยู่ตรงกลาง เริ่มกระจายตัวออกไปยังขั้วการเมืองต่างๆ มากขึ้น โดยกระจายไปยัง “ขั้วการเมืองที่ไม่หนุนรัฐบาล” มากขึ้น ขณะที่ “ภท.” มาแรงใน “ขั้วรัฐบาลเดิม” ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวนายกฯมาแก้ปัญหาความเดือดร้อนปชช. ส่วน “พท.” นำในขั้วฝ่ายค้านเดิม

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจเรื่อง “สุดขั้วการเมือง” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวน 2,065 ตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25-29 เม.ย.66 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

ผลสำรวจพบแนวโน้มของ “กลุ่มพลังเงียบ” ขออยู่ตรงกลาง เริ่มกระจายตัวออกไปยังขั้วการเมืองต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ จากร้อยละ 36.4 ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ลดลงเหลือร้อยละ 27.5 ในช่วงปลายเดือนเมษายน และพบว่าได้กระจายตัวฐานสนับสนุนไปยังขั้วการเมืองที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลมากกว่า คือ จากร้อยละ 24.5 ในช่วงปลายเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35.8 ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลในช่วงปลายเดือนเมษายน โดยฐานสนับสนุนรัฐบาลลดลงจากร้อยละ 39.1 ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 36.7 ในการสำรวจล่าสุด

อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามประเด็นความเชื่อมั่นต่อพรรคการเมืองเป็นสถาบันการเมืองเก่าแก่ พบว่าในกลุ่มขั้วรัฐบาลร้อยละ 51.1 ระบุเป็นพรรคประชาธิปัตย์, ร้อยละ 32.1 ระบุเป็นพรรคภูมิใจไทย และร้อยละ 21.6 ระบุพรรคพลังประชารัฐ ในขณะที่กลุ่มขั้วฝ่ายค้าน ร้อยละ 45.0 ระบุเป็นพรรคเพื่อไทย, ร้อยละ 22.0 ระบุเป็นพรรคก้าวไกล และร้อยละ 3.1 ระบุอื่น ๆ

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่เป็นหลักแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน แบ่งออกระหว่าง “กลุ่มขั้วต้องการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี” กับ “กลุ่มขั้วที่ไม่ต้องการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี” พบว่า ร้อยละ 76.8 ที่ระบุพรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคการเมืองหลักแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนต้องการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 23.2 ไม่ต้องการเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม แม้แต่กลุ่มขั้วที่ระบุพรรครวมไทยสร้างชาติเป็นพรรคหลักแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนร้อยละ 29.2 ต้องการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี แต่ร้อยละ 70.8 ไม่ต้องการ

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.4 ที่ระบุพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองหลักแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนต้องการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 34.6 ไม่ต้องการ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.0 ที่ระบุ พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคการเมืองหลักแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนต้องการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีเช่นกัน

สำหรับในขั้วการเมืองฝ่ายค้านพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.8 ที่ระบุพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคหลักแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนต้องการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 73.4 ที่ระบุพรรคก้าวไกลเป็นพรรคการเมืองหลักแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนต้องการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีเช่นกัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img