วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกNEWSไร้ปัญหาหลังพ.ร.บ.อุ้มหายมีผลบังคับใช้ ‘วิษณุ’ชี้จัดงบฯซื้ออุปกรณ์บันทึกภาพแล้ว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ไร้ปัญหาหลังพ.ร.บ.อุ้มหายมีผลบังคับใช้ ‘วิษณุ’ชี้จัดงบฯซื้ออุปกรณ์บันทึกภาพแล้ว

วิษณุ’ชี้ไร้ปัญหาหลังพ.ร.บ.อุ้มหายมีผลบังคับใช้ จัดงบฯซื้ออุปกรณ์บันทึกภาพแล้ว ย้ำรัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบ

เมื่อวันที่ 31 พ.ค.66 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ครั้งที่ 1/2566 ว่า เมื่อพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 มีใช้บังคับตามที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าไม่ต้องออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เลื่อนบังคับใช้ ซึ่งต้องใช้บังคับ แม้จะช้าไป 3 เดือน แต่ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดซื้อกล้อง อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆแล้ว หลังจากที่ได้งบประมาณ จึงปัญหาไม่มีอะไรมาก

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า เมื่อกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีตนเป็นประธาน และมีผู้บัญชาการเหล่าทัพ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เป็นกรรมการ จึงได้เวลาที่จะต้องประชุมเพื่อวางแผนว่าจะต้องทำงานอย่างไร อาทิ กฎระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบันทึกภาพที่ในกฎหมายกำหนดว่าจะต้องมีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวและวีดีโอ ขณะจับกุม โดยระบุว่าจะต้องถ่ายใน 3 จุดด้วยกัน ได้แก่ 1.ขณะเข้าจับกุมต้องมีอยู่ในมือผู้จับหรือตำรวจ 2.มีติดอยู่ในรถที่ใช้ในการจับกุม และ 3.ที่สถานีตำรวจ โดยถ่ายเมื่อนำผู้ต้องหามาสอบสวนที่สถานีตำรวจ จากนั้นทั้งหมดจะเก็บไว้ในคลังกลาง และเก็บไว้ให้ถึงเวลาจบคดี ซึ่งปัญหาอาจจะมีว่าเก็บไว้ที่ไหน ใครเป็นคนเก็บ เพราะถ้าแต่ละหน่วยงานต่างคนต่างสร้างเครื่องมือเก็บคงจะสิ้นเปลือง จึงต้องหาวิธีส่งไปเก็บไว้ที่คลังกลาง และต่อไปใครจะใช้ ก็ไปดึงมาใช้ ถือเป็นรายละเอียดที่จะต้องประชุมกัน โดยแต่ละหน่วยงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่กฎหมายที่รัฐบาลเสนอไม่ผ่าน ทำให้รัฐบาลต้องรับผิดชอบหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า หากไม่มีการยุบสภาก่อน ก็จะมีผลกระทบ เพราะเมื่อออก พ.ร.ก.แล้วไม่ผ่าน รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ถ้าไม่ผ่านโดยศาลรัฐธรรมนูญมีความแตกต่างกัน เวลารัฐบาลเสนอกฎหมายไปที่สภาผู้แทนราษฎร แล้วสภาฯไม่ผ่าน แปลว่าสภาฯไม่ให้ความไว้วางใจ แต่การส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วศาลไม่ให้ผ่าน ไม่ได้แสดงว่าศาลฯไม่ไว้วางใจ แต่แสดงว่ามันไม่ถูก จึงมีความแตกต่างกัน มีนัยยะที่แตกต่างกัน ซึ่งเคยมีกรณีทำนองนี้มาก่อน เหมือนในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยออก พ.ร.ก.ส่งไปสภาฯแล้วสภาไม่ผ่าน นายกฯจึงเลือกยุบสภา ซึ่งเป็นการที่รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบโดยยุบสภาหรือลาออก แต่วันนี้รัฐบาลได้ยุบสภาแล้ว จะมาลาออกซ้ำอีกก็ไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นไปนั้นต้องรักษาการ

เมื่อถามว่า หากมีคนไปร้องเอาผิดกับรัฐบาลชุดนี้จะทำอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า “ไม่เป็นไร เชิญ ทำได้ และยังไม่รู้ว่าจะเอาผิดข้ออะไร มาตราไหน”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img