วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกNEWS"สมชาย" มั่นใจ "พิธา" ตกม้าตายซ้ำรอย "ธนาธร" ยกคำวินิจฉัยในอดีตถือแค่ 1 หุ้นก็ขาดคุณสมบัติ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สมชาย” มั่นใจ “พิธา” ตกม้าตายซ้ำรอย “ธนาธร” ยกคำวินิจฉัยในอดีตถือแค่ 1 หุ้นก็ขาดคุณสมบัติ

“สมชาย” มั่นใจ “พิธา” ตกม้าตายซ้ำรอย “ธนาธร” ย้ำ “ไอทีวี” ยังเป็นสื่อ มีผลประกอบการจากบริษัทลูก ยกคำวินิจฉัยในอดีตถือแค่ 1 หุ้นก็ขาดคุณสมบัติ

วันที่ 23 ม.ค.2567 นายสมชาย แสวงการ สว.โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ทำไมหุ้น ไอทีวี ยังเป็นหุ้นสื่อมวลชน และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อาจขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้าม เห็นพรรคการเมือง และผู้นำทางความคิดของพรรคก้าวไกลออกมาสื่อสารกับสังคมต่อเนื่อง อาจทำให้สังคมไขว้เขว หรือทำให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เบี่ยงเบน ขาดความน่าเชื่อถือ ตนเสนอความเห็นส่วนตัว ดังนี้ 1.บริษัท ไอทีวี ยังคงเป็นสื่อ โดยมีสถานะความเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีวัตถุประสงค์ จดแจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเกี่ยวกับสื่อ รวม 5 ข้อ จนถึงปัจจุบันไอทีวียังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัท หรือจดยกเลิกวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อดังกล่าว สอดรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 14/2562 วินิจฉัยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้าม ในคดีการถือหุ้น บริษัทวีลัคมีเดีย ที่อ้างว่า ปิดกิจการแล้ว แต่ไม่จดทะเบียนยกเลิกบริษัท ศาลเห็นว่า ยังสามารถประกอบกิจการสื่อมวลชนได้ตลอดเวลา ตราบใดที่ไม่ได้จดเลิกบริษัท

นายสมชาย ระบุว่า 2.บริษัท ไอทีวี ชนะคดีเบื้องต้นแล้ว 2 ยก รัฐต้องคืนคลื่นความถี่ ชดใช้ค่าเสียหาย โดยไอทีวีถูกปิดสถานี และยึดคลื่นคืน เมื่อ17ปีก่อน ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ขอให้ สำนัดปลัดสำนักนายกฯ ชดเชยความเสียหายตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ – คณะอนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดให้ไอทีวีชนะ ได้รับเงินเยียวยา คืนคลื่นความถี่ -สปน.นำคดีสู่ต่อ ศาลปกครองกลาง แต่ศาลพิพากษายกคำร้อง – สปน.ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อ -สถานะปัจจุบัน ศาลปกครองสูงสุด ยังไม่มีคำพิพากษา ในคดีนี้ จึงเห็นว่า นายพิธา น่าจะขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้าม เพราะคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และศาลปกครองกลาง ให้ไอทีวี เป็นผู้ชนะคดี ได้รับการเยียวยา และคืนสัมปทานคลื่นความถี่โทรทัศน์ ไอทีวี จึงอยู่ในฐานะที่พร้อมประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ได้ 3.บริษัทไอทีวี ไม่ได้ประกอบกิจการแล้ว แต่ยังมีบริษัทลูกประกอบกิจการสื่อ มีรายรับ จากบริษัทอาร์ตแวร์มีเดีย ที่ไอทีวี เป็นผู้ถือหุ้น99% โดยมีผลประกอบกิจการจดทะเบียนทำสื่อโฆษณา รายการให้เช่าเครื่องมือ ลิขสิทธิ์ แลอื่นๆ ฯลฯ ที่ถือได้ว่าเป็นธุรกิจสื่อ

นายสมชาย กล่าวว่า 4.นายพิธา ถือหุ้นไอทีวี เพียงแค่เล็กน้อย ทำไมจึงผิด ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีคำวิจฉัยที่12-14/2553 ในคดีถือหุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานรัฐ ที่วินิจฉัยให้รมต. สส. สว.พ้นจากสมาชิกภาพ และเคยวินิจฉัยไว้ว่า หุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานเป็นลักษณะต้องห้ามแม้ถือหุ้นเพียง1หุ้น ก็ขาดคุณสมบัติ การที่นายพิธา อ้างว่าถือหุ้นไอทีวีเพียง 42,000 หุ้น จาก 1,206,697,400 หุ้น คิดเป็น 0.0035 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีอํานาจสั่งการบริษัท ข้อโต้แย้งนี้นายพิธาจึงฟังไม่ขึ้น ไม่อาจหักล้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่เคยวางแนวไว้เดิม พร้อมน้อมรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีที่ศาลจะมีคำวินิจฉัย คดีการถือหุ้นสื่อไอทีวี ไม่ว่าจะออกมาในแนวทางใด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img