วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlight“วิษณุ”ชี้หากพ.ร.บ.เงินกู้ไม่ผ่านวาระแรก ธรรมเนียม​นายกฯต้องลาออกหรือยุบสภา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“วิษณุ”ชี้หากพ.ร.บ.เงินกู้ไม่ผ่านวาระแรก ธรรมเนียม​นายกฯต้องลาออกหรือยุบสภา

วิษณุ” ไม่ขอทำนายการเมืองปี 67 ชี้หากพ.ร.บ.เงินกู้ไม่ผ่านวาระแรก​ นายกฯต้องลาออก​ หรือ​ยุบสภาฯ​ แม้เป็นเป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติไร้กฎหมายบังคับ​ ไม่เช่นนั้นจะถูกตำหนิติเตียน

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.66 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ​ เครืองาม​ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย​ กล่าวถึง​สถานการณ์ทางการเมืองในปีหน้า จะมีจุดใดมาเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือไม่​ว่า ไม่ทราบ ตอบไม่ถูก​ โดยตนติดตามจากทางหนังสือพิมพ์เท่านั้น​ และไม่ขอประเมินว่า สถานการณ์ทางการเมืองในปีหน้าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง

ส่วนกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา​ (สว.)​ จะหมดวาระในช่วงเดือนพ.ค.2567 นายวิษณุ กล่าวว่า จะมีสว.ใหม่เข้ามา โดยมีบทบาทอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ เพียงแต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่อง การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การร่างรัฐธรรมนูญจะยังไม่แล้วเสร็จ เพียงแต่เดินหน้าไปถึงจุดหนึ่ง และยังมีกรณีหากรัฐบาลปรับครม.หรือไม่​ ซึ่งตนก็ยังไม่ทราบและเรื่องนี้อยู่ที่นายกรัฐมนตรี จึงคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อถามย้ำว่า หาก สว.หมดวาระวันที่ 11 พ.ค.2567​ ไม่มีอำนาจในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่​ นายวิษณุ​ ระบุว่า ไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี​ แต่ยังคงทำหน้าที่สว.ต่อไป​ จนกว่าจะมีการประกาศ สว.ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 2 เดือน​ จนกว่าจะประกาศใบเหลือง-ใบแดงแล้วเสร็จ

นายวิษณุ​ ยังกล่าวถึงกรณีที่หากร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.เงินกู้) เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลว็อลเล็ตไม่ผ่าน การพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือไม่ว่า​ หากไม่ผ่านในวาระแรก ก็เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล คือยุบสภาหรือลาออก เพราะถือว่าไม่ไว้ใจรัฐบาล ธรรมเนียมเป็นเช่นนั้น ซึ่งไม่ถือว่ากฎหมายบังคับ แต่หากไม่ผ่านในวาระ 2, 3 หรือไม่ผ่านในชั้นวุฒิสภานั้น ไม่เป็นไร เพราะหากสภารับหลักการในวาระที่ 1 แล้ว กฎหมายนั้นก็จะเป็นของสภา​ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ผ่าน ก็ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล

เมื่อถามย้ำว่า หากไม่ผ่านในวาระรับหลักการ แล้วจะไม่ลาออก ได้หรือไม่​ โดยใช้เหตุผลไม่มีกฎหมายบังคับ นายวิษณุ​ กล่าวย้ำว่า กรณีดังกล่าวเป็นธรรมเนียมประเพณี​ ไม่เช่นนั้นจะถูกตำหนิติเตียน พร้อมยกตัวอย่างในสมัยจอมพลป.​ พิบูลสงคราม​ เมื่อกฎหมายไม่ผ่าน ก็ลาออก ขณะที่พล.อ.เปรม​ ติณสูลานนท์ เมื่อเสนอกฎหมายเข้าไปแล้วไม่ผ่าน ก็ประกาศยุบสภา และในประเทศอังกฤษและญี่ปุ่น ก็เป็นเช่นนั้น ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ

ส่วนที่มีการประเมินการทำงานของรัฐบาลเศรษฐา ในรอบ 3 เดือนแล้วหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ขอประเมิน ต้องให้ความเป็นธรรมกับรัฐบาล จึงไม่สามารถที่จะพูดได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img