วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2024
หน้าแรกHighlightมติส.ว.ไม่เห็นชอบ‘สถาพร’เป็นป.ป.ช.  เหตุคุณสมบัติไม่ถึง‘อธิบดีผู้พิพากษา’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มติส.ว.ไม่เห็นชอบ‘สถาพร’เป็นป.ป.ช.  เหตุคุณสมบัติไม่ถึง‘อธิบดีผู้พิพากษา’

มติส.ว.48 ต่อ 138 ไม่เห็นชอบให้ “สถาพร วิสาพรหม” เป็นกรรมการป.ป.ช.  หลังตรวจสอบพบคุณสมบัติไม่ถึง “อธิบดีผู้พิพากษา”

วันที่ 23 พ.ค.2566 ที่รัฐสภา มีประชุมประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาให้ควาเห็นชอบ นายสถาพร วิสาพรหม รองประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เป็นบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หลังจากที่คณะกรรมาธิการสามัญ (กมธ.) เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม ที่มี พล.อ.อู้ด เบื้องบน ส.ว. เป็นประธานกมธ. แล้วเสร็จ

ทั้งนี้ก่อนที่จะมีการประชุมเป็นกาารลับ นายประพันธ์ คูณมี ส.ว. ฐานะกมธ.ตรวจสอบประวัติ กล่าวว่า การตรวจสอบประวัติฯ ได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายสถาพร ที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มาตรา 9(1) ที่กำหนดให้ต้องรับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ปัจจุบัน นายสถาพร รองประธานศาลอุทธณ์คดีชำนัญพิเศษ และก่อนหน้านั้นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลอุทธรณ์ในคดีชำนัญพิเศษ ไม่เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลใดมาก่อน ดังนั้นไม่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นจดหมายสนเท่ห์ ลงชื่อ ผู้ช่วยผู้พิพากษารุ่นที่ 29 รุ่นเดียวกับนายสถาพร

นายประพันธุ์ กล่าวต่อว่า การถืออัตราเงินเดือนเท่ากันเป็นเกณฑ์เทียบไม่มีกฎหมายใดให้ทำได้ จะทำให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และมีคำกล่าวอ้างเป็นหนังสือของศาลยุติธรรม ศย.003/113 เมื่อ 23 พ.ย.2565 กรรมการ กต.ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการแต่งตั้งโยกย้ายและลงโทษทางวินัยมีมติยืนยัน เมื่อ 21 มี.ค.2565 ตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ไม่ใช่ตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไป ตามประกาศของ กต. ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. หากตีความว่า 2 ตำแหน่งเทียบเท่ากับอธิบดีผู้พิพากษาแล้ว สิทธิสมัครตามรัฐธรรมนูญ จะเข้าตามมาตรา 9 (1) แต่จะมีประเด็นที่ไม่มีมาตรฐานต่อการยื่นบัญชีทรัพย์สิน กมธ.ส่วนใหญ่มีมติว่าการวินิจฉัยของกรรมการสรรหา ผูกพันเฉพาะผู้สมัครและกรรมการ ไม่มีผลผูกพันต่อส.ว.ที่จะให้ความเห็นชอบ ตามหนังสือร้องเรียนปัญหาคุณสมบัติของนายสถาพร หลายฉบับ มีความเห็นของนายพิสิษฐ์ ลี้อาธรรม สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอรายละเอียดกับคุณสมบัติของนายสถาพร มีความเห็นว่าขาดคุณสมบัติเช่นกัน

จากนั้นนายพรเพชร กล่าวว่า กรณีความเห็นต่างที่เกิดขึ้นทางกรรมาธิการตรวจสอบประวัติได้ทำเรื่องสอบถามไปยังคณะกรรมการสรรหาที่ประกอบด้วย ประธานศาลฏีกา, ประธานสภา, ผู้นำฝ่ายค้านฯ หรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีกรณีที่มีความเห็นต่างก่อนนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทำหนังสือเพื่อสอบถามกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ว.ที่อภิปรายในช่วงของการพิจารณนั้น ได้ตั้งประเด็นเช่นกันว่า ก่อนการสรุปรายงานตรวจสอบของกมธ.ฯ ได้สอบถามไปยังคณะกรรมการสรรหาก่อนหรือไม่ อย่างไรก็ตามก่อนกมธ.ฯจะให้คำตอบ นายพรเพชร ได้สั่งให้วุฒิสภาประชุมลับ

เมื่อเปิดประชุมลับเสร็จ พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ประกาศผลการลงคะแนน ผลปรากฎว่าที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ 41 คะแนน ไม่ให้ความเห็นชอบ 138 คะแนน ไม่ออกเสียง 27 คะนน ถือว่านายสถาพร ไม่ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา เนื่องจากได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ว.ที่มีอยู่ของวุฒิสภา จึงเป็นผู้ไม่ได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img