วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlightถูก“สังคมถล่ม”ปมการพักโทษ“ทักษิณ” “ราชทัณฑ์”แจงสถิติ1ปีพักโทษหมื่นราย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ถูก“สังคมถล่ม”ปมการพักโทษ“ทักษิณ” “ราชทัณฑ์”แจงสถิติ1ปีพักโทษหมื่นราย

กรมราชทัณฑ์ แจงปมถูกสังคมถล่มปมการพักโทษ “ทักษิณ” แจงสถิติ 1 ปี ปล่อยตัวพักโทษไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย

เมื่อวันที่ 27 ก.พ.67 กรมราชทัณฑ์ โดยส่วนประชาสัมพันธ์ ได้เผยแพร่เอกสารข่าวเเจกสื่อมวลชน ระบุใจความว่า จากกระแสสังคมในปัจจุบันที่ตั้งคำถามต่าง ๆ นานาต่อการดำเนินงานด้านการพักการลงโทษของกรมราชทัณฑ์ ดังนั้น กรมราชทัณฑ์จึงขอให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารโทษในบริบทของงานราชทัณฑ์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และมองเห็นภาพการทำงานได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

กรมราชทัณฑ์ ระบุว่า 1.กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2561 ระบุให้กรมราชทัณฑ์มีหน้าที่และอำนาจกําหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและบุคคลที่อยู่ในความควบคุมหรือดูแลตามหน้าที่และอํานาจของกรมให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายของกระทรวง หลักอาชญาวิทยา และทัณฑวิทยา ตลอดจนข้อกําหนดมาตรฐานขั้นต่ำสําหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง และข้อเสนอแนะ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องขององค์การสหประชาชาติ 2.การพักการลงโทษ เป็นอำนาจหน้าที่หนึ่งที่เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามหลักทัณฑปฏิบัติ ซึ่งดำเนินการภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยการพักการลงโทษเป็นการบริหารโทษที่กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตามที่ได้ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 เป็นต้นมา ซึ่งประเทศไทยได้ศึกษามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา และเมื่อมีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ก็ยังคงระบุเรื่องการพักการลงโทษไว้เช่นเดิม ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่พึ่งจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน 3.การดำเนินการพิจารณาการพักการลงโทษ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนในชั้นเรือนจำและทัณฑสถาน ระเบียบที่เกี่ยวข้องได้ระบุให้มีบุคคลภายนอกมาร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อพิจารณาวินิจฉัยการพักการลงโทษ โดยมีผู้บัญชาการเรือนจำ หรือผู้อำนวยการทัณฑสถาน เป็นประธาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนคุมประพฤติ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามยาเสพติด ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งผู้บัญชาการเรือนจำแต่งตั้ง โดยเสนอผลการพิจารณาไปยังกรมราชทัณฑ์   เพื่อนำเข้าคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยการพักการลงโทษ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาเห็นชอบพักการลงโทษ

กรมราชทัณฑ์ ระบุอีกว่า คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยการพักการลงโทษ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม อธิบดีกรมคุมประพฤติ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ผู้อำนวยการกองทัณฑปฏิบัติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพักการลงโทษ และหัวหน้าฝ่ายพักการลงโทษ ดังจะเห็นว่า กรมราชทัณฑ์ ได้ดำเนินการพักการลงโทษ โดยนำภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาทั้งในชั้นกลั่นกรองและวินิจฉัย เพื่อสร้างความโปร่งใสและคำนึงถึงประโยชน์ของสังคมเป็นหลัก

ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า จากสถิติในทุก ๆ ปี กรมราชทัณฑ์ มีการปล่อยตัวพักการลงโทษไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย โดยในปี พ.ศ.2566 กรมราชทัณฑ์ ได้มีการปล่อยตัวพักการลงโทษกรณีปกติ จำนวน 10,552 ราย ส่วนการปล่อยตัวพักโทษกรณีมีเหตุพิเศษฯ จำนวน 1,776 ราย รวมทั้งสิ้น 12,328 ราย.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img