วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกNEWS"เรืองไกร" ร้อง กกต."จุลพันธ์-นภินทร" มีเหตุสิ้นสุดเฉพาะตัวหรือไม่ หลังพบถือครองหุ้นเกินร้อยละ 5
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เรืองไกร” ร้อง กกต.”จุลพันธ์-นภินทร” มีเหตุสิ้นสุดเฉพาะตัวหรือไม่ หลังพบถือครองหุ้นเกินร้อยละ 5

“เรืองไกร” ร้อง กกต. สอบ2 รมต. “จุลพันธ์-นภินทร” มีเหตุสิ้นสุดเฉพาะตัว หรือไม่ หลังพบถือครองหุ้นเกินร้อยละ 5 ขัดรธน.หลายมาตรา

วันที่ 10 เม.ย. 67 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า ได้ส่งหนังสือไปให้ กกต. ทำการตรวจสอบนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กรณีการยื่นบัญชีทรัพย์สินในส่วนเงินลงทุนต่อ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง สส. เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 66 พบข้อสังเกตเงินลงทุนใน บจก.โชคเจริญพร ซึ่งหาชื่อไม่พบในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่เมื่อค้นหาใน google ไปพบชื่อบริษัท ตลาดโชคเจริญพร จำกัด จึงได้ขอบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดมาตรวจดู เมื่อตรวจดูสำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น(แบบ บอจ.5) ที่ขอมาเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 67 ของบริษัท ตลาดโชคเจริญพร จำกัด พบข้อมูลล่าสุด เป็นการยื่นไว้ในกรณีประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31/03/2567 โดยระบุว่า ทุนจดทะเบียน 7,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 70,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท เป็นคนไทย 8 คน

นายเรืองไกร กล่าวว่า รายชื่อผู้ถือหุ้น(แบบ บอจ.5) ของบริษัท ตลาดโชคเจริญพร จำกัด มีรายชื่อผู้ถือหุ้นลำดับที่ 3 คือนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ถือหุ้นจำนวน 11,000 หุ้น และรายชื่อผู้ถือหุ้นลำดับที่ 8 คือนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.~พาณิชย์ ถือหุ้นจำนวน 22,500 หุ้น ทั้งสองคนเป็นรัฐมนตรี ตั้งแต่ 5 ก.ย. 66 ซึ่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 มาตรา 4 (2) บัญญัติว่า “มาตรา 4 รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ … (2) ในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด รัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทนั้น”

นายเรืองไกร กล่าวว่า บริษัท ตลาดโชคเจริญพร จำกัด มีทุนจดทะเบียน 7,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 70,000 หุ้น ร้อยละห้าคือ 3,500 หุ้น ดังนั้น การที่นายจุลพันธ์ ถือหุ้นจำนวน 11,000 หุ้น และนายนภินทร ศรีสรรพางค์ ถือหุ้นจำนวน 22,500 หุ้น จึงเกินร้อยละ 5 เข้าข่ายขัดต่อพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 มาตรา 4 (2) รัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (5) บัญญัติว่า “มาตรา 170 ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ … (5) กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือมาตรา 187” และมาตรา 187 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “มาตรา 187 รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไปตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ และ ต้องไม่เป็นลูกจ้างของบุคคลใด”

นายเรืองไกร กล่าวว่า กรณีข้างต้น จึงมีเหตุที่ต้องร้องไปยัง กกต. เพื่อตรวจสอบว่า การที่นายจุลพันธ์ และนายนายนภินทร ศรีสรรพางค์ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทหรือคงไว้ซึ่งความเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวเกินร้อยละ 5 จะขัดต่อพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 มาตรา 4 (2) หรือไม่ ความเป็นรัฐมนตรีของนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และความเป็นรัฐมนตรีของนายนภินทร ศรีสรรพางค์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีเหตุสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (5) เพราะกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 187 หรือไม่ และขอให้ กกต. ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปโดยเร็วด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img